Freitag, 8. Juli 2016

ปัญหาและเฉลย (วิชาธรรม) ธรรมศึกษาชั้นตรี ปี ๒๕๔๔


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔
คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้อ
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
___________________

. คนที่ทำ พูด ผิดพลาดอยู่เสมอ เพราะขาดธรรมอะไร ?
. ธรรมที่เป็นโลกบาล
. ธรรมที่เป็นรากเหง้าอกุศล
. ธรรมที่มีอุปการะมาก
. ธรรมคือข้อปฏิบัติไม่ผิด

. สติควรใช้เวลาไหน ?
. ขณะทำ ก่อนพูด ก่อนคิด
. ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด
. ก่อนทำ ก่อนพูด ขณะคิด
. ก่อนทำ ก่อนพูด หลังจากคิดแล้ว


. จะใช้ธรรมข้อใด คุ้มครองโลกให้สงบเรียบร้อย ?
. สติ สัมปชัญญะ
. ขันติ โสรัจจะ
. บุพพการี กตัญญูกตเวที
. หิริ โอตตัปปะ

. ธรรมในข้อใด เรียกว่า เทวธรรม ?
.. หิริ โอตตัปปะ
. สติ สัมปชัญญะ
. บุพพการี กตัญญูกตเวที
. ขันติ โสรัจจะ

. ข้อใด เป็นคุณธรรมทำให้งาม ?
. ขันติ โสรัจจะ
. หิริ โอตตัปปะ
. สติ สัมปชัญญะ
. ถูกทุกข้อ

. ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วตอบแทน เรียกว่าอะไร ?
. กตัญญู
. กตเวที
. กตัญญูกตเวที
. บุพพการี

. ชาวพุทธจะต้องยึดถืออะไร เป็นที่พึ่งที่ระลึก ?
. พระรัตนตรัย
. พระไตรปิฎก
. โอวาทปาฏิโมกข์
. ไตรสิกขา

. โอวาทของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักการ คืออะไร ?
. ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ทำใจให้ผ่องใส
. ถือศีล ทานมังสวิรัติ ไม่ทำชั่ว
. ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำใจให้ผ่องใส
. ไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต

. ความสำรวมอินทรีย์ หมายถึงอะไร ?
. สำรวมกาย วาจา ใจ
. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
. สำรวมในศีล
. สำรวมในพระปาฏิโมกข์

๑๐. สุจริต ๓ อย่าง เป็นธรรมประเภทใด ?
. ธรรมที่ควรประพฤติ
. ธรรมที่ควรละ
. ธรรมที่ควรกำหนดรู้
. ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

๑๑. การว่าร้าย จองเวร การฆ่า เกิดจากอกุศลมูลข้อใด ?
. โลภะ
. โทสะ
. ราคะ
. โมหะ

๑๒. ผู้ค้ายาเสพย์ติด มีจิตประกอบด้วยอกุศลมูลข้อใด ?
. โลภะ โทสะ
. โลภะ โมหะ
. โทสะ โมหะ
. โลภะ โทสะ โมหะ

๑๓. เหตุใดถูกเพื่อนชวนให้เสพยาบ้า จึงเสพตามเขา ?
. อยากเสพ
. กลัวเพื่อนโกรธ
. หลงผิด
. รักษาน้ำใจ

๑๔. อะไรเป็นสมุฏฐานให้คนประพฤติดี ?
. โลภะ โทสะ โมหะ
. ราคะ โทสะ โมหะ
. อโลภะ อโทสะ อโมหะ
. ศีล สมาธิ ปัญญา

๑๕. เชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่ จัดเป็นการทำบุญประเภทใด ?
. ทานมัย
. สีลมัย
. ภาวนามัย
. ถูกทุกข้อ

๑๖. ทาน ศีล ภาวนา ท่านยกย่องว่าเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ อะไรเป็นตัวบุญ ?
. ความร่ำรวย
. ความสุขกาย สุขใจ
. ความมีเกียรติ
. การได้ไปสวรรค์

๑๗. เมื่อความโกรธเกิดขึ้น ควรทำอย่างไร ?
. ปลงอนิจจัง
. ออกกำลังกาย
. แผ่เมตตา
. ด่าระบายอารมณ์

๑๘. สังฆทาน ควรตั้งใจถวายอย่างไร ?
. ถวายเจาะจง
. ถวายไม่เจาะจง
. ถวายพระรัตนตรัย
. ถวายวัดที่ศรัทธา

๑๙. สามัญญลักษณะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
. ไตรสิกขา
. ไตรสรณคมน์
. ไตรเพท
. ไตรลักษณ์

๒๐. โครงการจัดระเบียบสังคม ทำเพื่อประโยชน์ใด ?
. ให้คนมีศีลธรรม
. ไม่ให้เที่ยวกลางคืน
. แก้ปัญหาเศรษฐกิจ
. ป้องกันอาชญากรรม

๒๑. ประพฤติอย่างไร จึงจะได้ชื่อว่าตั้งตนไว้ชอบ ?
. อยู่ในถิ่นเหมาะสม
. คบคนดี
. เคยทำบุญไว้มาก
. ละชั่ว ประพฤติดี

๒๒. อยากเป็นคนเที่ยงธรรม ต้องปฏิบัติอย่างไร ?
. มีพรหมวิหาร ๔
. ไม่มีอคติ ๔
. มีจักร ๔
. ถูกทุกข้อ

๒๓. " ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร " เป็นลักษณะของข้อใด ?
. ฉันทาคติ
. โทสาคติ
. โมหาคติ
. ภยาคติ

๒๔. ชีวิตก้าวหน้า เพราะรักษาตัวอย่างไร ?
. คบสัตบุรุษ
. หยุดทำชั่ว
. วางตัวตามคำสอน
. ถูกทุกข้อ

๒๕. ความล้มเหลวเกิดขึ้นได้ เพราะไม่ปรารถนาแม้แต่จะลองทำ ชื่อว่าขาดอิทธิบาทข้อใด ?
. ฉันทะ
. วิริยะ
. จิตตะ
. วิมังสา

๒๖. การแสดงความยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี ตรงกับข้อใด ?
. เมตตา
. กรุณา
. มุทิตา
. อุเบกขา

๒๗. เมื่อจิตเกิดกำหนัดยินดี ควรพิจารณาอย่างไร ?
. ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง
. กรรมเก่าตามให้ผล
. เป็นเรื่องธรรมชาติ
. แท้จริงไม่งาม น่าเกลียด

๒๘. โครงการ ๓๐ บาท รักษาได้ทุกโรค ตรงกับธรรมข้อใด ?
. ทาน
. จาคะ
. เมตตา
. กรุณา

๒๙. ทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไรเป็นเหตุ ?
. ความโกรธ
. ตัณหา
. พยาบาท
. ความรัก

๓๐. ข้อใด เป็นอาการของคนถูกถีนมิทธนิวรณ์ครอบงำ ?
. ฟุ้งซ่าน
. ฉุนเฉียว
. ง่วงนอน
. ลังเลใจ

๓๑. ข้อใด ไม่จัดเป็นตัณหา ?
. อยากข้าว อยากน้ำ
. อยากมีคู่ครองใหม่
. อยากตาย
. ไม่อยากเป็นอะไรเลย

๓๒. ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง จัดเป็นทุกข์หรือสมุทัย ?
. ทุกข์
. สมุทัย
. เป็นทั้ง ๒ อย่าง
. ไม่เป็นทั้ง ๒ อย่าง

๓๓. ข้อใด คนทำแล้วเป็นบาปหนักที่สุด ?
. ฆ่าพ่อ
. ฆ่าแม่
. ฆ่าพระอรหันต์
. ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน

๓๔. อโทสะ ตรงกับข้อใด ?
. รู้เขา รู้เรา รบชนะ
. รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
. ปัญญาประดุจดังอาวุธ
. ช้าเสียกาล นานเสียกิจ

๓๕. มรรคมีองค์ ๘ ย่อลงให้เหลือ ๓ ข้อใดถูกต้อง ?
. ศีล สมาธิ ปัญญา
. กุศล อกุศล อัพยากฤต
. สุข ทุกข์ อุเบกขา
. กาย วาจา ใจ

๓๖. " ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม " ใช้ได้กับสัปปุริสธรรมข้อใด ?
. รู้จักตน
. รู้จักคน
. รู้จักประมาณ
. รู้จักกาล

๓๗. " เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม " ตรงกับข้อใด ?
. รู้จักตน
. รู้จักเลือกคน
. รู้จักประมาณ
. รู้จักชุมชน

๓๘. การทุจริตไม่ดีอย่างไร จึงต้องป้องกันและปราบปราม ?
. ทำให้ตนเองเดือดร้อน
. ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
. มีผลเป็นความทุกข์
. ถูกทุกข้อ

๓๙. เมื่อถูกคนอื่นนินทา ควรปฏิบัติอย่างไร ?
. ควรโต้ตอบ
. ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น
. หนีไปที่อื่นเสีย
. อย่ายินดียินร้าย

๔๐. คนดีมีความรู้ ภายหลังตกอับกลับเป็นคนเลว เพราะเหตุใด ?
. ไร้ทรัพย์
. อับปัญญา
. ไม่รู้ค่าเวลา
. แสวงหาทางเสื่อม

๔๑. เศรษฐกิจพอเพียง ควรใช้นาถกรณธรรมข้อใดเป็นเครื่องนำ ?
. มีความรู้มาก
. ขยันทำงาน
. ยินดีตามมีตามได้
. รู้ทันเหตุการณ์

๔๒. ผู้หมกมุ่นอยู่ในอบายมุข ย่อมเสียหายอย่างไร ?
. การงานย่อหย่อน
. รายได้ลดน้อยถอยลง
. ไม่นานต้องล่มจม
. ถูกทุกข้อ

๔๓. หัวใจเศรษฐี ในทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือข้อใด ?
. อุ อา กะ สะ
. จิ เจ รุ นิ
. ทุ สะ นะ โส
. สุ จิ ปุ ลิ

๔๔. " ขุนพลพลอยพยัก " เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
. มิตรปอกลอก
. มิตรดีแต่พูด
. มิตรหัวประจบ
. มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

๔๕. เพื่อนรักชวนกันไปเที่ยวแหล่งมั่วสุม จัดเป็นมิตรประเภทใด ?
. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
. มิตรชักชวนในทางฉิบหาย
. มิตรชักชวนกันมั่วสุม
. มิตรรักใคร่

๔๖. บ้านเมืองไม่สะอาด ขาดระเบียบ ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญ ?
. ไม่รู้กฎหมาย
. ไม่รู้ข้อมูลข่าวสาร
. ไม่บำเพ็ญประโยชน์
. ประชาชนด้อยโอกาส

๔๗. จริงใจ ฝึกฝน ทนได้ ให้ปัน ตรงกับธรรมหมวดใด ?
. ฆราวาสธรรม ๔
. อธิษฐานธรรม ๔
. จักร ๔
. สังคหวัตถุ ๔

๔๘. ราชพลี ประชาชนทุกคนต้องทำ ไม่ควรหลบเลี่ยง ตรงกับข้อใด ?
. พลีชีพเพื่อพระราชา
. เกณฑ์ทหาร
. ทำบัตรประชาชน
. เสียภาษีอากร
๔๙. นิยมยกย่อง ปกป้องเชิดชู ไม่เจ้าชู้นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ ให้เครื่องประดับ คือหน้าที่ของใคร ?
. สามี
. ภรรยา
. บ่าว
. มิตร

๕๐. ศรัทธา ความเชื่อที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร ?
. ศรัทธานำหน้า ปัญญาตามหลัง
. ปัญญานำหน้า ศรัทธาตามหลัง
. ศรัทธาปัญญาของพระสาวก
. ศรัทธาความดีของพระอริยสงฆ์



ผู้ออกข้อสอบ :
. พระราชพัชราภรณ์ วัดมหาธาตุ จ. เพชรบูรณ์
. พระศรีกิตติโสภณ วัดสามพระยา
. พระปริยัติสารเมธี วัดราชผาติการาม
ตรวจ/ปรับปรุง :
สนามหลวงแผนกธรรม




Keine Kommentare: