วิชาธรรม
ธรรมศึกษาชั้นเอก
-
ธรรมวิจารณ์
–
-
ส่วนปรมัตถปฏิปทา
–
๑.
นิพพิทา
ความหน่าย
อุทเทส
๑. เอถ
ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ
ราชรถูปมํ
ยตฺถ
พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ
สงฺโค วิชานตํ
สูทั้งหลาย
จงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่
แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
โลกวัคค
ธัมมบท
๒. เย
จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ
มารพนฺธนา
ผู้ใดจักระวังจิต
ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร
จิตตวัคค
ธัมมบท
โลกมี
๒ อย่าง คือ
๑. โดยตรง
ได้แก่ แผ่นดินเป็นที่อาศัย
๒. โดยอ้อม
ได้แก่ สัตว์ผู้อาศัย
ในโลกทั้ง
๒ นี้มีสิ่งต่าง ๆ อยู่ ๓
อย่าง คือ
๑.) สิ่งอันให้โทษโดยส่วนเดียว
เปรียบด้วยยาพิษ
๒.)
สิ่งอันให้โทษในเมื่อเกินพอดี
เปรียบด้วยของมึนเมา
๓.) สิ่งอันเป็นอุปการะ
เปรียบด้วยอาหาร และเภสัช
แต่ใช้ในทางผิดอาจให้โทษก็ได้
ผู้หมกอยู่ในโลก
คือ คนผู้ไร้พิจารณ์
ไม่หยั่งเห็นโลกโดยถ่องแท้
อาการที่หมกอยู่ในโลก
๓ อย่าง คือ
๑. เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ
๒. ระเริงจนเกินพอดี
ในสิ่งอันอาจให้โทษ
๓. ติดในสิ่งเป็นอุปการะ
โทษของการหมกอยู่ในโลก
ผู้หมกอยู่ในโลกย่อมได้เสวยทุกข์บ้าง
สุขบ้าง อันสิ่งนั้น ๆ
พึงอำนวย แม้สุขก็เป็นเพียงสามิส
คือ มีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจเป็นเหตุแห่งความติด
ดุจเหยื่อ คือ มังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้
เป็นผู้อันจะพึงจูงไปได้ตามปรารถนา
ผู้ไม่ข้องอยู่ในโลก
คือ บัณฑิตผู้พิจารณาเห็นความเป็นจริงแห่งสิ่งนั้น
ๆ ว่าฉันไรแล้ว ไม่ข้อง
ไม่พัวพันในสิ่งอันล่อใจ
ใคร ๆ
ไม่อาจยั่วให้ติดด้วยประการใดประการหนึ่งย่อมเป็นอิสระแก่ตน
สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสชวนพุทธบริษัทให้มาดูโลก
มิใช่เพื่อให้หลงชม ดุจดูละคร
เห็นแก่สนุก
แต่เพื่อให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณและโทษแห่งสิ่งนั้น
ๆ จะได้ไม่ตื่นเต้นไม่ติดในสิ่งนั้น
ๆ
ผู้พ้นจากบ่วงแห่งมาร
คือ ผู้สำรวมจิตไว้อยู่
ไม่ปล่อยให้เพลิดเพลิน
ระเริงพัวพันในสิ่งอันล่อใจ
อาการสำรวจจิต
มี ๓ ประการ
๑. สำรวมอินทรีย์
มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป
ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส
ถูกต้องโผฎฐัพพะอันน่าปรารถนา
(อินทรียสังวรศีล)
๒. มนสิการกัมมัฎฐาน
อันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ
คือ อสุภะ และกายคตาสติ
หรือ (กัมมัฏฐาน)
อันยังจิตให้สลด
คือ มรณสติ (สมถกัมมัฏฐาน)
๓. เจริญวิปัสสนา
คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์
สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
(วิปัสสนากัมมัฏฐาน)
มารและบ่วงแห่งมาร
มาร
คือ โทษที่ล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน
ได้แก่ กิเลสกาม คือเจตสิก
(สิ่งที่เกิดภายในใจ)
อันเศร้าหมอง
ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้
กล่าวคือ ตัณหา ความทะยานอยาก
ราคะ ความกำหนัด อรติ
ความขึ้งเคียด เป็นอาทิ
บ่วงแห่งมาร
คือ อารมณ์เครื่องผูกจิตให้ติดแห่งมาร
เหมือนมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้
เป็นเหตุให้ปลามากินแล้วถูกเบ็ดเกี่ยวให้ติดอยู่
ได้แก่ วัตถุกาม คือ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ
อันเป็นของน่าชอบใจ
ปฏิปทาแห่งนิพพิทา
อุทเทส
สพฺเพ
สงฺขารา อนิจฺจาติ
สพฺเพ
สงฺขารา ทุกฺขาติ
สพฺเพ
ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา
ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ
นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส
มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อใด
เห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นทางแห่งวิสุทธิ
มัคควัคค
ธัมมบท
สังขาร
ในพระพุทธพจน์นี้ ได้แก่
ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ (มีความหมายว่า
ถูกปัจจัย คือ กรรม จิต
อุตุ อาหาร ปรุงแต่ง)
สังขารในเบญจขันธ์
ได้แก่ อารมณ์อันเกิดกับจิต
เช่น รัก ชัง วิตก วิจาร
เป็นต้น (มีความหมายว่า
เครื่องปรุงจิต)
สังขารมีลักษณะเสมอกันเป็น
๓ คือ
๑. อนิจจตา
ความไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา
ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตตา
ความเป็นอนัตตา
อนิจจตา
ความไม่เที่ยง กำหนดรู้ได้
๓ ทาง
๑. ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น
และความสิ้นไปในเบื้องปลาย
ได้ในบาลีว่า
อนิจฺจา
วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา
นิรุชฺฌนฺติ
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและความสิ้นไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
๒. ความแปรในระหว่างเกิดและดับ
ได้ในบาลีว่า
อจฺเจนฺติ
กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา
อนุปุพฺพํ ชหนฺติ.
กาลย่อมล่วงไป
ราตรีย่อมผ่านไป
ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ระยะเวลาในระหว่างเกิดและดับ
เรียกว่า วัย แบ่งออกเป็น
๓ คือ
๑. ปฐมวัย ระยะเวลาไม่เกิน
๒๕ ปี
๒. มัชฌิมวัย
ระยะเวลาอยู่ใน ๕๐ ปี
๓. ปัจฉิมวัย ระยะเวลาพ้น
๕๐ ปี ออกไปจนตลอดอายุ
ความแปรแห่งสังขารผ่านวัยทั้ง
๓ นั้นเปรียบด้วยเดินข้ามสะพานสูงขึ้น
(ปฐมวัย)
แล้วราบ
(มัชฌิมวัย)
แล้วต่ำลง
ๆ (ปัจฉิมวัย)
๓.
ความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง
ๆ คือ ไม่คงที่อยู่นาน
เพียงในระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว
ได้ในคาถามาในวิสุทธิมรรค
ว่า
ชีวิตํ
อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา
จ เกวลา
เอกจิตฺตสมา
ยุตฺตา ลหุโส
วตฺตเต ขโณ
ชีวิต
อัตตภาพ และสุขทุกข์ทั้งมวลประกอบกัน
เป็นธรรมเสมอด้วยจิตดวงเดียว
ขณะย่อมเป็นไปพลัน
ความแปรเร็วอย่างนี้
ย่อมกำหนดเห็นชัดในนามกาย
(จิตใจ)
เช่น
บางขณะนึกอารมณ์อย่างนั้น
บางขณะนึกอารมณ์อย่างนี้
บางขณะสุข บางขณะทุกข์
เป็นต้น
สรุปอนิจจลักษณะแห่งสังขาร
ความเกิดแล้วดับ
และความแปรในระหว่างแห่งสังขารดังกล่าวมา
สรุปเข้าในบาลีว่า
อุปฺปชฺชติ
เจว เวติ จ อญฺญถา จ ภวติ
ย่อมเกิดขึ้นด้วยเทียว
ย่อมเสื่อมสิ้นด้วย
ย่อมเป็นอย่างอื่นด้วย
นี้เป็น อนิจจลักษณะ คือ
เครื่องกำหนดว่าไม่เที่ยงแห่งสังขาร
อนิจจลักษณะได้ในสังขาร
๒
อนิจจลักษณะนี้ย่อมได้ทั้งในอุปาทินนกะ
คือ สังขารมีใจครอง
ทั้งในอนุปาทินนกะ คือ
สังขารไม่มีใจครอง
ทุกฺขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขาร
ย่อมกำหนดเห็นด้วยทุกข์อย่างนี้
๑. สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร
คือ ชาติ ชรา มรณะ
๒. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร
คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาส
๓. นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์
หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือน
ได้แก่ หนาว ร้อน หิว ระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
๔. พยาธิทุกข์ หรือทุกขเวทนา
มีประเภทต่าง ๆ ตามสมุฏฐาน
คือ อวัยวะอันเป็นเจ้าการ
ไม่ทำหน้าที่โดยปกติ
๕. สันตาปทุกข์ ทุกข์คือความร้อนรุ่ม
ได้แก่ ความกระวนกระวายเพราะถูกไฟ
คือ กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ
เผา
๖. วิปากทุกข์
หรือผลกรรม ได้แก่ วิปฏิสาร
คือ ความร้อน การเสวยกรรมกรณ์
คือ การถูกลงอาชญา ความฉิบหาย
ความตกยาก และความตกอบาย
๗. สหคตทุกข์
ทุกข์ไปด้วยกัน หรือ
ทุกข์กำกับกัน ได้แก่ ลาภ
ยศ สรรเสริญ สุข
ความวิตกกังวลกับลาภเป็นต้นนั้น
๘. อาหารปริเยฎฐิทุกข์ คือ
ทุกข์ในการหากิน ได้แก่
อาชีวทุกข์ ทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีวิต
๙. วิวาทมูลกทุกข์
คือ ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล
ได้แก่ ความไม่โปร่ง
ความกลัวแพ้ ความหวั่นหวาด
มีเนื่องมาจากทะเลาะกันก็ดี
สู้คดีกันก็ดี รบกันก็ดี
๑๐. ทุกขขันธ์
หรือทุกข์รวบยอด หมายเอาสังขาร
คือ ประชุมเป็นปัญจขันธ์นั่นเอง
การพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์เต็มที่
อันจะนำไปสู่นิพพิทา
ความหน่ายในสังขาร คือ
การเห็นทุกขขันธ์นี้
ส่วนทุกข์หมวดอื่นพอเป็นเครื่องกำหนดเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์เท่านั้น
การรู้จักใช้ญาณกำหนดเห็นทุกข์อย่างละเอียด
(แม้)
ที่โลกเห็นว่าเป็นสุข
มีสหคตทุกข์เป็นนิทัศนะ
ได้ในบาลีว่า
ทุกฺขเมว
หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ
ติฏฐติ เวติ จ
นาญฺญตฺร
ทุกฺขา สมฺโภติ
นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
ก็ทุกข์นั่นแลย่อมเกิดขึ้น
ทุกข์ย่อมตั้งอยู่
ย่อมเสื่อมสิ้นไปด้วย
จากทุกข์หาอะไรเกิดมิได้
นอกจากทุกข์หาอะไรดับมิได้
บาลีนี้
เพ่งทุกข์หมวด ๑๐ นี้
ท่านจัดความเป็นสภาพถูกความเกิด
และความสิ้นบีบคั้นเป็นทุกขลักษณะ
เครื่องกำหนดว่า เป็นทุกข์แห่งสังขาร
เมื่อเพ่งถึงสภาพที่ถูกความเกิด
และความสิ้นบีบคั้น
เป็นทุกขลักษณะ ดังนั้น
ทุกขลักษณะจึงได้ในสังขารทั้ง
๒ คือ อุปาทินนกสังขาร
และอนุปาทินนกสังขาร
อนตฺตตา
ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร
พึงกำหนดรู้ด้วยอาการ ๕
เหล่านี้ คือ
๑. ด้วยไม่อยู่ในอำนาจ
หรือ ฝืนความปรารถนา
ชีวิตไม่ได้อย่างใจหวังเสมอไป
๒. ด้วยแย้งต่ออัตตา
เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า
อัตตาที่ลัทธิอื่นบัญญัตินั้นไม่มี
๓. ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
ไม่มีใครมีสิทธิในอะไรที่แท้จริง
๔. ด้วยความเป็นสภาพสูญ
เป็นภาพลวงตา เหมือนพยับแดด
หรือ รถ เรือน เป็นต้น
๕. ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ไม่มีผู้สร้างหรืออำนาจดลบันดาลใด
ๆ ทั้งสิ้น
อนัตตลักษณะ
เครื่องหมายของความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร
มติค้านอัตตาของลัทธิอื่นที่เชื่อความเวียนเกิดว่า
ในรูปกายนี้มีอัตตาสิงอยู่
เป็นผู้คิด เป็นผู้เสวยเวทนา
และสำเร็จอาการอย่างอื่นอีก
มติฝ่ายพระพุทธศาสนาแย้งว่า
ไม่มีอัตตาอย่างนั้น
เป็นแต่สภาวธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุ
สิ้นเพราะสิ้นเหตุ
ดังแสดงในบาลีว่า
เย
ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ
เหตุํ ตถาคโต
เตสญจ
โย นิโรโธ จ เอวํวาที
มหาสมโณ
ธรรมเหล่าใด
มีเหตุเป็นแดนเกิด
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรม
และตรัสความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะตรัสอย่างนี้
และมติฝ่ายพระพุทธศาสนา
แสดงความเกิดแห่งธรรมเนื่องกันเป็นสายดังแสดงความเกิดแห่งวิถีจิตว่า
อาศัยอายตนะภายใน
มีจักษุ เป็นต้น
อาศัยอายตนะภายนอก
มีรูป เป็นต้น
ทั้งสองฝ่ายประจวบกันเข้า
เกิดวิญญาณ (เห็นรูป)
แต่นั้นเกิดสัมผัส
เวทนา สัญญา สัญเจตนา ตัณหา
วิตก วิจาร โดยลำดับ
ดังแสดงเป็นบาลีว่า ยงฺกิญฺจิ
สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ
นิโรธธมฺมํ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
ความคิดอ่าน ความเสวยเวทนา
และอาการอย่างอื่น เป็นกิจ
(หน้าที่)
แห่งจิต
และเจตสิก มิใช่แห่งอัตตา
พระพุทธศาสนารับว่ามีจุติจิต
จิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้าย
ด้วยคำว่า จิตฺเต สงฺกิสิฏเฐ
ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมอง จำหวังทุคติ
จิตฺเต
อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองสุคติย่อมหวังได้
และรับรองปฏิสนธิจิต
(จิตที่ทำหน้าที่สืบต่อ)
ด้วยคำว่า
วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ
นามรูป ย่อมเกิดมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
โดยนัยนี้
บทว่า อนัตตา มีความตามพยัญชนะว่า
มิใช่ตัว มิใช่ตน แย้งตรงต่ออุปาทาน
(ความถือผิดว่ามีผู้สร้าง
หรืออำนาจดลบันดาล)
อธิบายคำว่า
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
บาลีแสดงอนัตตลักขณะว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
ไม่ว่าสังขารเหมือนใน ๒
คาถาข้างต้น เพราะอนิจจลักษณะและทุกขลักษณะ
ย่อมได้เฉพาะในสังขาร
(สิ่งที่ถูกปัจจัย
คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร
ปรุงแต่ง)
ส่วนอนัตตลักขณะ
ย่อมได้ทั้งในสังขารและวิสังขาร
(สิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
คือ นิพพาน)
ดังนั้น
จึงต้องใช้คำว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
อนัตตาไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ
ความเห็นอนัตตาพึงปรารถนาโยนิโสมนสิการกำกับ
จะได้กำหนดรู้สัจจะทั้ง
๒ คือ
๑.
สมมติสัจจะ
จริงโดยสมมติ เช่น บิดา
มารดา มีจริง เป็นต้น
๒. ปรมัตถสัจจะ
จริงโดยปรมัตถะ คือ อรรถอันลึก
เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นต้น
อนึ่ง
ความเห็นอนัตตา จะได้ละทิฏฐิมานะ
คือ ความถือผิด และความถือตัว
และกิเลสอย่างอื่น
อันเนื่องมาจากการถือเรา
ถือเขา ถือก๊ก ถือพวก
ความหน่ายที่เรียกว่านิพพิทา
ผู้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ด้วยอาการดังกล่าวแล้ว
ย่อมหน่ายในทุกขขันธ์
ไม่เพลิดเพลิน
หมกมุ่นในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา
ความหน่ายนั้นเรียกว่านิพพิทา
นิพพิทาที่เกิดด้วยปัญญา
จัดเป็นนิพพิทาญาณ ย่อมเป็นปฏิปทา
คือ ทางแห่งวิสุทธิ ความหมดจด
ความผ่องแผ้วแห่งจิต
๒.
วิราคะ
ความสิ้นกำหนัด
อุทเทส
๑.
นิพฺพินฺทํ
วิรชฺชติ
เมื่อหน่าย
ย่อมสิ้นกำหนัด
อนัตตลักขณสูตร
๒. วิราโค
เสฏฺโฐ ธมฺมานํ
วิราคะ
เป็นประเสริฐ แห่งธรรมทั้งหลาย
มัคควัคค
ธัมมบท
๓. สุขา
วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม
วิราคะ
คือ ความก้าวล่วงเสียด้วยดี
ซึ่งกามทั้งหลายเป็นสุขในโลก
พุทธอุทาน
มหาวัคค วินัย
วิราคะ
เป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง
ทั้งที่เป็นสังขตะ คือ
อันธรรมดาแต่ง ทั้งที่เป็นอสังขตะ
คือ อันธรรมดามิได้แต่ง
ไวพจน์
คือ คำสำหรับเรียกแทนกัน
แห่งวิราคะ
๘ อย่าง
๑. มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง
๒. ปิปาสวินโย ความนำเสียซึ่งความระหาย
๓. อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย
๔. วฏฺฏูปจฺเฉโท ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ
๕. ตณฺหกฺขโย ความสิ้นแห่งตัณหา
๖. วิราโค ความสิ้นกำหนัด
๗. นิโรโธ ความดับ
๘. นิพฺพานํ ธรรมชาติหาเครื่องเสียบแทงมิได้
ความเมาในอารมณ์ยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ
เช่น สมบัติแห่งชาติ สกุล
อิสริยะ บริวาร ก็ดี ลาภ
ยศ สรรเสริญ สุข ก็ดี
ความเยาว์วัย ความหาโรคมิได้
และชีวิตก็ดี ชื่อว่าความเมา
ความกระวนกระวาย
เพราะเหตุแห่งความอยากเปรียบด้วยอาการระหายน้ำ
ชื่อว่า ความระหาย
ความติดพัน
ความห่วงใยในปิยารมณ์
ชื่อว่า อาลัย
ความเวียนเกิดด้วยอำนาจ
กิเลส กรรม และวิบาก ชื่อว่า
วัฏฏะ
ความอยาก
ชื่อว่า ตัณหา
ความสิ้นกำหนัด
ปราศจากเสน่หา ฟอกจิตจากน้ำย้อม
คือ กิเลสกาม ชื่อว่า วิราคะ
ความดับทุกข์เนื่องมาจากดับตัณหา
ชื่อว่า นิโรธ
แต่นิโรธศัพท์ใช้ในความหมายธรรมดาก็มี
เช่น คำว่า เตสญจ โย นิโรโธ
จ พระตถาคตตรัสความดับแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ
สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
เป็นต้น
หมายเอาความดับคือ
ระงับจิต เจตสิก (สัญญา
เวทนา)
ในลำดับแห่งสมาบัติที่
๘ เรียกว่า นิโรธสมาบัติ
ก็มี (เป็นชื่อสมาบัติอย่างหนึ่ง)
วิราคะ
อันกล่าวถึงในลำดับแห่งนิพพิทา
ได้แก่ อริยมรรค
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงประทานข้อสังเกตว่า
ปรมัตถปฏิปทา แสดงเฉพาะในทางละกิเลสกาม
ไม่กล่าวถึงกิเลสส่วนปฏิฆะเลย
ชะรอยท่านจะเห็นว่ากิเลสกามเป็นมูลแห่งกิเลสส่วนปฏิฆะ
มีนิทัศนะ ตัวอย่าง เช่น
อาฆาตจะเกิดขึ้น
ก็เพราะพบความติดขัดแห่งความปรารถนาเนื่องด้วยปิยารมณ์
๓.
วิมุตติ
ความหลุดพ้น
อุทเทส
๑.
วิราคา
วิมุจฺจติ
เพราะสิ้นกำหนัด
ย่อมหลุดพ้น
อนัตตลักขณสูตร
๒. กามาสวาปิ
จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ ภวาสวาปิ
จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ อวิชชาสวาปิ
จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ
จิตพ้นแล้ว
จากอาสวะเนื่องด้วยกาม
จากอาสวะเนื่องด้วยภพ
และจากอาสวะเนื่องด้วยอวิชชา
มหาวิภังค์
วินัย
๓. วิมุตฺตสฺมึ
วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ
เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี
อนัตตลักขณสูตร
วิมุตติ
แปลว่า ความหลุดพ้นจากกิเลส
เป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ
ที่เป็นโลกุตตระ
ก็เป็นได้ทั้งอริยมรรค
และอริยผล
วิมุตติ
มาในลำดับแห่งวิราคะ
ดั่งในบาลีกระทู้ที่ ๑
ได้แก่ อริยผล (เพราะวิราคะเป็นอริยมรรค)
เป็นโลกุตตระ
วิมุตติในบาลีกระทู้ที่
๒ ท่านแสดงในลำดับการรู้แจ้งอริยสัจ
๔ เป็นอริยมรรค
(เพราะเพิ่งหลุดพ้นจากกิเลส)
เป็นโลกุตตระ
วิมุตติในบาลีกระทู้ที่
๓ เป็นปัจจเวกขณญาณ เรียกว่า
วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นโลกิยะ
เพราะไม่ได้ทำหน้าที่ละกิเลส
เพียงแต่ตรวจดูกิเลสที่ละได้
และยังละไม่ได้
อาสวะเป็นไวพจน์แห่งกิเลส
อาสวะนั้นเป็นชื่อแห่งเมรัยก็มี
เช่น ผลาสโว น้ำดองผลไม้
เป็นชื่อแห่งกิเลสก็มี
เช่น กามาสโว กิเลสเป็นเหตุใคร่
คำว่า
อาสวะ ในที่นี้ได้แก่
กิเลสานุสัย คือ กิเลสอันนอนตาม
คือ ดองอยู่หมักอยู่ในจิตตสันดาน
ได้แก่ กิเลสอันเป็นเจ้าเรือน
ดังนั้น อาสวะกับกิเลสจึงเป็นคำไวพจน์แห่งกันและกัน
ในบาลีเรียกอาสวะ
ในอรรถกถาเรียกกิเลสเป็นพื้น
วิมุตติ
๕
๑. ตทังควิมุตติ
ความหลุดพ้นด้วยองค์นั้น
ๆ ได้แก่ การระงับอกุศลเจตสิกได้เป็นคราว
ๆ
๒. วิกขัมภนวิมุตติ
ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้
ได้แก่ การระงับกิเลส
และอกุศลธรรมด้วยกำลังฌาน
วิมุตติทั้ง
๒ นี้ เป็นโลกิยวิมุตติ
๓. สมุจเฉทวิมุตติ
ความหลุดพ้นด้วยตัดขาด
ได้แก่ ระงับกิเลสด้วยอริยมรรค
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
ความหลุดพ้นด้วยความสงบราบคาบ
ได้แก่ อริยผล
๕. นิสสรณวิมุตติ
ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย
ได้แก่ นิพพาน
วิมุตติทั้ง
๓ ข้อนี้เป็นโลกุตตรวิมุตติ
วิมุตติ
เป็นได้ทั้งโลกิยะ โลกุตตระ
อริยมรรค และอริยผล ดังนี้แล
๔.
วิสุทธิ
ความหมดจด
อุทเทส
๑.
ปญฺญาย
ปริสุชฺฌติ
ย่อมหมดจดด้วยปัญญา
ยักฺขสังยุตฺต
สคาถวัคฺด
๒. เอส
มคฺโค วิสุทฺธิยา
นั่น
(
นิพพิทา
)
เป็นทางแห่งวิสุทธิ
มคฺควคฺค
ธมฺมบท
บริสุทธิ์ด้วยปัญญา
บางลัทธิเชื่อว่า
บาปที่ทำแล้วอาจลอยเสียด้วยทำพิธีเมื่ออาบน้ำ
บางลัทธิถือว่า
อ้อนวอนพระเจ้าเพื่อโปรดยกประทานได้อยู่
ฝ่ายพระพุทธศาสนาถือว่า
ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
ไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
ความหมดจดและความเศร้าหมอง
เป็นของเฉพาะตัว
คนอื่นยังคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่
โดยนัยนี้ถือว่า
ความบริสุทธิ์ภายในย่อมมีได้ด้วยปัญญาอันเกิดจากวิปัสสนาญาณ
ฯ
วิปัสสนาญาณ
๙
ความบริสุทธิ์ภายในย่อมดีด้วยปัญญา
อันเกิดจากวิปัสสนาญาณ
ผู้พิจารณามาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารไม่เที่ยง
เพราะเพ่งความเกิดและความดับ
นี้เป็นอุทยัพพยญาณ คือ
เห็นเกิดดับ
เพราะเพ่งความแปรในชั่วขณะ
จัดเป็นภังคญาณ คือ เห็นย่อยยับ
เพราะเห็นสังขารย่อยยับ
จึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
จัดเป็นภยตูปัฏฐานญาณ
เล็งเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์
นี้จัดเป็นอาทีนวญาณ คือ
เห็นโทษ
ความหน่ายในลำดับ
(การเห็นโทษ)
เป็นนิพพิทาญาณ
นิพพิทานั้นย่อมเป็นปฏิปทาเครื่องสาวไปถึงความเป็นผู้ใคร่จะปลดอุปาทานเสีย
อันจัดเป็นมุญจิตุกัมยตาญาณ
ความพิจารณาหาอุบาย
จัดเป็นปฏิสังขาญาณ
ความวางเฉยในสังขาร
จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ
โดยลำดับกัน
แต่นั้น
จัดเป็นสัจจานุโลมิกญาณ
คือ เห็นอนุโลมอริยสัจ
(เลื่อนไหลไปฝั่งโลกุตตระ)
เป็นวิปัสสนาญาณคำรบ
๙ อยู่ในหัวต่อแห่งภาวะเป็นปุถุชน
และภาวะเป็นอริยะ โคตรภูญาณก็เรียก
หมายความว่า ญาณครอบโคตร
คือ ล่วงภาวะเดิม
(แต่ก็ยังไม่ได้บรรลุมรรค)
ต่อแต่นี้เป็นวาระแห่งอริยมรรค
และอริยผล โดยลำดับกัน
นิพพิทา
ชื่อว่าเป็นทางแห่งวิสุทธิด้วยประการฉะนี้
อีกบรรยายหนึ่ง
อุทเทส
๓. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก
เสฏฺโฐ
เอเสว
มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส
วิสุทฺธิยา
ทางมีองค์
๘ เป็นทางประเสริฐสุดแห่งทางทั้งหลาย
ทางนั้นแล ไม่มีทางอื่นเพื่อหมดจดแห่งทัสสนะ
มัคควัคค
ธัมมบท
ทางมีองค์
๘ นั้น คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
เป็นทางประเสริฐที่สุด
และเป็นทางยอดแห่งสังขตธรรม
ทางมีองค์
๘ นี้จัดเป็นสังขตธรรม
เพราะเป็นเจตสิก ยังมีเกิดมีดับอยู่
มรรค
๘ เทียบกับวิสุทธิ ๗
มรรค
๘ นำไปถึงความหมดจดแห่งทัสสนะอย่างไร
พึงรู้ด้วยเทียบกับวิสุทธิ
๗ อย่างนี้
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สงเคราะห์เข้าเป็นสีลวิสุทธิที่
๑
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สงเคราะห์เข้าเป็นจิตตวิสุทธิที่
๒ อันได้แก่ สมาบัติ
สัมมาทิฏฐิ
และสัมมาสังกัปปะ ได้ในวิสุทธิ
๕ ในลำดับ
สัมมาสังกัปปะ
ทำกิจพิจารณา สัมมาทิฏฐิ
ทำกิจสันนิษฐานเป็นชั้น ๆ
อย่างนี้
พิจารณาเห็นสังขารโดยไตรลักษณ์
จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ
หมดจดแห่งความเห็น นับเป็นที่
๓
พิจารณาเห็นสังขารเป็นไปเนื่องด้วยเหตุดังแสดงในบาลีว่า
เหมือนอย่างว่า
พืชชนิดใดชนิดหนึ่งอันหว่านไว้แล้ว
อาศัยรสแห่งแผ่นดิน
และยางในพืชรวมกันเข้าทั้ง
๒ อย่าง ย่อมงอกขึ้นในนาฉันใด
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ๖ เหล่านี้
อาศัยเหตุเกิดขึ้น ฉันนั้น
ย่อมดับเพราะสลายแห่งเหตุนี้
จัดเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิ
หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามความสงสัย
นับเป็นที่ ๔ ได้ในพระพุทธพจน์ว่า
ในกาลนั้น
ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุและเพราะมารู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย
พิจารณาเห็นสังขารด้วยอาการอย่างนั้น
ด้วยใช้โยนิโสมนสิการกำกับ
รู้จักว่าน้อมอย่างไรถูกทางทาง
อย่างไรผิดทาง
จัดเป็นมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
หมดจดแห่งญาณทัสสนะ
ว่าทางหรือมิใช่ทาง นับเป็นที่
๕
ความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก
จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
คือ ตัววิปัสสนาญาณ ๙
พิจารณาเห็นสำเร็จเป็นอริยมรรค
จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ
หมดจดแห่งญาณทัสสนะ นับเป็นที่ครบ
๗ ที่หมายกล่าวในบาลีว่า
เอเสว
มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส
วิสุทฺธิยา
ทางนี้แล
ไม่มีทางอื่น เพื่อหมดจดแห่งทัสสนะ
ในรถวินีตสูตร
แสดงวิสุทธิ ๗ ว่า
ส่งต่อกันโดยลำดับจนถึงอนุปาทาปรินิพพาน
เหมือนการเดินทางกว่าจะถึงที่สุดด้วยรถ
๗ ผลัด
วิสุทธิ
เป็นไวพจน์แห่งวิมุตติ คือ
ใช้เรียกแทนกัน ความหมายเหมือนกัน
คือ ไม่มีกิเลส
วิสุทธิ
๖ ข้างต้นเป็นโลกิยะ วิสุทธิที่
๗ เป็นโลกุตตระ
สมเด็จ
ฯ ทรงเรียงวิสุทธิต่อจากวิมุตติ
ทรงอธิบายว่า จิตพ้นจากอาสวะแล้วย่อมผ่องแผ้ว
(บริสุทธิ์)
เหมือนผ้าฟอกแล้วย่อมหมดมลทิน
ย่อมขาวผ่อง
๕.
สันติ
ความสงบ
อุทเทส
๑.
สนฺติมคฺคเมว
พฺรูหย
สูจงพูนทางแห่งความสงบนั้นแล
มัคควัคค
ธัมมบท
๒. นตฺถิ
สนฺติปรํ สุขํ
สุขอื่นจากความสงบ
ย่อมไม่มี
สุขวัคค
ธัมมบท
๓. โลกามิสํ
ปชเห สนฺติเปกฺโข
ผู้เพ่งความสงบ
พึงละอามิสในโลกเสีย
สคาถวัคค
สํยุตฺต
สันติ
ย่อมเป็นไปในไตรทวาร
ได้ในบาลีว่า ใจของผู้นั้นสงบแล้ว
กายและวาจา ก็ย่อมเป็นอันสงบ
การทำที่เว้นจากการเบียดเบียนกัน
การพูดที่เว้นจากวิวาทและผรุสวาท
ใจนึกในทางเมตตา กรุณา
นี้คือ กาย วาจา ใจ ที่สงบ
ความสุขอื่นยิ่งไปกว่าความสงบนี้
ย่อมไม่มี
โลกามิส
คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก
ดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวอยู่
การทำใจมิให้ติดในสิ่งเหล่านั้น
(ชื่อว่า
ละ)
ย่อมเป็นปฏิปทาของท่านผู้รู้
ผู้สงบดีแล้ว ดังแสดงในชราสูตร
ว่า
หยดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัวฉันใด
วารีย่อมไม่กำซาบในดอกปทุม
ฉันใด มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในอารมณ์
อันเห็นแล้วก็ดี อันฟังแล้วก็ดี
อันทราบแล้วก็ดี ฉันนั้น
สันติเป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตร
ดุจเดียวกับวิสุทธิ (สันติ)
ที่เป็นโลกิยะได้ในคำว่า
บุคคลย่อมถึงความสงบแห่งจิต
ด้วยร้องไห้ ด้วยเศร้าโศก
ก็หาไม่
ที่เป็นโลกุตรได้ในคำว่า
ผู้เพ่งสันติ พึงละโลกามิสเสีย
สมเด็จ
ฯ ทรงเรียงสันติต่อจากวิสุทธิ
ทรงอธิบายว่า จิตวิสุทธิ์แล้วย่อมสงบ
ดุจผ้าฟอกขาวผ่องแล้วย่อมมีนวล
๖.
นิพพาน
อุทเทส
๑.
นิพฺพานํ
ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวนิพพานว่ายวดยิ่ง
พุทฺธวัคค
ธัมมบท
๒. นิพฺพานคมนํ
มคฺคํ ขิปฺปเมว วิโสธเย
พึงรีบชำระทางไปนิพพาน
มัคควัคค
ธัมมบท
๓. นิพฺพานํ
ปรมํ สุขํ
นิพพาน
เป็นสุขอย่างยวดยิ่ง
สุขวัคค
ธัมมบท
นิพพานศัพท์
แปลได้ ๒ นัย
๑. แปลว่า ดับ
๒. แปลว่า หาของเสียบแทงมิได้
นิพพานมีชื่อเรียกในลัทธิภายนอก
พึงเห็นในคำแห่งโธตกมาณพ
ทูลพระบรมศาสดาว่า ข้าแต่พระภควา
ข้าพเจ้าขอทูลถามพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงคุณใหญ่
ขอพระองค์ตรัสข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าฟังพระดำรัสแล้วพึงศึกษานิพพานของตน
นิพพานตามมติพระพุทธศาสนา
มติข้างพระพุทธศาสนา
แยกเหตุอันแต่งสังขาร
(อวิชชา)
เป็นต้นสาย
นิพพานเป็นปลายสาย ปฏิเสธอัตตา
แต่ยอมรับความเชื่อมถึงกันแห่งจุติจิตในภพหลัง
และปฏิสนธิจิตในภพหน้า
โดยอาการอย่างสืบสันตติในชีวิตเดียวกัน
กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวงแห่งจิต
อันท่องเที่ยวในสังสารวัฏ
ที่การบรรลุพระอรหัต
อันสำเร็จด้วยวิริยะกับปัญญา
ซึ่งต้องบำเพ็ญบารมีเป็นเวลาช้านาน
กล่าวถึงการดับแห่งจิตอันบริสุทธิ์
(จิตของพระอรหันต์)
นั้น
ในปัจฉิมชาติ แล้วไม่เกิดอีก
เป็นถึงที่สุดเพียงนี้
ว่าคือ นิพพาน
นิพพานเป็นอสังขตะ
โดยนัยนี้
นิพพานอันเป็นปลายสายย่อมจัดเป็นวิสังขาร
มิใช่สังขาร และเป็น อสังขตะ
อันปัจจัยมิได้แต่ง
เพราะพ้นจากความเป็นสังขาร
และอันปัจจัยมิได้แต่งให้เกิดอีก
นิพพานมี
๒ อย่าง
ในทุกนิบาต
อิติวุตตกะ ทรงแจกนิพพานไว้
๒ อย่าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน
ดับกิเลสมีอุปาทิเหลืออยู่
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน
ดับกิเลสไม่มีอุปาทิเหลือ
อุปาทิ
แปลว่า สิ่งที่กรรมและกิเลสเข้ายึดโดยความเป็นผล
ได้แก่ ขันธ์ ๕ อันเป็นผลแห่งกรรมและกิเลส
ในที่นี้หมายถึง ขันธ์ ๕
ของพระอรหันต์
สมเด็จ
ฯ ทรงแสดงพระมติว่า อุปาทิ
แปลว่า ผู้ครอง อันเป็นปัจจัยแห่งการคิด
การพูด การทำ ได้แก่
สิ่งที่เรียกโดยอภิธรรมนัยว่า
จิต จิตนี้ เป็นผู้คิด
เป็นปัจจัยแห่งกายวิญญัติ
คือ การไหวกาย และวจีวิญญัติ
คือการไหววาจา หรือเปล่งเสียง
ทรงสรุปนิพพานในสูตรนี้ว่า
ความสิ้นอาสวะแต่จริมกจิต
(
จิตสุดท้าย
)
ยังทรงอยู่
กล่าวคือ สำเร็จพระอรหัต
เป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ครั้นจริมกจิตดับแล้ว
เป็นอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
นิพพานศัพท์
๒ ความหมาย
ทรงแสดงพระมติว่า
นิพพานศัพท์หมายเอาสอุปาทิเสส
ควรแปลว่า หาของเสียบแทงมิได้
หมายเอาอนุปาทิเสส ควรแปลว่า
ดับ
พระพุทธพจน์แสดงปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน)
(คำแปล)
๑. ภิกษุยินดีในความไม่ประมาทแล้วหรือเห็นภัยในความประมาทโดยปกติ
ย่อมไม่พอเพื่อเสื่อมรอบ
ย่อมปฏิบัติใกล้นิพพานเทียว
อัปปมาทวัคค
ธัมมบท
๒. ภิกษุมีความเคารพในพระศาสดา
พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา ๓
ความไม่ประมาท และ ปฏิสันถาร
ย่อมเป็นผู้ไม่พอเพื่อเสื่อมรอบ
ย่อมปฏิบัติใกล้นิพพานเทียว
คารวสูตร
สัตตกังคุตตร
๓. ฌานและปัญญามีในผู้ใด
ผู้นั้นปฏิบัติใกล้นิพพาน
ภิกขุวัคค
ธัมมบท
๔. ธีระชนเหล่านั้น
เข้าฌาน มีความเพียร ติดต่อ
มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องนิพพานอันเกษมจากโยคะ
หาธรรมอื่นยิ่งกว่าไม่มี
อัปปมาทวัคค
ธัมมบท
๕. ภิกษุ
เธอจงวิดเรือนี้ คืออัตตภาพนี้
เรืออันเธอวิดแล้ว จักพลันถึง
เธอตัดราคะและโทสะแล้ว
แต่นั้นจักถึงนิพพาน
ภิกขุวัคค
ธัมมบท
๖. ภิกษุผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติแล้ว
สังวรในบ่อเกิดแห่งผัสสะ
๖ มีจิตตั้งมั่นติดต่อ
พึงรู้นิพพานแห่งตน
นันทวัคค
อุทาน
สรุปธรรมที่เป็นปฏิปทาแห่งนิพพาน
จากพระพุทธพจน์ทั้ง
๖ ข้อ ที่ทรงยกมา
ได้ธรรมที่เป็นปฏิปทาแห่งนิพพาน
ดังนี้
๑. ความไม่ประมาท
๒. ความเคารพ
๓. สมาธิและปัญญา
๔. ความเพียร
๕. หมั่นบรรเทากิเลสและบาปธรรม
(วิดเรือ)
๖.
เจริญกายคตาสติ
และสำรวมอินทรีย์
บาลีแสดงสอุปาทิเสสนิพพาน
(เฉพาะคำแปล)
เพราะละตัณหาเสีย
ท่านกล่าว่า นิพพาน
อุทายมาณวกปัญหา
ความดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
เพราะสิ้นตัณหาทั้งหลายด้วยประการทั้งปวง
เป็นนิพพาน
นันทวัคค
อุทาน
ธาตุอันหนึ่งแล
เป็นไปในธรรมอันแลเห็นแล้วในโลกนี้
เป็นนิพพานธาตุมีอุปาทิยังเหลือ
เพราะสิ้นธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ
(ตัณหา)
ทุกนิบาต
อิติวุตตก
ไวพจน์แห่งวิราคะมี
มทนิมฺมทโน เป็นต้น
ดังกล่าวมาในเรื่องวิราคะ
ก็หมายเอา สอุปาทิเสสนิพพาน
เช่นกัน
พระพุทธพจน์แสดงอนุปาทิเสสนิพพาน
(เฉพาะคำแปล)
เรากล่าวทวีปนั่นมิใช่อื่น
หาห่วงมิได้ หาเครื่องยึดมิได้
เป็นที่สิ้นรอบแห่งชราและมัจจุว่านิพพาน
กัปปมาณวปัญหา
ส่วนธาตุเป็นไปในธรรมอันจะพึงถึงข้างหน้า
ที่ภพทั้งปวงดับด้วยประการทั้งปวง
เป็นนิพพานธาตุหาอุปาทิเหลือมิได้
ทุกนิบาต
อิติวุตฺตก
ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้น
ย่อมเป็นความสุข
นิทานวัคค
สังยุตตุ
ภิกษุทั้งหลาย
อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ
ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญนาสัญญายตนะ ก็มิใช่
โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ทั้ง
๒ ก็มิใช่
อนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย
เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่า
เป็นการมา เป็นการไป
เป็นการยืน เป็นการจุติ
เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้
มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์
ปาฏลิคามิวัคค
อุทาน
ในสูตรนี้
เรียกนิพพานว่า อายตนะ
เพราะนิพพานเป็นธัมมายตนะ
(เป็นอารมณ์ของมนายตนะ)
กล่าวว่า
ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีในนิพพานนั้น
ส่องความว่า นิพพานมิใช่รูปขันธ์
กล่าวว่า
นิพพานไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ
เป็นต้น ส่องความว่า
นิพพานมิใช่นามขันธ์
กล่าวว่า
นิพพานมิใช่โลกนี้ มิใช่โลกอื่น
มิใช่ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ส่องความว่านิพพาน
ไม่ใช่โลกอย่างใดอย่างหนึ่ง
(จักรวาล)
กล่าวปฏิเสธการไปมา
การดำรงอยู่ การจุติ การเกิด
ส่องความว่า
นิพพานไม่มีสัมพันธ์ด้วยโลกอื่นด้วยการไปมาถึงกันธรรมดา
และด้วยการเวียนเกิด
กล่าวว่า
นิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย
มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
ส่องความว่า นิพพานมิใช่โลก
และมิใช่สัตว์โลก
รวมความแล้วนิพพานไม่ใช่อะไรสักอย่าง
ถามว่า แล้วนิพพานคืออะไร
คำตอบคือ อนฺโต ทุกฺขสฺส
นิพพานเป็นที่สุดสิ้นแห่งทุกข์
เป็นปลายสายแห่งทุกขขันธ์
ทุกขขันธ์สุดลงเพียงนี้
พระพุทธพจน์แสดงนิพพาน
๒ บรรยาย
(เฉพาะคำแปล)
ธรรมชาตินั่นสงบแล้ว
ธรรมชาตินั่นประณีตแล้ว
ธรรมชาติไรเล่าเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
เป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับ
คือ นิพพาน
นวกาทิกงฺคุตตร
อุปธิ
ในคำว่า เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
หมายถึง กิเลส ก็ได้ หมายถึง
เบญจขันธ์ก็ได้
แต่ในที่นี้หมายถึงเบญจขันธ์
เป็นไวพจน์ของสังขารในบทต้น
(คือมีความหมายเดียวกับสังขาร)
บทว่า
เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง
และบทว่า เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง
หมายเอาอนุปาทิเสสนิพพาน
ส่วน ๓ บทต่อมา คือ
เป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับ
หมายเอาสอุปาทิเสสนิพพาน
ปลูกฉันทะในนิพพาน
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงประทานข้อคิดไว้ว่า
วิสัยนักปราชญ์
มีปกติใช้สติปัญญาสอดส่องอรรถอันสุขุม
หรือทั้งเคยได้ประสบ
สามิสสุขมาด้วยตนเอง เห็นลงว่า
สามิสสุขเป็นเครื่องเกี่ยวไว้ดุจเบ็ด
เป็นเครื่องร้อยไว้ดุจสนตะพายหรือบังเหียน
ผู้ข้องในสามิสสุขนั้น
เป็นผู้อันจะพึงจูงไปได้ตามปรารถนา
ไม่เป็นโสดแก่ตน
ทั้งเป็นสุขไม่รู้จักอิ่ม
ได้แล้วยังไม่พอ ในที่สุดย่อมแปรปรวนไป
ท่านจึงทำความพอใจในสุขอันสุขุมกว่านั้น
เช่นสุขเกิดแต่การรู้สึกว่าได้ทำกิจอันควรทำ
พระศาสดาทรงหมายเอาการรู้สึกอย่างนี้
จึงได้เปล่งพระสุรสิงหนาทว่า
กิจอย่างใดอันพระศาสดาผู้เอ็นดู
แสวงหาประโยชน์เพื่อสาวกทั้งหลายจะพึงทำ
กิจอย่างนั้นอันเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทุกอย่าง
หรือว่า
ตนอยู่ด้วยความไม่มีภัย
ไม่มีเวร กับผู้อื่น ดังแสดงว่า
ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา
กรุณา เป็นจิตวิบูล
ถึงความเป็นใหญ่หาจำกัดมิได้
หาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้
แผ่ไปอยู่
หรือว่า
ไม่เป็นอยู่เปล่า
ได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่เขาทั้งหลาย
ดังแสดงว่า สัตบุรุษย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มหาชน
หรือเกิดแต่การนึกอารมณ์อย่างอื่นอีก
อันละม้ายกัน
หรือเกิดแต่ความเลื่อมใสในธรรมดังแสดงว่า
ผู้มีใจผ่องใส
ได้ปีติอาศัยธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
หรือเกิดแต่การพิจารณาธรรมดังแสดงว่า
ในกาลใด ๆ ย่อมพิจารณาความเกิด
ความดับ แห่งขันธ์ทั้งหลาย
ในกาลนั้น ๆ ย่อมได้ปีติปราโมทย์
นั้นเป็นน้ำอมฤตของผู้รู้ทั้งหลาย
การใช้สติปัญญาสอดส่องอรรถอันสุขุมดังกล่าวมา
ย่อมยังฉันทะให้เกิดในนิรามิสสุขละเอียดเป็นชั้น
ๆ ปลูกความนิยมในธรรมอันซึ้งตามกัน
ตลอดถึงนิพพานเป็นที่สุด
เหตุนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงกล่าวยกย่องนิพพานว่า
เป็นธรรมยวดยิ่ง
สรุปวิธีปลูกฉันทะในนิพพาน
ใช้สติปัญญาสอดส่องให้เห็นโทษของสามิสสุข
แล้วทำความพอใจในสุขอันละเอียดกว่านั้นด้วยการปฏิบัติ
ดังนี้
๑. ทำกิจที่ควรทำ
๒. อยู่ด้วยความไม่มีภัย
ไม่มีเวรกับผู้อื่น
๓. ไม่เป็นผู้อยู่เปล่า
ทำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวม
๔. ทำใจให้เลื่อมใสในธรรม
๕. พิจารณาให้เห็นความจริงของชีวิต
หัวใจสมถกัมมัฏฐาน
กายคตาสติ
ศัพท์นี้
แปลว่า สติไปในกาย
กัมมัฏฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่กามฉันท์
กามฉันท์มีปกติให้รักสวยรักงาม
กัมมัฏฐานนี้มีปกติให้เห็นน่าเกลียดเห็นโสโครก
กุลบุตรผู้มาบรรพชา
ย่อมได้รับสอนกัมมัฏฐานนี้ไว้ก่อนจากพระอุปัชฌาย์
เหมือนดังได้รับมอบศัสตราวุธไว้สำหรับต่อสู้กับข้าศึก
คือกามฉันท์ อันจะทำ
อันตรายแก่พรหมจรรย์
พวกภิกษุจึงเรียกกัมมัฏฐานนี้ว่ามูลกัมมัฏฐาน
แปลว่า กัมมัฏฐานเดิม
ในที่นี้จักแสดงโดยสังเขป
สาธุชนผู้จะเจริญกัมมัฏฐานนี้
พึงกำหนดตจปัญจกะ คือ
หมวดแห่งอาการ ๕ อย่าง
มีหนังเป็นที่สุด ให้จำได้ก่อน
ทั้งโดยอนุโลมคือตามลำดับ
ทั้งโดยปฏิโลม คือ ย้อนลำดับ
อาการ ๕ อย่างนั้น คือ เกสา
โลมา นขา ทนฺตา ตโจ นี้เป็นอนุโลม
ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา
นี้เป็นปฏิโลม
ท่านสอนให้จำโดยอนุโลมและปฏิโลมดังนี้
เพื่อจะให้แม่นยำ
และพึงรู้จักอาการทั้ง ๕
นั้นด้วย
๑.
เกสา
นั้น คือสิ่งที่เป็นเส้น
ๆ งอกอยู่บนศีรษะ
เบื้องหน้าเพียงหน้าผาก
เบื้องท้ายเพียงปลายคอต่อ
เบื้องขวาเพียงหมวกหูทั้ง
๒ ข้าง
๒.
โลมา
คือ สิ่งที่เป็นเส้น ๆ
เหมือนกันอีกส่วนหนึ่ง
อันมิใช่เกสา เส้นหยาบบ้างละเอียดบ้าง
งอกอยู่ตามตัวทุกแห่ง
เว้นผ่ามือฝ่าเท้า
๓.
นขา
คือ สิ่งที่เป็นเกล็ด
งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือปลายนิ้วเท้าทุก
ๆ แห่ง
๔.
ทนฺตา
สิ่งที่เป็นซี่ ๆ
งอกอยู่ในเหงือกเบื้องล่างเบื้องบน
สำหรับบดเคี้ยวอาหาร
๕.
ตโจ
ได้แก่ สิ่งที่หุ้มอยู่ทั่วสรรพางค์กาย
พึงกำหนดรู้ง่าย
ๆ ดังนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง
ครั้นรู้จักสิ่งทั้ง
๕ อย่างนี้แล้ว
พึงพิจารณาน้อมใจให้เห็นเป็นของน่าเกลียดโสโครก
โดยปกติของมันทั้งในกายตนและในกายผู้อื่น
ถ้ายังไม่เห็นโดยทันที
พึงพิจารณาขยายออกไปโดยสี
โดยสัณฐาน คือรูปร่าง
โดยกลิ่น โดยที่เกิด โดยที่อยู่
อันผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
นั้น มีสีก็ไม่งาม
มีสัณฐานก็ไม่น่ารัก
มีกลิ่นก็เหม็น
มีที่เกิดที่อยู่ล้วนแต่เป็นที่โสโครก
เพราะเป็นของปฏิกูล
เขาจึงต้องตกแต่งทำนุบำรุง
ไม่เช่นนั้น ก็จะปรากฏเป็นของปฏิกูลยิ่งนัก
เป็นของน่าสะอิดสะเอียน
ความเห็นน่าเกลียดนั้น
มิใช่ไม่ปรากฏแก่สามัญชนเมื่อไร
เป็นแต่เมื่อปรากฏแล้ว
เขาน้อมใจนึกไปเสียโดยทางอื่นปรารภแต่ของที่เขาตกแต่งไว้แล้ว
นึกเห็นเป็นงาม ความนึกเห็นเช่นนั้น
เป็นเหตุชักนำกามฉันท์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ยั่วยวนกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วให้แก่กล้า
ไม่ใช่อารมณ์ของกัมมัฏฐานนี้
ความน้อมใจแส่เห็นเป็นข้างไม่งาม
เป็นของสกปรก สุดแต่จะปรากฏได้อย่างไร
นี้เป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐานนี้
ผู้เจริญกัมมัฏฐานนี้
พึงนึกถึงอาการอันหนึ่งขึ้นก่อนโดยปกติของมัน
หรือโดยสีสัณฐาน กลิ่น
ที่เกิด ที่อยู่ และโดยอย่างอื่น
น้อมใจให้เห็นว่าน่าเกลียดแล้วเลื่อนนึกถึงอาการอื่น
ๆ ต่อไป เมื่อความชำนาญมีขึ้น
นึกเพียงชื่อไปตามลำดับและย้อนลำดับความเห็นปฏิกูลย่อมจะปรากฏ
คุมจิตได้ง่ายเข้า ในขณะใด
ความปฏิกูลปรากฏ ในขณะนั้น
จัดว่าได้ผลที่มุ่งหมายแห่งกัมมัฏฐานนี้
เพราะเหตุนั้น
พึงรักษาอารมณ์นี้ไว้อย่าให้จืดจาง
จะได้เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ
แต่สมาธิในกัมมัฏฐานนี้เป็นแต่เพียงอุปจาร
เพราะเหตุให้จิตท่องเที่ยวอยู่ไม่แน่แน่วลงแท้
กัมมัฏฐานนี้
เป็นประโยชน์แก่คนมีกามฉันท์
หรือเรียกราคจริตเป็นเจ้าเรือน
มีอานิสงส์ไม่ให้ข้องอยู่ในกายตนและกายผู้อื่น
เมตตา
ศัพท์นี้
แปลว่า คุณสมบัติเป็นเหตุสนิทสนม
กัมมัฏฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่พยาบาท
พยาบาทมีปกติให้คิดล้างผลาญ
กัมมัฏฐานนี้มีปกติให้ชอบพอ
สาธุชนผู้เจริญกัมมัฏฐานนี้
พึงนึกถึงคนอื่นเทียบกับตนว่า
เรารักสุขเกลียดทุกข์ ฉันใด
คนอื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น
สิ่งที่ชอบใจของเรา
ย่อมเป็นของที่ชอบใจของคนอื่น
สิ่งไม่เป็นที่ชอบใจของเรา
ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นด้วยเหมือนกัน
เราจะหาผลที่ชอบใจ
ในทางเสียผลเช่นนั้นของผู้อื่น
ย่อมไม่เป็นธรรม.
แต่นั้นพึงปรารถนาความอยู่ด้วยไม่มีภัยไม่มีเวรกับผู้อื่น
ถ้าคนที่ตนไม่ชอบมีอยู่ก็พึงนึกน้อมใจเพื่อให้หายเกลียดชังโดยโยนิโสมนสิการ
คือ ความทำในใจถูกทาง
พึงเลือกความดีอย่างใดอย่างหนึ่งของเขาขึ้นนึก
สุดแต่จะเลือกได้
เป็นความประพฤติทางกายก็ตาม
ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม
เช่นคนมักพูดบาดหูคนอื่น
แต่ไม่ใช่คนดุร้ายถึงลงมือด้วยกายก็มี
คนมักโกรธแต่ไม่ทำจริงก็มี
คนดุร้าย แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีน้ำใจเผื่อแผ่
อนุเคราะห์แก่ผู้อื่นก็มี
เช่นนี้เป็นตัวอย่าง
พึงนึกถึงความดีที่มีอยู่ในเขา
บางทีจะระงับความเกลียดชังให้เบาลงหรือให้หายได้
ถ้าไม่มีความดีอย่างใดอย่างหนึ่งของเขา
ที่จะพึงเอาขึ้นนึก
ก็พึงยังกรุณาคือสงสารให้เกิด
คนยากจนทรัพย์
ขาดกำลังเป็นเครื่องทำนุบำรุงชีวิตและร่างกายให้เป็นสุข
และไม่ได้ช่องที่จะอนุเคราะห์คนอื่นด้วยกำลังทรัพย์
ควรได้รับกรุณาของคนมีทรัพย์ฉันใด
คนไร้คุณสมบัติขาดกำลังเป็นเครื่องบำรุงใจให้เป็นสุข
ไม่ได้ช่องที่จะชักจูงคนอื่นในความดี
ซ้ำกลับเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ให้ได้รับทุกข์ภัยต่าง
ๆ ควรได้รับความกรุณาของผู้ประพฤติธรรมมีสติสัมปชัญญะฉันนั้น
อันจะเกลียดชังคนเช่นนั้น
เท่ากับคนดีทะเลาะกับคนเมา
เมื่อนึกอย่างนี้บางทีก็จะยังกรุณาให้เกิดขึ้นได้
ถ้าน้อมใจไม่ลง
ก็พึงนึกถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ
ๆ ตน ผู้ใดทำดีหรือชั่ว
ผู้นั้นจงปรากฏด้วยกรรมของตนเอง
พึงวางจิตลงเป็นอุเบกขา
แม้อย่างนั้นก็ไม่สำเร็จ
อย่านึกปรารภถึงผู้นั้นเสียเลย
ถ้าเขาเกลียดชังตนต่างหาก
ก็พึงหาช่องแสดงกายวาจาใจ
หรืออนุเคราะห์เพื่อผูกไมตรี
เมื่อเป็นเช่นนี้
ก็จะได้อยู่โดยไม่มีภัยไม่มีเวรกับผู้อื่น
แต่นั้น
พึงน้อมจิตให้คิดชอบกับคนซึ่งเฉยอยู่แต่เดิมด้วยถ้อยทีถ้อยอาศัยทำสาราณียธรรมแก่กัน
พึงทำคนผู้ชอบกันห่าง ๆ
ให้สนิทสนม
พึงทำคนผู้ชอบกันสนิทสนมแล้วให้มั่นเข้า
ความปรารถนาแห่งจิต
เพื่อชอบพอสนิทสนมกับคนอื่นดังนี้
ชื่อว่าเมตตา
โดยความก็คือปรารถนาสุขแก่เขา
ความนึกแผ่เมตตานี้
จัดว่าเป็นกัมมัฏฐานอันหนึ่ง
สาธุชนผู้เจริญเมตตา
พึงแผ่โดยเจาะจงก่อนตั้งต้นแต่คนที่รักใคร่สนิท
เช่นมารดา บิดา สามี ภรรยา
บุตร บุตรี และท่านผู้มีอุปการะ
อุปัชฌายะ อาจารย์ เจ้านายเป็นต้นไป
ตลอดถึงญาติมิตร คนรู้จักคุ้นเคย
และคนอื่น ๆ ที่ควรจะได้รับความปรารถนาอันดีต่อ
เมื่อทำใจให้ชำนาญในการแผ่โดยเจาะจงนั้นแล้ว
พึงแผ่โดยไม่เจาะจง
เช่นไม่นิยมเฉพาะบุคคลชื่อนั้น
ชื่อนี้ ที่ตนรู้จัก
พึงปลูกความรักใคร่ในคนร่วมบ้านร่วมวัดร่วมเมืองร่วมประเทศร่วมชาติเป็นลำดับไป
ตลอดถึงเพื่อนมนุษย์ทั่วไป
ลงมาจนถึงสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่สุด
ตามแต่จะทำได้เพียงไร
แผ่เมตตาโดยเจาะจงเป็นไปโดยแรงกล้า
เป็นเหตุให้ช่วยเหลือกันแข็งแรง
แต่เป็นไปในทางที่แคบ
ทั้งเขตแห่งความไม่มีภัยไม่มีเวร
ทั้งเขตแห่งความสำเร็จประโยชน์แก่ผู้อื่น
แผ่เมตตาโดยไม่เจาะจง
เป็นไปโดยเพลาแต่เป็นไปในทางที่กว้าง
เช่นคนร่วมบ้านร่วมวัดตลอดถึงร่วมชาติ
รักใคร่ปรองดองช่วยเหลือกัน
แม้ไม่แข็งแรงเหมือนทำให้แก่ครอบครัวย่อมมีผลกว้างกว่า
พาคนหมู่นั้นให้ได้สุขทั่วถึงกัน
เหตุนั้น ในพระพุทธศาสนาจึงนิยมแผ่เมตตา
โดยไม่เจาะจงว่าเป็นเมตตาอย่างสูงอย่างกว้าง
ในการเจริญกัมมัฏฐาน
ท่านผูกบทไว้ให้นึกว่าดังนี้
“สพฺเพ สตฺตา อเวรา
อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี
อตฺตานํ ปริหรนฺตุ”
แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์
มีสุขรักษาตนเถิด ในชั้นต้น
น้อมใจให้ปรารถนาความสุขแก่ผู้อื่นมาได้แล้ว
นึกถึงบทสำหรับบริกรรมนี้
จะคุมจิตให้มีเมตตาขึ้นได้ในขณะนึก
ในขณะใด เมตตาเป็นไปอยู่
ในขณะนั้น จัดว่าได้ผลที่มุ่งหมายแห่งกัมมัฏฐานนี้
จิตสัมปยุตด้วยเมตตาตั้งมั่นแน่วแน่ลงไป
จัดเป็นอุปจารสมาธิ
สามารถทำให้เกิดอัปปนาสมาธิได้
กัมมัฏฐานนี้เป็นประโยชน์แก่คนมีพยาบาทเป็นเจ้าเรือน
หรือเรียกว่าโทสจริตตลอดคนเหล่าอื่นทั่วไป
มีอานิสงส์ให้อยู่ด้วยความไม่มีภัยไม่มีเวร
รักใคร่ปรองดองช่วยเหลือกัน.
เหตุนั้น
จึงควรเจริญตามกาล
ถึงคราวควรแผ่เมตตาโดยเจาะจง
ก็พึงเจริญโดยเจาะจง
ถึงคราวแผ่โดยไม่เจาะจง
ก็พึงเจริญโดยไม่เจาะจง
พุทธานุสสติ
ศัพท์นี้
แปลว่า ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
อธิบายว่า ระลึกถึงปรารภความดีของพระองค์
ไม่ได้ระลึกถึงโดยอาการยกโทษหรือข้อนขอด
กัมมัฏฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่ถีนมิทธนิวรณ์
ถีนมิทธะมีปกติให้ท้อแท้และง่วงงุน
กัมมัฏฐานนี้
มีปกติให้อุตสาหะปรารภพระคุณของพระพุทธเจ้า
และให้จิตนึกแล่นอยู่
สาธุชนผู้จะเจริญกัมมัฏฐานนี้
ควรอ่านหนังสือแสดงพระพุทธจรรยา
เป็นต้นว่า เรื่อง ปฐมสมโพธิ
และใคร่ครวญถึงพระพุทธจรรยาซึ่งทรงบำเพ็ญเป็นอย่าง
ๆ ไป อันส่อพระคุณสมบัติในพระองค์
และทรงพระมหากรุณาอุปการะแก่ประชาชน
ก็จะหยั่งเห็นพระคุณทั้ง
๒ ส่วนนี้โดยวิสัย
ในที่นี้จะแสดงเฉพาะพระคุณบทที่ท่านผูกไว้สำหรับนึกสำหรับสาธยายเรียกว่า
อนุสสรณนัย คือ "อิติปิ
โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต
โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ
ภควาติ”
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ทรงรู้แจ้งโลก คือ ปฐพี
พร้อมด้วยสัตว์ผู้อาศัย
และสังขารอันปรุงแต่งแผ่นดินและสัตว์เหล่านั้น
ว่ามีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา
จึงเจริญในกาลบางครั้ง
เสื่อมในกาลบางคราว
สุดแต่เหตุปัจจัย อนึ่ง
ในโลกนี้ ย่อมมีสิ่งต่าง
ๆ อันจะล่อจิตให้รักให้ชังให้หลงให้กลัว
คนไม่รู้เท่า
ย่อมจะวุ่นไปตามด้วยความทะเยอทะยานบ้าง
ด้วยความตกใจกลัวบ้าง
แล้วและเฉไปประพฤติจากทางอันชอบอันถูก
นี้เป็นเหตุแห่งความเสื่อมของโลกได้อย่างหนึ่ง
ความมีกำลังสามารถต้านทานแต่มาร
๒ ประเภทนั้น
เป็นปัจจัยแห่งความเจริญของโลกได้อย่างหนึ่ง
พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกโดยนัยนี้เป็นอาทิ
บัณฑิตจึงได้ถวายพระนามตามพระคุณว่า
“โลกวิทู”
แปลว่าท่านผู้รู้แจ้งโลก
เมื่อพระองค์ทรงรู้แจ้งโลกอย่างนั้นแล้ว
จึงไม่รักไม่หลงไม่มัวเมาในอารมณ์อันยวนจิต
ไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
เพราะอารมณ์อันคุกคามให้ตกใจกลัว
ทรงมั่นอยู่ในปฏิปทาอันชอบ
ยังความเป็นไปของพระองค์ให้ลุล่วงมาโดยสวัสดี
ตลอดพระชนมายุกาล
บัณฑิตจึงได้ขนานพระนามถวายว่า
“สุคโต” แปลว่าท่านผู้ไปดีแล้ว
หรือท่านผู้ดำเนินดีแล้ว.
ปฏิปทาของท่านผู้ดำเนินดีแล้ว
เรียกว่า จรณะ
เพราะเป็นเครื่องก้าวไปหาวิชชา
คือ ความรู้พิเศษ
พระองค์ทรงมั่นในปฏิปทานั้นอยู่
จึงได้บรรลุวิชชาความรู้อย่างสูง
อันทำจิตให้พ้นจากหมู่มาร
คือ กิเลสอันคอยนำสัตว์โลกลงในที่ต่ำ
จึงได้พระนามโดยพระคุณธรรมว่า
“วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน”
แปลว่าท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาคือความรู้
และจรณะคือปฏิปทา
วิชชานั้นเป็นความรู้อันชอบ
เป็นประโยชน์แก่พระองค์แก่ผู้อื่นทั้ง
๒ ฝ่าย พระองค์เสาะหาได้เอง
ไม่ได้มาแต่สำนักผู้อื่น
พระปัญญาอย่างสูงนี้ยังพระองค์ให้ได้รับพระนามว่า
“สมฺมาสมฺพุทฺโธ”
แปลว่าท่านผู้รู้ชอบเอง
พระปัญญานั้นย่อมยังผลอย่างสูงสุดให้สำเร็จแก่พระองค์
คือ ทรงบริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง
ควรแก่ความนับถือของประชาชนทุกหมู่เหล่า
บัณฑิตจึงถือเอาพระคุณนี้เป็นที่ตั้งถวายพระนามว่า
“อรหํ” แปลว่าท่านผู้ไกลกิเลสบ้าง
ท่านผู้ควรได้รับความนับถือบ้าง
คุณบทว่า “อรหํ”
นี้เป็นนามเรียกได้ทั้งพระศาสดาทั้งพระสาวก
แต่มีบทอื่นต่อท้ายให้แปลกกัน
พระนามพระศาสดาว่า “อรหํ
สมฺมาสมฺพุทฺโธ”
แปลไว้แล้วข้างต้น นามสาวกว่า
“อรหํ ขีณาสโว”
แปลว่า พระอรหันต์สิ้นอาสวะ
พระคุณเหล่านี้จัดเป็นอัตตสมบัติ
คือ ความดีส่วนพระองค์
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระคุณที่เป็นอัตตสมบัติเช่นนั้นแล้ว
จัดว่ามีภัคยะ คือ
สมบัติอันชักจูงคนอื่นเข้ามาคบหา
ผู้ใดเข้ามาคบพระองค์ย่อมทรงสั่งสอนผู้นั้น
แจกอรรถแจกธรรมให้เข้าใจชัด
บัณฑิตหมายเอาพระคุณสมบัตินี้
ขนานพระนามไว้ว่า “ภควา”
แปลว่า ท่านผู้มีภัคยะหรือว่าท่านผู้มีภาค
พระองค์ทรงแจกธรรมสั่งสอนประชาชน
ให้ได้บรรลุผลอันดีงามทั้งส่วนโลกิยะทั้งส่วนโลกุตร
ยังคนผู้ไม่เคยเข้าใจให้เข้าใจ
ยังคนผู้เคยเข้าใจมาบ้างแล้ว
ให้เข้าใจกว้างขวาง
นำความหลงอันเป็นเหตุตื่นเต้นและหวาดหวั่นเสีย
จึงได้พระนามว่า “พุทฺโธ”
แปลว่า ท่านผู้ปลุกให้ตื่น
หรือว่าท่านผู้ปลุกใจ
พระองค์ทรงสั่งสอนอย่างนี้
แก่พุทธเวไนยทุกชั้น
ตามสมควรแก่ภูมิของเขา
ยกขึ้นในปฏิปทาที่สูงกว่าโดยลำดับ
จึงได้รับพระนามว่า “สตฺถา
เทวมนุสฺสานํ” แปลว่า
ท่านผู้เป็นครูสอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
คือ ของคนทั้งเจ้าทั้งสามัญ
พระองค์ทรงสั่งสอนคนเป็นอันมากเช่นนั้น
ย่อมทรงรู้จักฉันทอัธยาศัย
เข้าพระหฤทัยในอุบาย
ชักจูงน้อมตัดเข้าหาทางดีทางงาม
ไม่ต้องใช้บังคับขู่เข็ญ
เป็นแต่เพียงใช้พระวาจาก็สำเร็จ
ถ้าจะเทียบด้วยนายสารถีผู้ฝึกม้า
ก็จัดว่าเป็นเอกอุไม่มีคนสู้
บัณฑิตจึงได้ถวายพระนามว่า
“อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ”
แปลว่า
ท่านผู้เป็นสารถีฝึกบุรุษควรทรมานได้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
พระคุณนี้จัดเป็นปรหิตปฏิบัติคือ
ประพฤติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
พระคุณทั้งสองส่วนนี้
มีในพระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้สำเร็จพระนาม ๙ ประการ
เรียกว่า นวรหคุณ แปลว่า
คุณของพระอรหันต์ ๙ ประการ
แต่เรียกกลับกันมาเป็นนวหรคุณ
บัณฑิตผูกเป็นบทตั้งไว้สำหรับระลึกตาม
ในเวลาเจริญพุทธานุสสติ
ท่านเรียงบทที่เป็นผลไว้ข้างหน้า
เรียงบทที่เป็นเหตุไว้ข้างหลัง
เพื่อจะให้เข้าใจง่าย
ในที่นี้
จึงได้อธิบายความแห่งบทอันเป็นเหตุถอยหลังเข้ามา
สาธุชนผู้เจริญพุทธานุสสติ
ได้อ่านหนังสือแสดงพระพุทธจรรยามามากแล้ว
พบแต่บทแสดงความไว้สั้น ๆ
ก็จะพึงเข้าใจได้โดยกว้างขวาง
ฝ่ายชนผู้ไม่ได้อ่านหนังสือเช่นนั้นมาก
คงจะเห็นความแต่เฉพาะบทเช่นเดียวกับได้เห็นด้วยตาเอง
หรือเห็นแต่รูปถ่าย
ความกว้างแคบย่อมผิดกัน
เมื่อจะเจริญพึงยังศรัทธาเลื่อมใสและเคารพให้เกิดในพระพุทธเจ้าแล้ว
พึงบริกรรมนึกบทพระคุณนามเหล่านี้แต่เพียงลำพังหรือพร้อมทั้งอธิบาย
เลื่อนไปโดยลำดับ
หรือเลื่อมใสมากในพระคุณบทใดจะจับเฉพาะพระคุณบทนั้นขึ้นนึกก็ได้
เช่น เคยบริกรรมกันมาว่า
“อรหํ ๆ” หรือ “พุทฺโธ
ๆ” ดังนี้
แต่พึงรู้จักว่ากัมมัฏฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่มิทธะ
คือ ความง่วงงุน ต้องการนึกยาว
ๆ ในสมัยใดมิทธะครองงำ
ควรนึกไปโดยลำดับแม้พร้อมด้วยอธิบาย
ในสมัยใดจิตปลอดโปร่ง
จะนึกแต่บทที่ขึ้นใจก็ได้
หรือในเวลาไข้หนัก ความนึกสั้น
จำต้องนึกเฉพาะบทแท้ ในสมัยใด
พระคุณของพระพุทธเจ้าปรากฏแก่จิต
เกิดอุตสาหะจะประพฤติตาม
และห้ามมิทธะเสียได้
ในสมัยนั้น
เป็นอันสำเร็จผลมุ่งหมายแห่งกัมมัฏฐานนี้
เพราะต้องใช้ความนึกเป็นเบื้องหน้า
กัมมัฏฐานนี้เจริญได้ดี
ก็เป็นเพียงอุปจารสมาธิ
กัมมัฏฐานนี้เป็นสบายแก่ชนมีถีนมิทธะเป็นเจ้าเรือน
และแก่คนเป็นสัทธาจริต
มีอานิสงส์ให้ตั้งใจไม่ย่อท้อต่อเหตุขัดข้อง
เพื่อประพฤติความดีความงาม
กสิณ
ศัพท์นี้
แปลว่า วัตถุอันจูงใจ คือ
จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่
เป็นชื่อของกัมมัฏฐาน
แปลว่ามีวัตถุที่ชื่อว่ากสิณเป็นอารมณ์
กัมมัฏฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์
อุทธัจจะมีปกติให้คิดพล่าน
กุกกุจจะมีปกติให้จับจด
ส่วนกัมมัฏฐานนี้ มีปกติคุมใจให้มั่น
วัตถุที่เป็นกสิณนั้น
ต้องเป็นของไม่บาดตา
เป็นของทำให้ใจของผู้แลแช่มชื่น
ท่านจัดไว้ ๑๐ ประการ คือ
ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่เป็นอยู่โดยปกติ
หรือบางอย่างจัดขึ้นไว้สำหรับ
เรียกว่าภูตกสิณ นับเป็น
๔,
สีขาว
เหลือง แดง ขาบ ที่จัดขึ้นไว้สำหรับเรียก
วรรณกสิณ นับเป็น ๔,
แสงอากาศ
แสงไฟที่เข้าตามช่อง เรียก
อากาสกสิณ และอาโลกกสิณ
โดยลำดับ ในที่นี้ จะแสดงโอทาตกสิณ
คือสีขาวพอเป็นตัวอย่าง
สาธุชนผู้เจริญกสิณชนิดนี้
พึงขดไม้ให้เป็นวงกลม
กว้างโดยศูนย์กลางสัก ๑๖
นิ้ว หรือราวนั้น พอตาจับได้ถนัด
อย่าให้เล็กเกินไปจนนัยน์ตาจับเอาอื่นด้วย
หรือใหญ่เกินไปจนนัยน์ตาจับไม่ทั่ววง
เอาผ้าขาวอันบริสุทธิ์หุ้ม
หรือเอาดอกไม้ขาวจัดในภาชนะอันกว้างโดยศูนย์กลางได้ราวเท่านั้นก็ได้
แล้วเอาวางห่างจากที่นั่งสัก
๒ ศอกคืบ หรือราวนั้น
พอเพ่งดูถนัด อย่าให้ชิดเกินไป
หรือห่างเกินไป จนนัยน์ตาจับไม่ถนัด
แล้วพึงนั่งเพ่งดู โดยอาการตามถนัด
ตากำหนดจำกสิณนั้น
ใจนึกถึงสีว่า “โอทาตํ
ๆ” แปลว่า “ขาว ๆ”
คุมนัยน์ตาอันแลเห็น
กับใจอันนึกให้อยู่ที่กสิณพร้อมกัน
กิริยาที่ทำเรียกว่า บริกรรม
ดวงกสิณเรียกว่าบริกรรมนิมิต
กิริยาที่นึกว่า “โอทาตํ
ๆ” เรียกว่า บริกรรมภาวนา
บริกรรมนี้เป็นชั้นที่ ๑
ครั้นทำในชั้นนี้ชำนาญแล้ว
พึงตั้งใจจำกสิณนั้นให้ติดตา
ลองหลับตาดูในระหว่าง ๆ
ถ้ายังไม่ติดตาต้องลืมดูใหม่
ในสมัยใดจำได้ติดตา หลับตาลง
ดวงกสิณปรากฏในใจ เหมือนแลเห็น
ในสมัยนั้น นิมิตที่ปรากฏในใจนั้น
เรียก อุคคหนิมิต
แปลว่านิมิตที่จิตจำได้
หรือเรียกว่า นิมิตติดตา
กิริยาที่นึกนั้นเรียก
บริกรรมสมาธิ แปลว่าสมาธิในบริกรรม
นิมิตอันติดตา ที่กล่าวว่าปรากฏในใจนั้น
เช่น กับคนขลาดได้พบสิ่งที่น่ากลัวอันให้ตกใจ
หรือคนที่ผูกพันอยู่ในสิ่งหนึ่งหลับตาลง
ย่อมแล
เห็นสิ่งนั้นติดตา
แต่ท่านไม่จัดว่าเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐาน
เพราะเป็นเหตุตกใจหรือเป็นเหตุติดข้อง
บริกรรมสมาธินี้เป็นชั้นที่
๒ ครั้นทำในชั้นนี้ช่ำชองแล้ว
พึงลองหลับตานึกถึงนิมิตนั้นขยายให้ใหญ่บ้างเล็กน้อย
แต่อย่าให้เสียส่วนตามสัณฐาน
ตัวอย่างเช่น รูปถ่ายมีขนาดต่างกัน
แต่ส่วนแห่งอวัยวะนั้น ๆ
ของรูปทั้งปวงทุกชนิดคงสมกันกับกาย
เหมือนคนผู้เป็นเจ้าของรูปนั้น
ในสมัยใด
จิตจำนิมิตนั้นได้จนขยายออกหรือย่นเข้าได้ในสมัยนั้น
นิมิตนั้นเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต
แปลว่านิมิตเทียบเคียง
ภาวนานั้นเรียกว่า อุปจารภาวนา
แปลว่าภาวนาใกล้อัปปนาสมาธิ
อุปจารสมาธินี้เป็นชั้นที่
๓ ผู้ทำได้แม่นยำจนถึงชั้นนี้แล้ว
บำเพ็ญภาวนาต่อไปจนเข้าองค์กำหนดชั้นต้น
จัดได้ว่าบรรลุปฐมฌาน
เป็นสมาธิชั้นสูง เรียกอัปปนาสมาธิ
แปลว่าสมาธิแน่นแฟ้น
อัปปนาสมาธินี้ เป็นชั้นที่
๔ นี้อธิบายตามมติของพระคันถรจนาจารย์
ฝ่ายข้าพเจ้าเองปรารถนาจะเข้าใจว่าชั้นที่
๒ เป็นอุปจารภาวนา หรืออุปจารสมาธิ
ชั้นที่ ๓ เป็นอัปปนาภาวนา
หรือเป็นอัปปนาสมาธิ
เพราะละนีวรณ์ ๕ ได้ในชั้นที่
๓ แล้วก็เป็นอัปปนาอยู่เอง
เพราะในปฐมฌาน
ก็ยังมีวิตกวิจารอยู่เหมือนกัน
กัมมัฏฐานนี้ท่านพรรณนา
ว่า บรรลุได้ถึงชั้นอัปปนา
เพราะคุมจิตให้แน่วแน่อยู่ที่เดียว
ผู้ศึกษาในกัมมัฏฐาน
ไม่ควรมุ่งเฉพาะคุณที่สูงอย่างเดียว
ควรมุ่งเฉพาะคุณที่เป็นวิสัยของตน
พึงเจริญกัมมัฏฐานอันเป็นสบายแก่ตน
เช่นคนสามัญปรารถนาฐานันดรเป็นมหาอำมาตย์จะได้สมหวังทั้งนั้นเทียวหรือ
ถ้าไม่ได้ พยายามนั้นก็ไม่มีผล
ควรพยายามในทางอื่นยังจะดีกว่า
เพราะเหตุนั้น คนมุ่งจะเป็นมหาอำมาตย์
ต้องรู้จักกำลังของตน
ทั้งแลเห็นช่องทางก่อน
อุปมานี้ฉันใด
ผู้เจริญกัมมัฏฐานก็พึงประพฤติฉันนั้น
ไม่ควรจะเลยคุณเบื้องต่ำ
ซึ่งตนควรจะถือเอาได้ก่อน
แม้แต่เพียงในชั้นบริกรรม
ในสมัยใด คุมจิตไว้ที่กสิณแห่งเดียวได้
ไม่คิดพล่านในทางอื่น
ได้ให้ความแช่มชื่นไม่อึดอัดเบื่อหน่ายในสมัยนั้น
จัดว่าเป็นอันสำเร็จผลมุ่งหมายแห่งกัมมัฏฐานนี้
กัมมัฏฐานนี้
เป็นที่สบายแก่คนมีอุทธัจจกุกกุจจะหรือเป็นวิตกจริตเป็นเจ้าเรือน
มีอานิสงส์ให้พินิจอดทน
ในการงานที่ปรารภ
จตุธาตุววัตถานะ
ศัพท์นี้
แปลว่า กำหนดธาตุ ๔ กัมมัฏฐานนี้
เป็นคู่ปรับแก่วิจิกิจฉา
วิจิกิจฉามีปกติให้ลังเลไม่แน่ใจลงได้
ส่วนกัมมัฏฐานนี้มีปกติให้กำหนดรู้โดยสภาวะ
คนผู้ไม่กำหนดรู้โดยสภาวะ
ไม่รู้จักสิ่งนั้น ๆ
โดยความเป็นจริงอย่างไร
จึงมีสงสัย เมื่อเข้าใจตามจริงแล้ว
ก็สิ้นสงสัยไปได้อย่างหนึ่ง
ๆ พระอาจารย์เจ้าแสดงกัมมัฏฐานนี้ไว้
ก็เพื่อจะให้เข้าใจความเป็นจริงของร่างกาย
เป็นอุบายกำหนดรู้สภาวธรรมอย่างหนึ่ง
เป็นเหตุออกไปกำหนดสภาวธรรมอย่างอื่นได้อีก
สาธุชนผู้จะเจริญกัมมัฏฐานนี้
พึงกำหนดรู้จักธาตุและสังขารก่อน
สภาวะที่มีอยู่โดยธรรมดาอันจะแยกออกไปอีกไม่ได้
เรียกว่าธาตุ ธาตุเหล่านั้น
คุมกันเข้าเองโดยธรรมดา
หรือมนุษย์ปรุงขึ้นเรียกว่าสังขาร
แสดงอุทาหรณ์พอเป็นตัวอย่าง
เช่นกระดูก เนื้อ เลือด
ความอุ่นและลมอากาศ
ถ้าไม่ประสงค์จะกล่าวให้ละเอียดต่อไป
เป็นธาตุละอย่าง ๆ
ร่างกายคือประชุมธาตุเหล่านี้
เป็นสังขาร ฝ้ายและสีเป็นสัมภาระอันหนึ่ง
ๆ ดุจเดียวกับธาตุ
ผ้าที่คนเอาฝ้ายมาปั่นให้เป็นด้ายย้อมด้วยสีแล้วทอขึ้นนั้น
เป็นสังขาร
ธาตุหรือสัมภาระที่แสดงมาเป็นอุทาหรณ์นั้น
ยังเรี่ยราดกระจัดกระจายกำหนดรู้ยาก
นักปราชญ์จึงได้ย่นให้สั้นเข้า
เพื่อกำหนดรู้ง่าย
ครั้งโบราณท่านจัดธาตุที่เป็นส่วนรูป
๔ กระดูกก็ดี เนื้อก็ดี
ฝ้ายก็ดี สีก็ดี
ดังกล่าวไว้ในอุทาหรณ์ข้างต้นนั้น
ท่านรวมเรียกเป็นธาตุอันเดียวว่าปฐวีหรือดิน
ด้วยเหตุว่าธาตุเหล่านั้น
แม้จะปรากฏว่าต่างกันโดยชนิด
ก็ยังจัดว่าเป็นอันเดียวกันเข้าได้โดยลักษณะ
คือ ความเป็นของแข็ง ส่วนเลือด
เหงื่อ มัน ท่านจัดเป็นธาตุอันเดียวกันกับน้ำ
เรียกอาโป เพราะเป็นของเหลวเหมือนกัน
ไออุ่นแห่งร่างกาย
ความร้อนที่เกิดแต่ของเสียดสีกัน
เกิดแต่ไฟฟ้า เกิดแต่แสงแดดแห่งดวงอาทิตย์
ท่านจัดเป็นธาตุอันเดียวกันกับไฟ
เรียกว่าเตโช
เพราะมีความร้อนเป็นลักษณะเหมือนกัน
ลมอันพัดมาแต่ทิศนั้น ๆ
ตามฤดู พายุใหญ่อันตั้งขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว
และลมอันเดินอยู่ในร่างกายของสัตว์
ท่านจัดรวมเข้าเป็นธาตุอันเดียวกัน
เรียกว่าวาโย
เพราะมีความพัดเป็นลักษณะเหมือนกัน
ครั้งโบราณนักปราชญ์จัดธาตุอันเป็นส่วนรูปเป็น
๔ อย่างนี้ ดังมาในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หมวดธาตุในมหาสติปัฏฐานสูตร
ต่อนั้นมา
รู้จักธาตุขึ้นอีกอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่าอากาศ
ธาตุนี้กำหนดรู้ได้ยาก
เพราะเป็นของสุขุม
ไม่เห็นได้ด้วยจักษุ
อาจจะรู้ได้ด้วยสัมผัส
แต่ก็ยังรู้ได้ยากเหมือนกัน
ในที่ว่างเป็นช่อง
ไม่ว่าเล็กไม่ว่าใหญ่
อากาศย่อมเดินเข้าขังอยู่เต็มทั้งนั้น
แต่เพราะเป็นธาตุเบาและขยายตัว
คนเดินไม่รู้สึกปะทะ
ซ้ำเป็นอุปการะแก่ชีวิตของสัตว์ด้วย
ทั้งมนุษย์ทั้งสัตว์ดิรัจฉานหายใจสูดอากาศเข้าไปปรุงโลหิตสำเร็จเป็นไออุ่น
ถ้าใครจะรู้จักธาตุนี้
พึงเอากระบอกกรองน้ำ
ลองกรองน้ำดูในห้องไว้น้ำที่สงัดลมในคราวแรกเอานิ้วมืออุดท่อข้างบนกระบอกเสีย
จุ่มปากกระบอกลงไปในน้ำ
คงจะรู้สึกว่าน้ำเข้าไปหน่อยหนึ่ง
แล้วมีอะไรปะทะอยู่ นั่นคือ
อากาศนี้เองอันเข้าขังอยู่ในกระบอก
น้ำเข้าไปได้หน่อยหนึ่งนั้นเพราะอากาศต้องปะทะน้ำ
อัดตัวเข้า น้ำเข้าไปอีกไม่ได้นั้น
เพราะอากาศอัดตัวเต็มที่แล้วปะทะอยู่
คราวนี้เปิดนิ้วมือจากท่อข้างบนแต่วางไว้ตรงปากท่อ
จุ่มกระบอกลงไปอีก
คงรู้สึกว่าน้ำเข้าไปได้อีก
ในขณะเดียวกันนิ้วมือได้รับสัมผัสเย็นฉิว
ๆ ขึ้นมาจากท่อ
ธาตุที่ขึ้นมาถูกนิ้วมือนี้คืออากาศ
อีกอย่างหนึ่ง
ขณะที่ไปในยานที่แล่นโดยเร็วได้สัมผัสลมเป็นอันมาก
แต่ข้างทาง ต้นไม้นิ่งอยู่
ไม่ไหว ลมที่กระทบวู่ ๆ
นั้น อากาศนี้เอง
ยานเดินโดยเร็วปะทะอากาศโดยแรงจนรู้สึกสัมผัส
หากจะเดินด้วยเท้าก็ไม่รู้สึก
ท่านพบอากาศธาตุเข้าแล้วจึงได้เติมขึ้นอีกอย่างเป็นธาตุ
๕ ดังแสดงไว้ในจุลลราหุโลวาทสูตร
แต่นักปราชญ์ในชั้นหลังกล่าวว่า
วาโยกับอากาศเป็นธาตุเดียวกัน
วาโยก็คืออากาศที่เดินกำลังแรงนั้นเอง
ข้อนี้เป็นความจริงอุดหนุนการจัดธาตุ
๔ ของเดิม ให้มั่นเข้า
ในที่นี้จักกล่าวเป็นธาตุ
๔ พอสมแก่ชื่อของกัมมัฏฐานบทนี้
ธาตุ
๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย
นี้ มีทั้งภายนอกภายใน
ธาตุภายนอก เช่น ภูเขา
แม่น้ำ กองไฟ ลมพัด โดยลำดับกัน
ธาตุเป็นภายในนั้น คือ
ที่คุมเข้าเป็นร่างกายของสัตว์
ส่วนที่แข้นที่แข็งมี ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เป็นต้น เป็นปฐวีธาตุ
ส่วนที่เหลวไม่แข้นเหมือนปฐวี
เอิบอาบอยู่ในปฐวี
รักษาปฐวีให้สดอยู่ เช่น
โลหิต มันข้น มันเปลว
และเหงื่อเป็นต้น เป็นอาโปธาตุ
ส่วนที่ร้อนอบอุ่นรักษาปฐวีไม่ให้เน่า
คือไออุ่นเกิดแต่หายใจสูดอากาศเข้าไปปรุงโลหิตที่เป็นไปโดยปกติ
หรือที่แรงจัดขึ้นในเวลาเป็นไข้
ความร้อนที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายบดฝน
และแรงในอาโปธาตุสำหรับละลายอาหาร
เป็นเตโชธาตุ
ส่วนที่พัดไปมาเป็นเครื่องค้ำจุนปฐวี
มีลมพัดขึ้นพัดลง
และอากาศอันขังอยู่ในช่องว่างแห่งร่างกายแรงขับโลหิตให้เดินและแรงสูบอากาศเข้าไปและขับออก
(คือหายใจ)
เป็นวาโยธาตุ
ธาตุทั้ง ๔ นี้คุมกันเป็นร่างกายฉันใด
ในส่วนอันหนึ่ง ๆ
แห่งร่างกายก็มีธาตุเหล่านี้เจือกันอยู่ฉันนั้น
เช่น น้ำย่อมมีอยู่ในเนื้อ
น้ำมันมีอยู่ในกระดูก
แต่เพราะเป็นของมีอยู่น้อยไม่ถึงซึ่งอันนับ
จึงเรียกแต่ธาตุที่มีมาก
มีคำถามสอดเข้ามาว่า
อย่างไรร่างกายนี้จึงเดินได้พูดได้
ทำอะไรได้ต่าง ๆ
แปลกจากรูปตุ๊กตาที่เขาปั้นไว้
มีคำแก้ว่า จะอธิบายละเอียดก็จะยืดยาว
ขอกล่าวแต่เพียงว่า
เกิดเพราะความพร้อมมูลปรองดองกัน
ตุ๊กตากลยังรู้จักเดินได้
หีบเสียงยังรู้จักพูดได้
เครื่องจักรยังเลื่อยไม้หรือสีข้าวได้
เป็นอะไรสังขารมีวิญญาณครองจะทำไม่ได้
ความพร้อมมูลปรองดองแห่งธาตุทั้ง
๔ นั้น เกิดกำลังหรืออำนาจอันสำคัญขึ้นอย่างหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่า มโน และแปลว่าใจ
มโนนี้มีสายอยู่ ๕ สาย
เรียกว่าวิถี
ที่ปากหรือที่ปลายแห่งสายเหล่านี้เรียกว่าทวาร
คือ นัยน์ตาเรียกว่าจักขุ
๑ หู เรียกว่าโสตะ ๑ จมูก
เรียกว่าฆานะ ๑ ลิ้นเรียกชิวหา
๑ กาย ๑ จักษุเห็นรูป
โสตะฟังเสียง ฆานะสูบกลิ่น
ชิวหาลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว
มโนได้รับความรู้สึกทางวิถีทั้ง
๕ นี้ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ
อันเป็นเหมือนเงาฉายมาปรากฏแก่มโนเรียกธรรมหรือ
ธรรมารมณ์ แล้วมโนสั่งไปตามวิถีแห่งกาย
หรือตามวิถีอื่นในอวัยวะทำกิจนั้น
ๆ เพ่งความรู้ที่มโนได้รับทางทวาร
๕ ท่าน เรียกจักขุวิญญาณบ้าง
โสตวิญญาณบ้าง ฆานวิญญาณบ้าง
ชิวหาวิญญาณบ้าง กายวิญญาณบ้าง
เพ่งความรู้ของมโนเอง
เรียกมโนวิญญาณ.
เหล่านี้เรียกธาตุละอย่าง
ๆ ที่เป็นทวาร ๖ ที่เป็นอารมณ์
๖ ที่เป็นวิญญาณ ๖ รวมเป็น
๑๘ ท่านย่นให้สั้นเข้าอีกเป็น
๑ เรียกวิญญาณธาตุ เติมเข้ากับธาตุ
๕ ซึ่งเป็นรูป รวมเรียกว่า
ธาตุ ๖ ดังแสดงไว้ในธาตุวิภังคสูตร
ธาตุ ๖ นี้ สงเคราะห์เข้าทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม
การแจกธาตุเป็นต่าง
ๆ นั้น เป็นไปตามความเข้าใจของนักปราชญ์ในยุคหนึ่ง
ๆ จะเอาเป็นยืนที่ไม่ได้
แต่ผลของการแจกธาตุให้กำหนดรู้นั้น
คือ นำให้เข้าใจว่า
สภาวะที่เป็นรูปธรรมน้อย
ๆ รวมกันเข้าเป็นรูปใหญ่ขึ้นโดยลำดับ
สภาวะที่เป็นนามธรรม
เกิดเพราะความพร้อมมูลปรองดองแห่งรูปธรรม
นี้ควรจับเป็นหลักในกัมมัฏฐานนี้
สาธุชนผู้เจริญกัมมัฏฐานนี้
เข้าใจธาตุและสังขารโดยลักษณะและประเภทอย่างนี้แล้ว
พึงนึกถึงกายนี้อันธาตุทั้ง
๔ คุมกันเข้า โดยบทบาลีว่า
“ อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ ” แปลว่า
มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
ในชั้นแรกนึกถึงธาตุใด
ควรกำหนดลักษณะ หรือแม้ประเภทด้วย
ครั้นชำนาญแล้ว นึกเพียงแต่ชื่อธาตุ
ลักษณะและประเภทก็จะปรากฏเอง
ในสมัยใด ปลงใจเห็นลงเป็นธาตุคุมกัน
ในสมัยนั้นเป็นอันได้ผลที่มุ่งหมายแห่งกัมมัฏฐานนี้
กัมมัฏฐานนี้
เป็นที่สบายแก่ชนมีวิจิกิจฉาเป็นเจ้าเรือน
มีอานิสงส์ให้หายหลงในสภาวธรรม
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ปัญญาที่เห็นแจ้งชัดในอารมณ์
ชื่อว่า วิปัสสนา
เจตนาที่ทำให้ปัญญานั้นเกิดมีขึ้นในจิต
ชื่อว่า วิปัสสนาภาวนา
สาธุชนผู้จะเจริญวิปัสสนาภาวนา
พึงรู้จักธรรม ๓ อย่าง คือ
๑.
ธรรมที่เป็นภูมิเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
๒.
ธรรมที่เป็นรากเหง้าเป็นเหตุเกิดขึ้นตั้งอยู่ของวิปัสนา
๓
ตัววิปัสสนา
สังขารทั้งที่เป็นอุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ
จำแนกออกโดยประการต่าง ๆ
มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ
๑๘ เป็นต้น เป็นภูมิ
เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น
สีลวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของศีล
จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของจิตคืออุปจารสมาธิ
และอัปปนาสมาธิ เป็นรากเหง้า
เป็นเหตุเกิดขึ้นตั้งอยู่ของวิปัสสนานั้น
วิสุทธิ
๕ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของความเห็น
กังขาวิตรณวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของปัญญาที่เห็นชัดข้ามล่วงกังขาเสียได้
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของความรู้จริงเห็นจริงว่า
นี้เป็นทางและมิใช่ทางปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของความรู้
ความเห็นเป็นข้อปฏิบัติจะให้อริยมรรคเกิดขึ้น
ญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งความรู้ความเห็นซึ่งเป็นโลกุตตระ
คือรู้เห็นในมรรคทั้ง ๔
รวมวิสุทธิมรรคทั้ง ๕
นี้เป็นตัววิปัสสนา
อนึ่ง
ปัญญาที่รู้จริง
เห็นจริงในสภาวะอันเป็นเองของสังขาร
คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา จนถึงนิพพิทา
เบื่อหน่าย วิราคะไม่กำหนัดยินดี
วิมุตติ หลุดพ้นจากอาสวกิเลส
หลุดพ้นจากอาสวกิเลส
นี่เป็นตัววิปัสสนาเหมือนกัน
ลักษณะ
กิจ ผล และเหตุของวิปัสสนา
ความรู้ความเห็นว่า
สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตาแจ้งชัด เป็นลักษณะ
คือ เครื่องหมายของวิปัสสนา
ความกำจัดมืด
คือ โมหะ อันปิดบังปัญญาให้เห็นความจริงของสังขารว่า
ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์
เป็นอนัตตานั้นเสีย เป็นกิจ
คือเป็นคุณของวิปัสสนา
ความเห็นจริง
ส่องสว่างในความที่สังขารเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เป็นผลของวิปัสสนา
จิตที่ตั้งมั่นด้วยสมาธิอันใดอันหนึ่ง
(ขณิกสมาธิ
อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ)
เป็นเหตุเกิดขึ้นตั้งอยู่ของวิปัสสนา
วิภาค
คือ ความจำแนกของวิปัสสนา
๖ อย่าง
อนึ่ง
ผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาพึงทราบ
วิภาค คือความจำแนกของวิปัสสนา
๖ อย่างคือ
๑.
อนิจฺจํ
ไม่เที่ยง
๒.
อนิจฺจลกฺขณํ
เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่าเป็นของไม่เที่ยง
๓.
ทุกฺขํ
ของที่สัตว์ทนได้ยาก
๔.
ทุกฺขลกฺขณ
เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่า
เป็นทุกข์
๕.
อนตฺตา ภาวะมิใช่ตัวมิใช่ตน
๖.
อนตฺตลกฺขณํ
เครื่องหมายที่จะให้กำหนดรู้ว่ามิใช่ตัวตน
สังขารทั้งหลายอันจำแนกออกเป็นขันธ์อายตนะ
และธาตุ เป็นต้น เป็นตัว
อนิจฺจํ เพราะเกิดขึ้นแล้วดับไป
ในที่สุด
ความเกิดขึ้นแล้วดับไป
และผันแปรเป็นอย่างอื่น
เป็นอนิจจลักษณะ
สังขารทั้งหลายดังกล่าวมา
หรือจะย่นกล่าวอีกอย่าง
หนึ่งว่า นามรูปนั่นแล
เป็นตัวทุกข์ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิด
ความดับ และความผันแปร
เป็นต้น
การที่ต้องเกิด
ดับ และผันแปรเป็นอย่างอื่นไปเพราะ
ชรา พยาธิ มรณะ
เบียดเบียนเผาผลาญอยู่เป็นนิตย์
เป็นตัวทุกขลักษณะ
ธรรมทั้งหลาย
(สังขาร)
เป็นตัวอนัตตา
เพราะว่างเปล่าจากตัวตน
จากสัตว์ จากบุคคล
ความเป็นของว่างเปล่าจากตัวตน
จากสัตว์ จากบุคคล
เป็นแต่เพียงสภาวธรรมอย่างหนึ่ง
ๆ เป็นตัวอนัตตลักษณะ
วิธีเจริญวิปัสสนาตามนัยพระบาลี
สาธุชน
เมื่อจะเจริญวิปัสสนาที่มีสังขารและธรรมเป็นอารมณ์นั้น
พึงเจริญตามนัยที่มาในพระบาลีว่า
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
ดังนี้ก็ได้
หรือจะพิจารณาแยกกันว่า
รูปํ อนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง
เวทนา อนิจฺจํ เวทนาไม่เที่ยง
สญฺญา อนิจฺจา สัญญาไม่เที่ยง
สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
วิญฺญาณํ อนิจฺจํ
วิญญาณไม่เที่ยง
รูปํ อนตฺตา รูปเป็นอนัตตา
เวทนา อนตฺตา เวทนาเป็นอนัตตา
สญฺญา อนตฺตา สัญญาเป็นอนัตตา
สงฺขารา อนตฺตา
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา
วิญฺญาณํ อนตฺตา
วิญญาณเป็นอนัตตา
ส่วนที่ว่า
ไม่เที่ยง เป็นอนัตตานั้นมีความหมายอย่างไร
ให้ดูความหมายที่ได้แสดงมาแล้วในการพิจารณาโดยแยกกันนี้
ไม่มีพระบาลีกล่าวถึงทุกข์
ท่านอธิบายว่า
เพราะทุกขลักษณะรวมอยู่กับอนิจจาลักษณะแล้วตามพระบาลีว่า
ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนี้เป็นอนัตตา
วิธีเจริญวิปัสสนาตามนัยอรรถกถา
ในอรรถกถาท่านแบ่งบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาเป็น
๒ ประเภท คือ
๑.
สมถยานิก
ผู้เจริญวิปัสสนาที่ได้ฌานมาแล้ว
๒.
วิปัสสนายานิก
ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน
ๆ ไม่ได้ฌานมาก่อน
สมถยานิก
ใช้ฌานเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา
คือ เข้าฌานออกฌานแล้วพิจารณาองค์ฌานทั้ง
๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข
เอกัคคตาว่าเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ส่วนวิปัสสนายานิกบุคคล
ต้องเจริญวิปัสสนาตามหลักวิสุทธิ
๗ คือ เริ่มแรกชำระศีลตามสมควรแก่ภาวะของตนให้บริสุทธิ์
ทำใจให้เป็นสมาธิ ด้วยขณิกสมาธิ
หรืออุปจารสมาธิแล้วเจริญ
ทิฏฐิวิสุทธิ ทำความเห็นให้บริสุทธิ์ว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้
กล่าวโดยย่อก็มีแต่รูปกับนามเท่านั้น
ละสัตตูปลัทธิความถือผิดว่าเป็นสัตว์
สัตตสัญญา ความสำคัญผิดว่าเป็นสัตว์เสียให้ได้
ต่อจากนั้น
เจริญกังขาวิตรณวิสุทธิ
ทำลายความสงสัยเกี่ยวกับตนเองในกาลทั้ง
๓ โดยกำหนดรู้เหตุและปัจจัยของนามรูปให้แจ้งชัดว่า
อวิชชา
ตัณหา อุปาทาน กรรม อาหาร
เป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปธรรม
อวิชชา
ตัณหา อุปาทาน กรรม ผัสสะ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยของนามธรรม
คือ เวทนา สัญญา สังขาร
วิชชา
ตัณหา อุปาทาน กรรม นามและรูป
เป็นเหตุเป็นปัจจัยของนามธรรม
คือ วิญญาณ (วิญญาณ
๖)
เมื่อเข้าใจได้แน่ชัดเช่นนี้
ย่อมสาวไปถึงอดีตและอนาคตว่า
นามรูปในอดีตที่ผ่านมาก็ดี
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ดี
ก็ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุและปัจจัยเหมือนกับนามรูปในปัจจุบันนี่เอง
ต่อจากนั้นพึงเจริญมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
โดยกำหนดรู้ว่าความหลงปลื้มใจอยู่กับความรู้
ความสุข ความสงบที่เกิดใหม่เป็นต้น
ไม่ใช่ทางแห่งมรรคผล
แล้วไม่หลงปลื้มอยู่กับสิ่งเหล่านั้นมากำหนดรู้นามรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ต่อจากนั้นพึงเจริญปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณทั้ง
๙ มี อุทยัพพยญาณ เป็นต้น
มีสัจจานุโลมิกญาณเป็นที่สุด
เมื่อวิปัสสนาจิตดำเนินไปถึงสัจจานุโลมิกญาณ
ญาณที่รู้เห็นตามวิปัสสนาญาณ
๘ (อุทยัพพยญาณ
จนถึงสังขารุเปกขาญาณ)
แล้วโคตรภูญาณอันเป็นญาณสุดท้ายของความเป็นปุถุชนก็เกิดขึ้น
แต่ไม่ได้ทำหน้าที่กำหนดรู้รูปนามตามวิปัสสนาญาณทั้ง
๘ จึงไม่นับเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
และไม่นับเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ
เพราะไม่ได้ทำหน้าที่ละกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน
แต่ถึงการนับว่า
วิปัสสนาเพราะตกอยู่ในกระแสของวิปัสสนา
ก็เกิดขึ้น ต่อจากนั้น
ญาณทัสสนวิสุทธิ คือมรรคจิต
อันทำกิจในอริยสัจ ๔ คือ
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย
ทำนิโรธ (นิพพาน)
ให้แจ้ง
ทำมรรคให้เจริญก็เกิดขึ้น
ละกิเลสตามสมควรแก่มรรคนั้น
ๆ ได้เด็จขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
ต่อจากนั้นผลจิตเกิดขึ้น
๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง ต่อจากนั้น
ปัจจเวกขณญาณ ญาณพิจารณา
(๑)
(๒)
ผล (๓)
กิเลสที่ละแล้ว
(๔)
กิเลสที่เหลืออยู่
(๕)
นิพพาน
นี้สำหรับพระโสดาบัน
พระสกทาคามี พระอนาคามี
ส่วนพระอรหันต์ มีปัจจเวกขณญาณ
๔ คือ (๑)
พิจารณามรรค
(๒)
พิจารณาผล
(๓)
พิจารณากิเลสที่ละแล้ว
(๔)
พิจารณานิพพาน
การเจริญวิปัสสนาของผู้เป็นวิปัสสนายานิก
มีวิธีปฏิบัติตามลำดับโดยย่อดังกล่าวมานี้
ส่วนผู้ปรารถนาที่จะศึกษาความพิสดาร
พึงศึกษาจากหนังสือธรรมสมบัติ
หมวดที่ ๑๐
----------------------
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen