Sonntag, 12. Oktober 2014

ฝึกแปลธรรมบท ชุดที่ ๑ (ปาปวรรควัณณนา, ชราวรรควัณณนา)

  
(ท่านสามารถเลือกรายการที่ต้องการฟังได้ โดยคลิกที่หน้าต้าง MP3 ด้านล่าง)



. ปาปวโคฺค

. จูเฬกสาฎกพฺราหฺมณวตฺถุ

อภิตฺถเรถ กลฺยาเณติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต จูเฬกสาฎกพฺราหฺมณํ อารพฺภ กเถสิฯ
วิปสฺสิทสพลสฺส กาลสฺมิญฺหิ มหาเอกสาฎกพฺราหฺมโณ นาม อโหสิ, อยํ ปน เอตรหิ สาวตฺถิยํ จูเฬกสาฎโก นามฯ 

Samstag, 11. Oktober 2014

บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น ชุดที่ ๓


บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น (ชุดที่ ๓) สำหรับนักศึกษาใหม่และผู้สนใจทั่วไป
บรรยายโดย พระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร
# ขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล #   http://www.thepathofpurity.com/


 บทที่ ๑๒

สมาส

 
    สมาส คือการย่อนามศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป เข้าเป็นบทเดียวกัน วิเคราะห์ว่า "สมสฺสเต สงฺขิปียเตติ สมาโส การย่อหรือบทที่ถูกย่อ ชื่อว่าสมาสว่าโดยวิธีทำมี ๒ อย่าง คือ
 
. ลุตฺตสมาส  สมาสที่ลบวิภัตติของศัพท์หน้า
                       เช่น กฐินสฺส ทุสฺสํ กฐินทุสฺสํ
                              ผ้าเพื่อกฐิน ชื่อว่า กฐินทุสฺเส
. อลุตฺตสมาส  สมาสที่ไม่ลบวิภัตติของศัพท์หน้า
                         เช่น ปรสฺส ปทํ ปรสฺสปทํ
                                บทเพื่อผู้อื่น ชื่อว่า ปรสฺสปท
 
 
    ลักษณะของสมาส ๓ อย่าง
 
. ประกอบเข้าเป็นบทเดียวกัน
. สวดให้เป็นบทเดียวกัน (ไม่เว้นวรรคกลางสมาส)
. มีวิภัตติตัวเดียวกัน

Freitag, 10. Oktober 2014

บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น ชุดที่ ๒


บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น (ชุดที่ ๒) สำหรับนักศึกษาใหม่และผู้สนใจทั่วไป
บรรยายโดย พระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร
# ขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล  http://www.thepathofpurity.com/



สัพพนาม

 
    การจำแนกปุริสสัพพนาม และวิเสสนสัพพนาม มีรูปต่างกันในลิงค์ทั้ง ๓ ส่วน ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ มีรูปเหมือนกันทั้ง ๓ ลิงค์ ดังต่อไปนี้
 
            ปุริสสัพนาม
 
    () ปุงลิงค์ อการันต์ ตสัททปทมาลา (เขา, นั้น)
 
วิภัตติ             
เอกวจนะ             
พหุวจนะ                 
ปฐมา
โส
เน เต
ทุติยา
นํ ตํ
เน เต
ตติยา
เนน เตน
เนหิ เนภิ เตหิ เตภิ
จตุตถี
อสฺส นสฺส ตสฺส
เนสํ เนสานํ เตสํ เตสานํ   
ปัญจมี
อสฺมา นมฺหา นสฺมา
ตมฺหา ตสฺมา    
เนหิ เนภิ เตหิ เตภิ
ฉัฏฐี
อสฺส นสฺส ตสฺส
เนสํ เนสานํ เตสํ เตสานํ
สัตตมี
อสฺมึ นมฺหิ นสฺมึ
ตมฺหิ ตสฺมึ
เนสุ เตสุ
 
 

บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น ชุดที่ ๑


บาฬีไวยากรณ์เบื้องต้น (ชุดที่ ๑) สำหรับนักศึกษาใหม่และผู้สนใจทั่วไป
บรรยายโดย พระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร
# ขอบคุณเว็บไซต์ที่มาข้อมูล #  http://www.thepathofpurity.com/

    
บทนำ
ปาลิภาษา ภาษาบาลี
       ปาลิ แปลว่า รักษาไว้, ภาสา แปลว่า ภาษาหรือถ้อยคำสำเนียง (ศัพท์และเสียง) เมื่อรวม ๒ บทเข้าด้วยกันเป็น ปาลิภาสา จึงแปลว่า ภาษาที่รักษาไว้

        รักษาอะไรไว้?

        รักษาพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกไว้ ไม่ให้เสื่อมสลายไปดังมีวิเคราะห์ศัพท์ว่า

        ติปิฏกํ พุทฺธวจนํ ปาเลตีติ ปาลิ (ปาฬิ).

        ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ชื่อว่า ปาลิ