๕. โกสมฺพกวตฺถุ (๕)
๖.
ปเร จ น วิชานนฺติ, มยเมตฺถ ยมามเส;
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ, ตโต สมฺมนฺติ เมธคาฯ
ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้
ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น
ย่อมรู้สึก ความหมายมั่นย่อมระงับจากชนเหล่านั้น. (๑:๖)
๕. โกสมฺพกวตฺถุ (๕)
๖.
ปเร จ น วิชานนฺติ, มยเมตฺถ ยมามเส;
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ, ตโต สมฺมนฺติ เมธคาฯ
ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้
ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น
ย่อมรู้สึก ความหมายมั่นย่อมระงับจากชนเหล่านั้น. (๑:๖)
๔. กาฬยกฺขินีวตฺถุ(๔)
๕.
น หิ เวเรน เวรานิ, สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ;
อเวเรน จ สมฺมนฺติ, เอส ธมฺโม สนนฺตโนฯ
„ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย,
แต่ย่อมระงับเพราะความไม่จองเวร, ธรรมนี้เป็นของเก่า“.
๓. ติสฺสตฺเถรวตฺถุ (๓)
๓.
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ, อชินิ [1] มํ อหาสิ เม;
เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ, เวรํ เตสํ น สมฺมติฯ
„ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คน
โน้นได้ลักสิ่งของๆ เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่ระงับ“.
๒.
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา, มโนเสฏฺฐา มโนมยา;
มนสา เจ ปสนฺเนน, ภาสติ วา กโรติ วา;
ตโต นํ สุขมนฺเวติ, ฉายาว อนปายินี [1]ฯ
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ,
ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตามทำอยู่ก็ตาม,
สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง,
เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น.
—————
1) [อนุปายินี (ก.)]
ธมฺมปทปาฬิ
๑. ยมกวคฺโค
๑.
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา, มโนเสฏฺฐา มโนมยา;
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน, ภาสติ วา กโรติ วา;
ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ, จกฺกํว วหโต ปทํฯ
„ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ,
ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม,
ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น,
เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น“.