Posts mit dem Label หนังสือคู่มือนักธรรม-ธรรมศึกษา ตรี-โท-เอก werden angezeigt. Alle Posts anzeigen
Posts mit dem Label หนังสือคู่มือนักธรรม-ธรรมศึกษา ตรี-โท-เอก werden angezeigt. Alle Posts anzeigen

Mittwoch, 17. April 2019

หลักสูตรวิชาวินัย ธรรมศึกษาชั้นเอก (๔) กรรมบถ


กรรมบถ
หลักสูตรวิชาวินัย ธรรมศึกษาชั้นเอก

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนเรื่องกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายล้วนเป็นไปตามกรรม หมายความว่า กรรมนั้นสามารถที่จะทำให้สัตว์โดยเฉพาะมนุษย์เรากลายสภาพเป็นอะไรก็ได้ คือทำให้ไปสู่ทุคติ ได้แก่ ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นเปรต เป็นสัตว์นรก เป็นอสุรกายก็ได้ ทำให้ไปสู่สุคติคือ ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม จนถึงเป็นพระอรหันต์ก็ได้
ดังนั้น เรื่องของกรรมจึงเป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนจำเป็นจะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้พ้นจากทุคติ และดำเนินไปสู่สุคติซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างปรารถนา กรรมที่จะนำไปสู่ทุคติและสุคตินั้น ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า กรรมบถ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ที่นำไปสู่ทุคติ เรียกว่า กุศลกรรมบถ และที่นำไปสู่สุคติ เรียกว่า กุศลกรรมบถ
อกุศลกรรมบถ ๑๐
. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์
. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเกิดขึ้นทางกายทวารโดยมาก
. มุสาวาท พุดเท็จ
. ปิสุณวาจา พูดส่อเสียด
. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเกิดขึ้นทางวจีทวารโดยมาก

Dienstag, 16. April 2019

หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก (๓) พุทธานุพุทธประวัติ


ปฐมสมโพธิ์
พุทธานุพุทธประวัติ
หลักสูตร ธรรมศึกษาชั้นเอก
ชาติกถา กัณฑ์ที่ ๑

คำปรารภ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกอบด้วยสัมปทาคุณ ๓ ประการ คือ เหตุสัมปทา ๑ ผลสัมปทา ๑ สัตตูปการสัมปทา ๑

เหตุสัมปทา ได้แก่ การที่ทรงบำเพ็ญโพธิญาณ พุทธการกบารมีธรรมสิ้นกาลนาน นับประมาณเป็นโกฎิกัปตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมา

ผลสัมปทา ได้แก่ การที่ทรงได้รับความสำเร็จจากพุทธการกบารมีธรรมที่ทรงบำเพ็ญ มี ๔ ประการ คือ
. รูปกายสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงมีรูปกาย ประกอบด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
. ปหานสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงสามารถละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาได้
. ญาณสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยญาณทั้งหลาย มีทศพลญาณ เป็นต้น
. อานุภาวสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงมีอำนาจในการที่จะทำสิ่งที่ทรงประสงค์ให้สำเร็จตามปรารถนาได้

Montag, 15. April 2019

หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก (๒) วิชาธรรม


วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก

- ธรรมวิจารณ์ –

- ส่วนปรมัตถปฏิปทา –
. นิพพิทา ความหน่าย

อุทเทส

. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ
สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
โลกวัคค ธัมมบท

. เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร
จิตตวัคค ธัมมบท

โลกมี ๒ อย่าง คือ
. โดยตรง ได้แก่ แผ่นดินเป็นที่อาศัย
. โดยอ้อม ได้แก่ สัตว์ผู้อาศัย
ในโลกทั้ง ๒ นี้มีสิ่งต่าง ๆ อยู่ ๓ อย่าง คือ

Sonntag, 14. April 2019

หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก (๑) กระทู้ธรรม

สารบัญ

เรื่อง / หน้า
กระทู้ธรรม
- อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
- จิตตวรรค
- ธัมมวรรค
- วิริยวรรค ๑๓
- สามัคคีวรรค ๑๕
- อัปปมาทวรรค ๑๖
วิชาธรรม
- . นิพพิทา ความหน่าย ๑๙
- โทษของการหมกอยู่ในโลก ๒๐
- อาการสำรวมจิต ๒๑
- มารและบ่วงแห่งมาร ๒๑
- ปฏิปทาแห่งนิพพิทา ๒๒
- อนิจจตา ความไม่เที่ยง กำหนดรู้ได้ ๓ ทาง ๒๓
- สรุปอนิจจลักษณะแห่งสังขาร ๒๔