ปัญหาและเฉลยธรรม
นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
พ.ศ.
๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี
ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๓
------------------------------
๑.
๑.๑
ปริเยสนา ๒ อย่างตามความในพระสูตรท่านแสดงไว้อย่างไร
?
๑.๒
ภิกษุควรแสวงหาเลี้ยงชีพอย่างไรจึงเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ
?
ตอบ:
๑.๑
แสดงว่า
แสวงหาสิ่งอันมิใช่ของมีชรา
พยาธิ มรณะ โสกะและสังกิเลส
เป็นธรรมดา คือธรรมอันเกษมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง
จัดเป็นอริย ปริเยสนา
แสวงหาสิ่งอันมีชรา พยาธิ
มรณะ โสกะและสังกิเลสเป็นธรรมดา
ทั้งที่สภาพเช่นนั้นก็มีในตนอยู่พร้อมแล้ว
จัดเป็นอนริยปริเยสนา
๑.๒
ภิกษุแสวงหาเลี้ยงชีพโดยอุบายอันสมควร
ทั้งไม่เป็นโลกวัชชะมีโทษทางโลกและไม่เป็นปัณณัตติวัชชะ
มีโทษทางพระบัญญัติ
ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่นจึงจะเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ
๒.
๒.๑
ปรีชาหยั่งรู้อะไรจัดเป็นกิจจญาณ
?
๒.๒
สิกขาคืออะไร ?
มีเท่าไร
? อะไรบ้าง
?
ตอบ:
๒.๑
ปรีชาหยั่งรู้ว่า
ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้
ทุกขสมุทัยเป็นสภาพที่ควรละเสีย
ทุกขนิโรธเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด
จัดเป็นกิจจญาณ
๒.๒
ปฏิปทาที่ตั้งไว้เพื่อศึกษา
คือฝึกหัดไตรทวารไปตาม
ชื่อว่าสิกขา มี ๓ อย่างคือ
อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง
๑ อธิจิตตสิกขา
สิกขาคือจิตยิ่ง ๑
อธิปัญญาสิกขา
สิกขาคือปัญญายิ่ง ๑
๓.
๓.๑
อัปปมัญญา ๔ กับพรหมวิหาร
๔ ต่างกันอย่างไร ?
๓.๒
อะไรเรียกว่า อริยวงศ์ ?
แจกออกเป็นเท่าไร
? อะไรบ้าง
?
ตอบ:
๓.๑
ต่างกันอย่างนี้คือ
อัปปมัญญาได้แก่การแผ่โดยไม่เจาะจงตัว
และไม่มีจำกัด
ส่วนพรหมวิหารได้แก่การแผ่โดยเจาะจงตัว
หรือโดยไม่เจาะจงตัวแต่ยังจำกัดมุ่งเอาหมู่นี้หมู่นั้น
๓.๒
ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะเรียกว่า
อริยวงศ์ แจกออกเป็น ๔ คือ
๑)
สันโดษด้วยจีวรตามมีตามเกิด
๒)
สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามเกิด
๓)
สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามเกิด
๔)
ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล
๔.
๔.๑
อุปาทานคืออะไร ?
มีกี่อย่าง
? อะไรบ้าง
?
๔.๒
กำเนิด ๔ มีอะไรบ้าง ?
ตอบ:
๔.๑
คือการถือมั่นข้างเลว
ได้แก่การถือรั้น มี ๔ คือ
กามุปาทาน
ถือมั่นในกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน
ถือมั่นทิฏฐิ ๑
สีลัพพตุปาทาน
ถือมั่นศีลพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน
ถือมั่นวาทะ
ว่าตน
๑
๔.๒
คือ
ชลาพุชะ
เกิดในครรภ์ ๑ อัณฑชะ
เกิดในไข่ ๑
สังเสทชะ
เกิดในเถ้าไคล ๑ โอปปาติกะ
เกิดผุดขึ้น ๑
๕.
๕.๑
การสำรวมระวังปิดกั้นอกุศลเรียกว่าอะไร
? มีเท่าไร
? อะไรบ้าง
?
๕.๒
สติสังวร สำรวมด้วยสตินั้น
มีอธิบายอย่างไร ?
ตอบ:
๕.๑
เรียกว่า สังวร มี ๕ คือ
๑)
สีลสังวร
สำรวมด้วยศีล
๒)
สติสังวร
สำรวมด้วยสติ
๓)
ญาณสังวร
สำรวมด้วยญาณ
๔)
ขันติสังวร
สำรวมด้วยขันติ
๕)
วิริยสังวร
สำรวมด้วยความเพียร
๕.๒
มีอธิบายว่า
สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นระวังรักษามิให้อกุศลธรรมเข้า
ครอบงำ เมื่อเห็นรูปเป็นต้น
ทั้งมีสติไม่ฟั่นเฟือนลืมหลง
ระลึกได้ก่อนแต่ทำ พูด คิด
ไม่ให้ผิดทางกาย วาจา ใจ
ไม่ประมาทหลงทำกรรมชั่ว
๖.
๖.๑
ทำไมท่านจึงเปรียบวิสุทธิ
๗ เหมือนรถ ๗ ผลัด ?
๖.๒
อะไรจัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
?
ตอบ:
๖.๑
เพราะวิสุทธิ
๗ นี้ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุพระนิพพาน
ท่านจึงเปรียบเหมือนรถ ๗
ผลัดต่างส่งต่อซึ่งคนผู้ไปให้ถึงสถานที่ปรารถนา
๖.๒
วิปัสสนาญาณ
๙ จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
๗.
จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
๗.๑
ภควา ๗.๒
โอปนยิโก
ตอบ:
๗.๑
ภควา
คือพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเป็นผู้มีโชค คือจะทรงทำการใด
ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ
อีกอย่างหนึ่งเป็นผู้จำแนกแจกธรรม
๗.๒
โอปนยิโก
คือพระธรรมมีคุณควรน้อมเข้ามาในใจของตนหรือควรน้อมใจเข้าไปหาพระธรรมนั้นด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ
๘.
๘.๑
บารมีคืออะไร ?
มีกี่อย่าง
? อะไรบ้าง
?
๘.๒
สังโยชน์อะไรเรียกว่า
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ?
มีอะไรบ้าง
?
ตอบ:
๘.๑
คือคุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยวดยิ่ง
มี
๑๐ อย่าง คือ ทาน ๑ ศีล ๑
เนกขัมมะ ๑ ปัญญา ๑ วิริยะ
๑
ขันติ
๑ สัจจะ ๑ อธิษฐาน ๑ เมตตา
๑ อุเบกขา ๑
๘.๒
สังโยชน์เบื้องต่ำคืออย่างหยาบเรียกว่า
โอรัมภาคิยสังโยชน์ มี ๕
อย่างคือ สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส
๑ กามราคะ ๑ ปฏิฆะ ๑
๙.
จงอธิบายคำต่อไปนี้
๙.๑
มิจฉาสมาธิ ๙.๒
สัมมาสมาธิ
ตอบ:
๙.๑
มิจฉาสมาธิ
คือการตั้งจิตไว้ผิด
โดยนำสมาธิที่ได้นั้นไปใช้ในผิดทาง
เช่น สะกดจิตในทางหาลาภให้แก่ตนเอง
ในทางหาผลประโยชน์
ทำให้ผู้อื่นหลงงมงายในวิชาความรู้
ในทางให้ร้ายผู้อื่นและในทางนำให้หลง
๙.๒
สัมมาสมาธิ
คือการตั้งจิตไว้ชอบในองค์ฌาน
๔ หรือมีนัยตรงกันข้ามกับ
มิจฉาสมาธิข้างต้น
๑๐.
๑๐.๑
ธุดงค์ ๑๓ ท่านกล่าวว่า
เป็นวัตรจริยาพิเศษอย่างหนึ่งไม่ใช่ศีลนั้น
คืออย่างไร ?
๑๐.๒
ธุดงค์นั้น ท่านบัญญัติไว้เพื่ออะไร
?
ตอบ:
๑๐.๑
คือการสมาทานหรือข้อที่ถือปฏิบัติจำเพาะผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติไม่มีโทษ
มีแต่ให้คุณแก่ผู้ถือปฏิบัติ
๑๐.๒
เพื่อเป็นอุบายบรรเทาขัดเกลาและกำจัดกิเลส
เป็นไปเพื่อความมักน้อยและสันโดษ
เป็นต้น
------------------------------
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen