Montag, 3. Dezember 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๖. พราหมณวรรค



๒๖. พฺราหฺมณวคฺโค
คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

๓๘๓.
ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม, กาเม ปนูท พฺราหฺมณ;

สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา, อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณฯ

ดูกรพราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหาเสีย จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย 
ดูกรพราหมณ์ ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้. (๒๖:)

๓๘๔.
ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ, ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ;

อถสฺส สพฺเพ สํโยคา, อตฺถํ คจฺฉนฺติ ชานโตฯ

เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้ง ๒ ประการ เมื่อนั้น กิเลสเป็นเครื่องประกอบทั้งปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้ง ย่อมถึงความสาบสูญไป. (๒๖:)


๓๘๕.
ยสฺส ปารํ อปารํ วา, ปาราปารํ น วิชฺชติ;

วีตทฺทรํ วิสญฺญุตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

ฝั่งก็ดีธรรมชาติมิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและธรรมชาติมิใช่ฝั่ง ย่อมไม่มีแก่ผู้
ใด เรากล่าวผู้นั้นซึ่งมีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว ผู้ไม่ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:)

๓๘๖.
ฌายึ วิรชมาสีนํ, กตกิจฺจํ อนาสวํ;

อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌานปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:)

๓๘๗.
ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ, รตฺติมาภาติ จนฺทิมา;
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ, ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ;

อถ สพฺพมโหรตฺตึ, พุทฺโธ ตปติ เตชสาฯ

พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า 
พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น. (๒๖:)

๓๘๘.
พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ, สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ;

ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ, ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติฯ

บุคคลผู้มีบาปอันลอยแล้วแล เรากล่าวว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลว่า
เป็นสมณะเพราะประพฤติสงบ บุคคลผู้ขับไล่มลทินของตน เรากล่าวว่าเป็นบรรพชิต เพราะการขับไล่นั้น. (๒๖:)

๓๘๙.
น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย, นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ;
ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ, ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติฯ

พราหมณ์ไม่พึงประหารพราหมณ์ พราหมณ์ไม่พึงปล่อยเวรแก่พราหมณ์นั้น เราติเตียนบุคคลผู้ประหารพราหมณ์ เราติเตียนบุคคลผู้ปล่อยเวรแก่พราหมณ์ กว่าบุคคลผู้ประหารนั้น. (๒๖:)

๓๙๐.
น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย, ยทานิเสโธ มนโส ปิเยหิ;

ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ, ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํฯ

การเกียจกันใจจากสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย ของพราหมณ์ เป็นคุณประเสริฐหาน้อยไม่ ใจประกอบด้วยความเบียดเบียนย่อมกลับจากวัตถุใดๆ ทุกข์ย่อมสงบได้หมดจากวัตถุนั้นๆ. (๒๖:)

๓๙๑.
ยสฺส กาเยน วาจาย, มนสา นตฺถิ ทุกฺกตํ;

สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ
เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ ผู้สำรวมแล้วจากฐานะทั้ง ๓ ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:)

๓๙๒.
ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย, สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ;

สกฺกจฺจํ นํ นมสฺเสยฺย, อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณฯ

บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วจากบุคคลใด พึง
นอบน้อมบุคคลนั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาไฟ ฉะนั้น. (๒๖:๑๐)

๓๙๓.
น ชฏาหิ น โคตฺเตน, น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ;

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ, โส สุจี โส จ พฺราหฺมโณฯ

บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะการเกล้าชฎา เพราะโคตร เพราะชาติหามิได้ สัจจะและธรรมะมีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดอยู่ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ด้วย. (๒๖:๑๑)

๓๙๔.
กินฺเต ชฏาหิ ทุมฺเมธ, กินฺเต อชินสาฏิยา;

อพฺภนฺตรนฺเต คหณํ, พาหิรํ ปริมชฺชสิฯ

ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเกล้าชฎาแก่ท่าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยผ้าสาฎกที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน ภายในของท่านรกชัฏ ท่านย่อมขัดสีแต่อวัยวะภายนอก. (๒๖:๑๒)

๓๙๕.
ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ, กิสนฺธมนิสนฺถตํ;

เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวบุคคลผู้ทรงผ้าบังสุกุลซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผู้เดียวเพ่ง (ฌาน)
อยู่ในป่านั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๑๓)

๓๙๖.
น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ, โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ;

โภวาที นาม โส โหติ, ส เว โหติ สกิญฺจโน;

อกิญฺจนํ อนาทานํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

ก็เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดแต่กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่าโภวาที (ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ) ผู้นั้นแลเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๑๔)

๓๙๗.
สพฺพสํโยชนํ เฉตฺวา, โย เว น ปริตสฺสติ;

สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ประกอบแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๑๕)

๓๙๘.
เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ, สนฺทานํ สหนุกฺกมํ;

อุกฺขิตฺตปลิฆํ พุทฺธํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวบุคคลผู้ตัดความโกรธดุจชะเนาะ ตัดตัณหาดุจหนังหัวเกวียน และ
ตัดทิฐิดุจเงื่อนพร้อมทั้งอนุสัยดุจสายเสียได้ ผู้มีอวิชชาดุจลิ่มสลักอันถอนแล้ว ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๑๖)

๓๙๙.
อกฺโกสํ วธพนฺธญฺจ, อทุฏฺโฐ โย ติติกฺขติ;

ขนฺตีพลํ พลาณีกํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งการด่า การทุบตีและการจองจำ ผู้มีกำลัง คือ ขันติ ผู้มีหมู่พลเมืองคือขันติว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๑๗)

๔๐๐.
อกฺโกธนํ วตวนฺตํ, สีลวนฺตํ อนุสฺสทํ;

ทนฺตํ อนฺติมสารีรํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวบุคคลผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีลไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว มีร่างกายตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๑๘)

๔๐๑.
วาริ โปกฺขรปตฺเตว, อารคฺเคริว สาสโป;

โย น ลิมฺปติ กาเมสุ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลายดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๑๙)

๔๐๒.
โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ, อิเธว ขยมตฺตโน;

ปนฺนภารํ วิสญฺญุตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้วพรากแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๐)

๔๐๓.
คมฺภีรปญฺญํ เมธาวึ, มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ;

อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวบุคคลผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในมรรคและมิใช่มรรค ผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๑)

๔๐๔.
อสํสฏฺฐํ คหฏฺเฐหิ, อนาคาเรหิ จูภยํ;

อโนกสารึ อปฺปิจฺฉํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิตผู้ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๒)

๔๐๕.
นิธาย ทณฺฑํ ภูเตสุ, ตเสสุ ถาวเรสุ จ;

โย น หนฺติ น ฆาเตติ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่สะดุ้งและมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๓)

๔๐๖.
อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ, อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ;

สาทาเนสุ อนาทานํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ผิดในผู้ผิด ผู้ดับเสียในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในขันธ์ที่ยังมีความยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๔)

๔๐๗.
ยสฺส ราโค จ โทโส จ, มาโน มกฺโข จ ปาติโต;

สาสโปริว อารคฺคา, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะให้ตกไปดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เขาให้ตกไปจากปลายเหล็กแหลมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๕)

๔๐๘.
อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ, คิรํ สจฺจํ อุทีรเย;

ยาย นาภิสเช กญฺจิ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบคาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้ เป็นคำจริง ผู้ไม่ทำใครๆ ให้ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๖)

๔๐๙.
โยธ ทีฆํ วา รสฺสํ วา, อณุํ ถูลํ สุภาสุภํ;

โลเก อทินฺนํ นาทิยติ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ในโลกนี้ ยาวก็ตาม สั้นก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม งามก็ตาม ไม่งามก็ตาม ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๗)

๔๑๐.
อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ, อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ;

นิราสยํ วิสํยุตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่มีตัณหา ไม่ประกอบด้วยกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๘)

๔๑๑.
ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ, อญฺญาย อกถงฺกถี;

อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่ไม่มีความอาลัย ไม่เคลือบแคลงสงสัยเพราะรู้ทั่ว หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๒๙)

๔๑๒.
โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ, อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา;

อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้งสอง ล่วงกิเลสเครื่องขัดข้องในโลกนี้ ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๐)

๔๑๓.
จนฺทํว วิมลํ สุทฺธํ, วิปฺปสนฺนมนาวิลํ;

นนฺทิภวปริกฺขีณํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือนพระจันทร์ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๑)

๔๑๔.
โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ, สํสารํ โมหมจฺจคา;

ติณฺโณ ปารคโต ฌายี, อเนโช อกถงฺกถี;

อนุปาทาย นิพฺพุโต, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ล่วงทางลื่น ทางที่ไปได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็นผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน)  
ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๒)

๔๑๕.
โยธ กาเม ปหนฺตฺวาน, อนาคาโร ปริพฺพเช;

กามภวปริกฺขีณํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ละกามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้ มีกามและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๓)

๔๑๖.
โยธ ตณฺหํ ปหนฺตฺวาน, อนาคาโร ปริพฺพเช;

ตณฺหาภวปริกฺขีณํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้ มีตัณหาและภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๔)

๔๑๗.
หิตฺวา มานุสกํ โยคํ, ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา;

สพฺพโยควิสํยุตฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ละโยคะของมนุษย์ ล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๕)

๔๑๘.
หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ, สีติภูตํ นิรูปธึ;

สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ละความยินดี และความไม่ยินดีได้ เป็นผู้เย็นไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าไปทรงไว้ 
ครอบงำเสียซึ่งโลกทั้งปวงผู้แกล้วกล้า ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๖)

๔๑๙.
จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ, อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส;

อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่ ไปดี
ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๗)

๔๒๐.
ยสฺส คตึ น ชานนฺติ, เทวา คนฺธพฺพมานุสา;

ขีณาสวํ อรหนฺตํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่เทวดา คนธรรพ์และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้ มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็น
พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๘)

๔๒๑.
ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ, มชฺเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ;

อกิญฺจนํ อนาทานํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้ที่ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลในขันธ์ที่เป็นอดีต ในขันธ์ที่เป็นอนาคต และ
ในขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดถือว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๓๙)

๔๒๒.
อุสภํ ปวรํ วีรํ, มเหสึ วิชิตาวินํ;

อเนชํ นฺหาตกํ พุทฺธํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ

เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ชนะเสร็จแล้ว ไม่หวั่น
ไหว ล้างกิเลส ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๔๐)

๔๒๓.
ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ, สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ;

อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต, อภิญฺญาโวสิโต มุนิ;

สพฺพโวสิตโวสานํ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํฯ


พฺราหฺมณวคฺโค ฉพฺพีสติโม นิฏฺฐิโตฯ

เรากล่าวผู้ที่รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย และได้ถึงความสิ้นไปแห่งชาติ 
อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนีอยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. (๒๖:๔๑)



(เอตฺตาวตา สพฺพปฐเม ยมกวคฺเค จุทฺทส วตฺถูนิ, อปฺปมาทวคฺเค นว, จิตฺตวคฺเค นว, ปุปฺผวคฺเค ทฺวาทส, พาลวคฺเค ปนฺนรส, ปณฺฑิตวคฺเค เอกาทส, อรหนฺตวคฺเค ทส, สหสฺสวคฺเค จุทฺทส, ปาปวคฺเค ทฺวาทส, ทณฺฑวคฺเค เอกาทส, ชราวคฺเค นว, อตฺตวคฺเค ทส, โลกวคฺเค เอกาทส, พุทฺธวคฺเค นว [อฎฺฐ (กฯ)], สุขวคฺเค อฎฺฐ, ปิยวคฺเค นว, โกธวคฺเค อฎฺฐ, มลวคฺเค ทฺวาทส, ธมฺมฎฺฐวคฺเค ทส, มคฺควคฺเค ทฺวาทส, ปกิณฺณกวคฺเค นว, นิรยวคฺเค นว, นาควคฺเค อฎฺฐ, ตณฺหาวคฺเค ทฺวาทส, ภิกฺขุวคฺเค ทฺวาทส, พฺราหฺมณวคฺเค จตฺตาลีสาติ ปญฺจาธิกานิ ตีณิ วตฺถุสตานิฯ

สเตวีสจตุสฺสตา, จตุสจฺจวิภาวินา;
สตตฺตยญฺจ วตฺถูนํ, ปญฺจาธิกํ สมุฎฺฐิตาติ)
[( ) เอตฺถนฺตเร ปาโฐ วิเทสโปตฺถเกสุ นตฺถิ, อฎฺฐกถาสุเยว ทิสฺสติ]

[ธมฺมปทสฺส วคฺคสฺสุทฺทานํ
§ยมกํ ปมาทํ จิตฺตํ, ปุปฺผํ พาลญฺจ ปณฺฑิตํฯ
§รหนฺตํ สหสฺสํ ปาปํ, ทณฺฑํ ชรา อตฺตโลกํฯ
§พุทฺธํ สุขํ ปิยํ โกธํ, มลํ ธมฺมฎฺฐมคฺคญฺจฯ
§ปกิณฺณกํ นิรยํ นาคํ, ตณฺหา ภิกฺขู จ พฺราหฺมโณฯ

§คาถายุทฺทานํ
§ยมเก วีสคาถาโย, อปฺปมาทโลกมฺหิ จฯ
§ปิเย ทฺวาทสคาถาโย, จิตฺเต ชรตฺเตกาทสฯ
§ปุปฺผพาลสหสฺสมฺหิ, พุทฺธ มคฺค ปกิณฺณเกฯ
§โสฬส ปณฺฑิเต โกเธ, นิรเย นาเค จตุทฺทสฯ
§อรหนฺเต ทสคฺคาถา, ปาปสุขมฺหิ เตรสฯ
§สตฺตรส ทณฺฑธมฺมฏฺเฐ, มลมฺหิ เอกวีสติฯ
§ตณฺหาวคฺเค สตฺตพฺพีส, เตวีส ภิกฺขุวคฺคมฺหิฯ
§พฺราหฺมเณ เอกตาลีส, จตุสฺสตา สเตวีสฯ (กฯ)]


ธมฺมปเท วคฺคานมุทฺทานํ –

ยมกปฺปมาโท จิตฺตํ, ปุปฺผํ พาเลน ปณฺฑิโต;
อรหนฺโต สหสฺสญฺจ, ปาปํ ทณฺเฑน เต ทสฯ
ชรา อตฺตา จ โลโก จ, พุทฺโธ สุขํ ปิเยน จ;
โกโธ มลญฺจ ธมฺมฏฺโฐ, มคฺควคฺเคน วีสติฯ

ปกิณฺณํ นิรโย นาโค, ตณฺหา ภิกฺขุ จ พฺราหฺมโณ;
เอเต ฉพฺพีสติ วคฺคา, เทสิตาทิจฺจพนฺธุนาฯ

รวมวรรคที่มีในคาถาธรรมบท คือ
ยมกวรรค อัปปมาทวรรค จิตตวรรค ปุปผวรรค พาลวรรค
ปัณฑิตวรรค อรหันตวรรค สหัสสวรรค ปาปวรรค ทัณฑวรรค ชราวรรค
อัตตวรรค โลกวรรค พุทธวรรค สุขวรรค ปิยวรรค โกธวรรค มลวรรค
ธัมมัฏฐวรรค รวมเป็น ๒๐ วรรค ปกิณณกวรรค นิรยวรรค นาควรรค
ตัณหาวรรค ภิกขุวรรค พราหมณวรรค รวมทั้งหมดนี้เป็น ๒๖ วรรค อันพระ
พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว

คาถานมุทฺทานํ –

ยมเก วีสติ คาถา, อปฺปมาทมฺหิ ทฺวาทส;
เอกาทส จิตฺตวคฺเค, ปุปฺผวคฺคมฺหิ โสฬสฯ

พาเล จ โสฬส คาถา, ปณฺฑิตมฺหิ จตุทฺทส;
อรหนฺเต ทส คาถา, สหสฺเส โหนฺติ โสฬสฯ

เตรส ปาปวคฺคมฺหิ, ทณฺฑมฺหิ ทส สตฺต จ;
เอกาทส ชรา วคฺเค, อตฺตวคฺคมฺหิ ตา ทสฯ

ทฺวาทส โลกวคฺคมฺหิ, พุทฺธวคฺคมฺหิ ฐารส [โสฬส (สพฺพตฺถ)];
สุเข จ ปิยวคฺเค จ, คาถาโย โหนฺติ ทฺวาทสฯ

จุทฺทส โกธวคฺคมฺหิ, มลวคฺเคกวีสติ;
สตฺตรส จ ธมฺมฏฺเฐ, มคฺควคฺเค สตฺตรสฯ

ปกิเณฺณ โสฬส คาถา, นิรเย นาเค จ จุทฺทส;
ฉพฺพีส ตณฺหาวคฺคมฺหิ, เตวีส ภิกฺขุวคฺคิกาฯ

เอกตาลีสคาถาโย, พฺราหฺมเณ วคฺคมุตฺตเม;
คาถาสตานิ จตฺตาริ, เตวีส จ ปุนาปเร;
ธมฺมปเท นิปาตมฺหิ, เทสิตาทิจฺจพนฺธุนาติฯ

ธมฺมปทปาฬิ นิฎฺฐิตาฯ

รวมคาถาที่มีในคาถาธรรมบท คือ

#ในยมกวรรคมี ๒๐ คาถา ในอัปปมาทวรรคมี ๑๒ คาถา ในจิตตวรรคมี ๑๑ คาถา ในปุปผวรรคมี ๑๖ คาถา ในพาลวรรคมี ๑๗ คาถา ในปัณฑิตวรรคมี ๑๔ คาถา ในอรหันตวรรคมี ๑๐ คาถา ในสหัสสวรรคมี ๑๖ คาถา ในปาปวรรคมี ๑๓ คาถา ในทัณฑวรรคมี ๑๗ คาถา ในชราวรรคมี ๑๑ คาถา ในอัตตวรรคมี ๑๒ คาถา ในโลกวรรคมี ๑๒ คาถา
ในพุทธวรรคมี ๑๖ คาถา ในสุขวรรคและปิยวรรคมีวรรคละ ๑๒ คาถา ในโกธ-
*วรรคมี ๑๔ คาถา ในมลวรรคมี ๒๑ คาถา ในธัมมัฏฐวรรคมี ๑๗ คาถา ใน
มรรควรรคมี ๑๖ คาถา ในปกิณณกวรรคมี ๑๖ คาถา ในนิรยวรรคและนาควรรค
มีวรรคละ ๑๔ คาถา ในตัณหาวรรคมี ๒๒ คาถา ในภิกขุวรรคมี ๒๓ คาถา
ในพราหมณวรรคอันเป็นวรรคที่สุดมี ๔๐ คาถา คาถา ๔๒๓ คาถา อันพระ
พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้ในนิบาตในธรรมบท ฯ
จบธรรมบท

Keine Kommentare: