๔๑๔. หลักการจารพระไตรปิฏก
สมสีสํ สมปาทํ, อนฺตรญฺจ สมํสมํ;
อิทํ มนสิ นิธาย, ลิเขยฺย ปิฎกตฺตยนฺติ.
นักปราชญ์ ฝังอักขระไว้ในใจ
ให้มีหัวเสมอกัน มีเชิงเสมอกัน
และมีช่องไฟเสมอกันแล้ว
พึงจารึกพระไตรปิฏกเถิด.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๔)
--
๔๑๔. หลักการจารพระไตรปิฏก
สมสีสํ สมปาทํ, อนฺตรญฺจ สมํสมํ;
อิทํ มนสิ นิธาย, ลิเขยฺย ปิฎกตฺตยนฺติ.
นักปราชญ์ ฝังอักขระไว้ในใจ
ให้มีหัวเสมอกัน มีเชิงเสมอกัน
และมีช่องไฟเสมอกันแล้ว
พึงจารึกพระไตรปิฏกเถิด.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๔)
--
๔๑๓. บุญและบาปให้ผลต่างกัน
น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ, อุโภ สมวิปากิโน;
อธมฺโม นิรยํ เนติ, ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ.
แท้ที่จริงแล้ว สภาวธรรม ๒ อย่างคือ
ธรรมและอธรรมมีวิบากเสมอกัน หามิได้
อธรรม(บาป อกุศล) ย่อมนำไปสู่นรก
ส่วนธรรมะ(บุญ, กุศล)ย่อมให้ถึงสุคติ.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๓, ขุ. ชา. ๒๗/๒๒๘๔ อโยฆรชาดก)
--
๔๑๒. สังขารไม่เที่ยงหนอ
อนิจฺจา วต สงฺขารา, อุปฺปาทวยธมฺมิโน;
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ, เตสํ วูปสโม สุโข.
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
การดับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๒, ที. มหา. ๑๐/๑๔๗, ๑๘๖, ขุ. ชา. เอกนิปาต, ลิตตวรรค, มหาสุทัสสนขาดก)
--
๔๑๑. จ,ภ,ก,ส-หัวใจคนดี
จช- ทุชฺชนสํสคฺคํ, ภช- สาธุสมาคมํ;
กร- ปุญฺญมโหรตฺตึ, สร- นิจฺจมนิจฺจตํ.
จช-จงละ การคลุกคลีกับคนชั่ว,
ภช-จงคบหา สมาคมกับคนดี,
กร-จงทำบุญ ทั้งกลางวันกลางคืน,
สร-จงนึกถึง ความไม่เที่ยงเป็นนิตย์.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๑, กวิทปฺปณนีติ ๑๗๘, โลกนีติ ๔๒)
--
๔๑๐. จงตามรักษาจิตของตน
อปฺปมาทรตา โหถ, สจิตฺตมนุรกฺขถ;
ทุกฺขา* อุทฺธรถตฺตานํ, ปงฺเก สนฺนํว กุญฺชรํ.
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
จงตามรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากความทุกข์*
ดุจกุญชรผู้จมแล้วในเปือกตมถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๐, ขุ. ธ. ๒๕/๓๓)
--
๔๐๙. ธรรมทานประเสริฐที่สุด
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ;
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ,
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ;
สพฺพทุกฺขํ ตณฺหกฺขโย ชินาติ.
การให้ธรรมเป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๐๙, ขุ. ธ. ๒๕/๓๔)
--