Posts mit dem Label ธัมมปทปาฬิ-แปล werden angezeigt. Alle Posts anzeigen
Posts mit dem Label ธัมมปทปาฬิ-แปล werden angezeigt. Alle Posts anzeigen

Montag, 3. Dezember 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๖. พราหมณวรรค



๒๖. พฺราหฺมณวคฺโค
คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

๓๘๓.
ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม, กาเม ปนูท พฺราหฺมณ;

สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา, อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณฯ

ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย 
ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้. (๒๖:)

๓๘๔.
ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ, ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ;

อถสฺส สพฺเพ สํโยคา, อตฺถํ คจฺฉนฺติ ชานโตฯ

เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้ง ๒ ประการ เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบทั้งปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้ง ย่อมถึงความสาบสูญไป. (๒๖:)

Donnerstag, 29. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๕. ภิกขุวรรค


๒๕. ภิกฺขุวคฺโค
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

๓๖๐.
จกฺขุนา สํวโร สาธุ, สาธุ โสเตน สํวโร;

ฆาเนน สํวโร สาธุ, สาธุ ชิวฺหาย สํวโรฯ

ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี. (๒๕:)

๓๖๑.
กาเยน สํวโร สาธุ, สาธุ วาจาย สํวโร;

มนสา สํวโร สาธุ, สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร;

สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ, สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติฯ

ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความสำรวมด้วยใจเป็นความดีความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว
ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. (๒๕:)

Mittwoch, 28. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๔. ตัณหาวรรค


๒๔. ตณฺหาวคฺโค
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔

๓๓๔.
มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน, ตณฺหา วฑฺฒติ มาลุวา วิย;

โส ปลวตี หุราหุรํ, ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโรฯ

ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท ดุจเคลือเถาย่านทราย ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น. (๒๔:)

๓๓๕.
ยํ เอสา สหตี ชมฺมี, ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา;

โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ, อภิวฑฺฒํว พีรณํฯ

ตัณหานี้ลามกซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น. (๒๔:)

Mittwoch, 21. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๓. นาควรรค


๒๓. นาควคฺโค
คาถาธรรมบท นาควรรคที่ ๒๓

๓๒๐.
อหํ นาโคว สงฺคาเม, จาปโต ปติตํ สรํ;

อติวากฺยํ ติติกฺขิสฺสํ, ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโนฯ

เราจักอดกลั้นซึ่งคำล่วงเกิน ดุจช้างอดทนซึ่งลูกศรที่ออกมาจากแล่งในสงคราม ฉะนั้น เพราะคนทุศีลมีมาก. (๒๓:)

๓๒๑.
ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ, ทนฺตํ ราชาภิรูหติ;

ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ, โยติวากฺยํ ติติกฺขติฯ

ชนทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกหัดแล้วไปสู่ที่ชุมนุม พระราชาย่อมทรงพาหนะที่ได้ฝึกหัดแล้ว ในหมู่มนุษย์คนที่ได้ฝึกแล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด. (๒๓:)

Dienstag, 20. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๒. นิรยวรรค


๒๒. นิรยวคฺโค
คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒

๓๐๖.
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ, โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห;

อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ, นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถฯ

บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรกเช่นเดียวกัน แม้คนทั้งสองนั้นเป็นมนุษย์ผู้มีกรรมเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า. (๒๒:)

๓๐๗.
กาสาวกณฺฐา พหโว, ปาปธมฺมา อสญฺญตา;

ปาปา ปาเปหิ กมฺเมหิ, นิรยนฺเต อุปปชฺชเรฯ

คนเป็นอันมากผู้อันผ้ากาสาวะพันคอแล้ว มีธรรมอันลามก ไม่สำรวม เป็นคนชั่วช้า ย่อมเข้าถึงนรกเพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย. (๒๒:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๑. ปกิณณกวรรค


๒๑. ปกิณฺณกวคฺโค
คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑

๒๙๐.
มตฺตา สุขปริจฺจาคา, ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ;

จเช มตฺตาสุขํ ธีโร, สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํฯ

ถ้าว่าปราชญ์พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะสละความสุขพอประมาณไซร้ 
เมื่อปราชญ์เห็นความสุขอันไพบูลย์ พึงสละความสุขพอประมาณเสีย. (๒๑:)

๒๙๑.
ปรทุกฺขูปธาเนน, อตฺตโน สุขมิจฺฉติ;
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ, เวรา โส น ปริมุจฺจติฯ

ผู้ใดปรารถนาความสุขเพื่อตนด้วยการเข้าไปตั้งความทุกข์ไว้ในผู้อื่น
ผู้นั้นระคนแล้วด้วยความเกี่ยวข้องด้วยเวร ย่อมไม่พ้นไปจากเวร. (๒๑:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๐. มรรควรรค


๒๐. มคฺควคฺโค
คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

๒๗๓.
มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ, สจฺจานํ จตุโร ปทา;

วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ, ทิปทานญฺจ จกฺขุมาฯ

ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการ
ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลายวิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุ
ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย. (๒๐:)

๒๗๔.
เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ, ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา;

เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ, มารเสนปฺปโมหนํฯ

ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลาย
จงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง. (๒๐:)

Montag, 19. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๙. ธัมมัฏฐวรรค


๑๙. ธมฺมฏฺฐวคฺโค

๒๕๖.
น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ, เยนตฺถํ สหสา นเย;
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ, อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโตฯ

บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม ด้วยเหตุที่วินิจฉัยอรรถคดีโดยผลุนผลัน
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตวินิจฉัยอรรถคดี และความอันไม่เป็นอรรถคดีทั้งสอง. (๑๙:)

๒๕๗.
อสาหเสน ธมฺเมน, สเมน นยตี ปเร;

ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี, ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติฯ

วินิจฉัยบุคคลเหล่าอื่นโดยความไม่ผลุนผลัน โดยธรรมสม่ำเสมอ
ผู้นั้นชื่อว่าคุ้มครองกฎหมายเป็นนักปราชญ์ เรากล่าวว่า ตั้งอยู่ในธรรม. (๑๙:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๘. มลวรรค


๑๘. มลวคฺโค
คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘

๒๓๕.
ปณฺฑุปลาโสวทานิสิ; ยมปุริสาปิ จ เต อุปฏฺฐิตา;

อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺฐสิ; ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติฯ

บัดนี้ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง
อนึ่งแม้บุรุษของพระยายมก็ปรากฏแก่ท่านแล้ว
ท่านตั้งอยู่ในปากแห่งความเสื่อม
อนึ่งเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี. (๑๘:)

๒๓๖.
โส กโรหิ ทีปมตฺตโน; ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว;

นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ; ทิพฺพํ อริยภูมึ อุเปหิสิฯ

ท่านจงทำที่พึงแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์. (๑๘:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๗. โกธวรรค


๑๗. โกธวคฺโค
คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

๒๒๑.
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ; สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย;

ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ; อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขาฯ

บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย
พึงก้าวล่วงสังโยชน์เสียทั้งหมด
ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้น
ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล. (๑๗:)

๒๒๒.
โย เว อุปฺปติตํ โกธํ, รถํ ภนฺตํว วารเย;

ตมหํ สารถึ พฺรูมิ, รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโนฯ

บุคคลใดแล พึงห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้
ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลังแล่นไปได้ ฉะนั้น
เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้เป็นคนถือเชือก. (๑๗:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๖. ปิยวรรค


๑๖. ปิยวคฺโค
คาถาธรรมบทปิยวรรคที่ ๑๖

๒๐๙.
อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ, โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ;

อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี, ปิเหตตฺตานุโยคินํฯ

บุคคลประกอบตนในกิจที่ไม่ควรประกอบ และไม่ประกอบ
ตนในกิจที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสีย มักถือเอาสัตว์
หรือสังขารว่าเป็นที่รัก ย่อมทะเยอทะยานต่อบุคคลผู้ประกอบตามตน. (๑๖:)

๒๑๐.
มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ, อปฺปิเยหิ กุทาจนํ;

ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ, อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํฯ

บุคคลอย่าสมาคมแล้วด้วยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่
รัก หรือด้วยสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก ในกาลไหนๆ
เพราะการไม่เห็นสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็น
สัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์. (๑๖:)

Sonntag, 18. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๕. สุขวรรค


๑๕. สุขวคฺโค
คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕

๑๙๗.
สุสุขํ วต ชีวาม, เวริเนสุ อเวริโน;
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ, วิหราม อเวริโนฯ

เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวร
ในพวกมนุษย์ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่
เป็นอยู่สบายดีหนอ. (๑๕:)

๑๙๘.
สุสุขํ วต ชีวาม, อาตุเรสุ อนาตุรา;

อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ, วิหราม อนาตุราฯ

เมื่อพวกมนุษย์มีความเร่าร้อนกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่เร่าร้อน
ในพวกมนุษย์ผู้มีเร่าร้อน เราเป็นผู้ไม่มีความเร่าร้อนอยู่
เป็นอยู่สบายดีหนอ. (๑๕:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๔. พุทธวรรค


๑๔. พุทฺธวคฺโค
คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔

๑๗๙.
ยสฺส ชิตํ นาวชียติ, ชิตมสฺส โน ยาติ โกจิ โลเก;

ตํ พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ, อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถฯ

กิเลสชาติอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว
อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้ กิเลสชาติหน่อยหนึ่งในโลกย่อมไม่ไปหา
กิเลสชาติที่พระองค์ทรงชนะแล้ว ท่านทั้งหลายจักนำพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีอารมณ์หาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไร. (๑๔:)

๑๘๐.
ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา, ตณฺหา นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว;

ตํ พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ, อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถฯ

ตัณหามีข่ายส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ
ไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
เพื่อจะนำไปในภพไหนๆ ท่านทั้งหลายจัก
นำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ตรัสรู้แล้ว
มีอารมณ์หาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไร. (๑๔:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๓. โลกวรรค



๑๓. โลกวคฺโค
คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

๑๖๗.
หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย, ปมาเทน น สํวเส;

มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย, น สิยา โลกวฑฺฒโนฯ

บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความ
ประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก. (๑๓:)

๑๖๘.
อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย, ธมฺมํ สุจริตํ จเร;

ธมฺมจารี สุขํ เสติ, อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จฯ

ภิกษุไม่พึงประมาทในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อม
อยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า. (๑๓:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๒. อัตตวรรค



๑๒. อตฺตวคฺโค
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒

๑๕๗.
อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา, รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ;

ติณฺณํ อญฺญตรํ ยามํ, ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโตฯ

หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้
พึงรักษาตนนั้นไว้ ให้เป็นอัตภาพอันตนรักษาดีแล้ว
บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง (๑๒:)

๑๕๘.
อตฺตานเมว ปฐมํ, ปฏิรูเป นิเวสเย;

อถญฺญมนุสาเสยฺย, น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโตฯ

บุคคลพึงยังตนนั้นแลให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน
พึงพร่ำสอนผู้อื่นในภายหลัง บัณฑิตไม่พึงเศร้าหมอง. (๑๒:)