Donnerstag, 25. August 2016

ปัญหาและเฉลย (วิชาพุทธประวัติ) ธรรมศึกษาชั้นตรี ปี ๒๕๔๔

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔
คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้อ
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
.......................................................  
. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในดินแดนชมพูทวีป ?
. อินเดีย
. ปากีสถาน
. ไทย
. เนปาล


. พวกพลเรือนที่มีอาชีพทำนา ค้าขาย จัดอยู่ในวรรณะใด ?
. กษัตริย์
. พราหมณ์
. แพศย์
. ศูทร

. ไตรเพทเป็นคัมภีร์ของศาสนาใด ?
. ศาสนาพุทธ
. ศาสนาพราหมณ์
. ศาสนาเชน
. ศาสนาซิกซ์

. กษัตริย์พระองค์ใด เป็นต้นศากยวงศ์ ?
. พระเจ้าโอกกากราช
. พระเจ้าอโศกมหาราช
. พระเจ้าชัยเสนะ
. พระเจ้าสีหหนุ

. กษัตริย์พระองค์ใด เป็นพระอัยกา (ปู่) ของพระพุทธเจ้า ?
. พระเจ้าโอกกากราช
. พระเจ้าอัญชนะ
. พระเจ้าสีหหนุ
. พระเจ้าชัยเสนะ

. เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ณ ที่ไหน ?
. สวนเวฬุวัน
. สวนลุมพินีวัน
. สวนอัมพวัน
. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน


. ลักษณะของพระมหาบุรุษ ใครเป็นผู้ทำนายคนแรก ?
. อุทกดาบส
. อาฬารดาบส
. โกณฑัญญพราหมณ์
. อสิตดาบส

. พระนางสิริมหามายาทิวงคต เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้กี่วัน ?
. ๓ วัน
. ๕ วัน
. ๗ วัน
. ๑๕ วัน

. เจ้าชายสิทธัตถะได้ปฐมฌานครั้งแรกที่ไหน ?
. ใต้ต้นโพธิพฤกษ์
. ใต้ต้นไทร
. ใต้ต้นชมพูพฤกษ์
. ใต้ต้นจิก

๑๐. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศบรรพชา ณ สถานที่ใด ?
. ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
. ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
. ริ่มฝั่งแม่น้ำคงคา
. ริมฝั่งแม่น้ำสินธู

๑๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกบรรพชา ใครนำบาตรและจีวรมาถวาย ?
. สหัมบดีพรหม
. ท้าวสักกเทวราช
. ท้าวจาตุมหาราช
. ฆฏิการพรหม

๑๒. สมณพราหมณ์มีกายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ใจยังยินดีอยู่ในกาม เปรียบได้กับอะไร ?
. ไม้สดแช่อยู่ในน้ำ
. ไม้สดที่อยู่บนบก
. ไม้แห้งที่อยู่บนบก
. ถูกทุกข้อ

๑๓. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุเท่าไร ?
. ๒๙ พรรษา
. ๓๕ พรรษา
. ๓๖ พรรษา
. ๔๕ พรรษา

๑๔. พระพุทธเจ้าทรงผจญกับธิดามาร ณ สถานที่ใด ?
. อนิมมิสเจดีย์
. รัตนจงกรมเจดีย์
. ต้นอชปาลนิโครธ
. ต้นราชายตนะ

๑๕. อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรมเป็นสรณะเป็นคนแรกคือใคร ?
. ตปุสสะและภัลลิกะ
. โสตถิยพราหมณ์
. อนาถปิณฑิกเศรษฐี
. บิดาของยสกุลบุตร

๑๖. ผู้มาทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าโปรดเวไนยสัตว์คือใคร ?
. พกาพรหม
. ฆฏิการพรหม
. มหาพรหม
. สหัมบดีพรหม

๑๗. " ที่สุด ๒ อย่างและทางสายกลาง " อยู่ในพระสูตรไหน ?
. เวทนาปริคคหสูตร
. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
. อาทิตตปริยายสูตร
. อนัตตลักขณสูตร

๑๘. พระรัตนตรัย เกิดขึ้นในโลกเมื่อไร ?
. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙

๑๙. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ชื่อว่าอะไร ?
. เชตวัน
. ลัฏฐิวัน
. ปุพพาราม
. เวฬุวัน

๒๐. " ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร " ใครกล่าว ?
. อุปติสสปริพาชก
. โกลิตปริพาชก
. ปิปผลิมาณพ
. ทีฆนขปริพาชก

๒๑. พระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
แก่ใคร ?
. ทีฆนขปริพาชก
. สุภัททปริพาชก
. พระอัสสชิ
. พระมหาโมคคัลลานะ

๒๒. พระมหาโมคคัลลานะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ไหน ?
. ถ้ำสุกรขาตา
. ถ้ำสัตตบรรณคูหา
. บ้านกัลลวาลมุตตคาม
. บ้านนาลันทา

๒๓. ผู้ที่ออกบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลกคือใคร ?
. อุปติสสปริพาชก
. โกลิตปริพาชก
. อชิตมาณพ
. ปิปผลิมาณพ

๒๔. ผู้ทำบุญอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว คนแรกคือใคร ?
. อนาถปิณฑิกเศรษฐี
. พระเจ้าพิมพิสาร
. พระเจ้าปเสนทิโกศล
. นางวิสาขา มหาอุบาสิกา

๒๕. " ไม่ชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล " หมายความว่าอย่างไร ?
. ไม่ถือตัวเข้าไปสู่ตระกูล
. ไม่โอ้อวดเข้าไปสู่ตระกูล
. ไม่โต้แย้งเข้าไปสู่ตระกูล
. ไม่ยกตนข่มท่านเข้าไปสู่ตระกูล

๒๖. การบวชที่พระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เอง คือวิธีใด ?
. ติสรณคมนูปสัมปทา
. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
. ญัตติจตุตถกรรม
. ถูกทุกข้อ

๒๗. พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ณ สถานที่ใด ?
. เชตวัน
. ลัฏฐิวัน
. เวฬุวัน
. อัมพวัน

๒๘. ใครทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ได้สำเร็จ ?
. กาฬุทายีอำมาตย์
. ฉันนอำมาตย์
. สันตติอำมาตย์
. พระอานนท์

๒๙. พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้าย ณ สถานที่ใด ?
. นาลันทา
. เวฬุวคาม
. เวฬุวัน
. กุสินารา

๓๐. พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ณ สถานที่ใด ?
. ธาตุเจดีย์
. อนิมมิสเจดีย์
. รัตนฆรเจดีย์
. ปาวาลเจดีย์

๓๑. ใครเป็นผู้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้าเป็นคนสุดท้าย ?
. อนาถปิณฑิกเศรษฐี
. นายจุนทะ
. นางวิสาขา
. นางสุชาดา

๓๒. ใครเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ?
. พระอานนท์
. พระอนุรุทธะ
. สุภัททวุฑฒบรรพชิต
. สุภัททปริพาชก

๓๓. พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองไหน ?
. เมืองปาวา
. เมืองพาราณสี
. เมืองกุสินารา
. เมืองสาวัตถี

๓๔. สถานที่ใด ไม่ใช่สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ?
. ที่ประสูติ
. ที่ตรัสรู้
. ที่ปรินิพพาน
. ที่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์

๓๕. สถานที่ใด เป็นที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ?
. มกุฏพันธนเจดีย์
. ปาสาณเจดีย์
. อนิมมิสเจดีย์
. รัตนฆรเจดีย์

๓๖. ใครทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ?
. มัลลกษัตริย์
. พระมหากัสสปะ
. โทณพราหมณ์
. พระอานนท์

๓๗. ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งใครเป็นศาสดาแทน ?
. พระมหากัสสปะ
. พระอานนท์
. พระอุบาลี
. พระธรรมวินัย

๓๘. พระพุทธเจ้าตรัสโอวาทครั้งสุดท้าย ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
. ความสันโดษ
. ความไม่ประมาท
. ความกตัญญู
. ถูกทุกข้อ

๓๙. พระพุทธรูปจัดอยู่ในเจดีย์ประเภทใด ?
. ธาตุเจดีย์
. ธรรมเจดีย์
. บริโภคเจดีย์
. อุทเทสิกเจดีย์

๔๐. อะไร คือมูลเหตุแห่งการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ?
. มีผู้กล่าวจ้วงจาบพระศาสดา
. มีผู้กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย
. มีผู้ละเมิดพระธรรมวินัย
. ถูกทุกข้อ

๔๑. คำว่า " อุโบสถ " แปลว่าอะไร ?
. การจำศีล
. การรักษาศีล
. การถือศีล
. การเข้าจำ

๔๒. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีกี่วัน ?
. ๓ วัน
. ๔ วัน
. ๕ วัน
. ๖ วัน

๔๓. การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดเข้าในพิธีใด ?
. กุศลพิธี
. ทานพิธี
. บุญพิธี
. ปกิณกพิธี

๔๔. วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันอะไร ?
. วันแสดงปฐมเทศนา
. วันแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
. วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
. วันปรินิพพาน

๔๕. การถวายทานในข้อใด จัดเข้าในปาฏิบุคลิกทาน ?
. สมหวังพาเพื่อนไปถวายสังฆทานที่วัด
. หงส์ฟ้าตักบาตรทุกเช้า
. มะลิถวายอาหารพระที่ตนนับถือ
. ตะวันทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ที่บ้าน

๔๖. วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ?
. วันพระเจ้าเปิดโลก
. วันแสดงปฐมเทศนา
. วันประสูติ
. วันปรินิพพาน

๔๗. ข้อใด ไม่ใช่พิธีทำบุญงานมงคล ?
. งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
. งานบวช
. งานทำบุญอายุ
. งานทำบุญอัฐิ

๔๘. " สวดพระพุทธมนต์ " ใช้สำหรับงานประเภทใด ?
. งานมงคล
. งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
. งานอวมงคล
. งานทำบุญอายุ

๔๙. การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึงการกราบเช่นไร ?
. กราบครบองค์ ๕
. กราบ ๓ ครั้ง
. กราบ ๕ ครั้ง
. ก และ ข ถูก

๕๐. การกรวดน้ำมุ่งประโยชน์อะไร ?
. อุทิศส่วนบุญ
. แสดงความเคารพ
. ตั้งจิตอธิษฐาน
. เพื่อให้เทวดารับรู้

ผู้ออกข้อสอบ :
. พระเทพรัตนกวี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ. พิษณุโลก
. พระศรีวิสุทธิเวที วัดตากฟ้า จ. นครสวรรค์
. ศูนย์พุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดประยุรวงศาวาส
ตรวจ/ปรับปรุง :
โดยสนามหลวงแผนกธรรม



Keine Kommentare: