Donnerstag, 21. Januar 2021

๒๓๐. ขอนไม้น้อย

๒๓๐. ขอนไม้น้อย


ปริตฺตํ ทารุมารุยฺห,  ยถา สีเท มหณฺณเว;

เอวํ กุสิตมาคมฺม, สาธุ ชีวิปิ สีทติ;

ตสฺมา ตํ ปริวชฺเชยฺย, กุสีตํ หีนวีริยํฯ


"แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัย

คนเกียจคร้านย่อมจมลงในสมุทร คือ สงสาร 

ดุจบุคคลขึ้นสู่แพไม้น้อยๆ พึงจมลงในมหรรณพ ฉะนั้น 

เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้นคนผู้เกียจคร้าน 

มีความเพียรอันเลวนั้นเสีย"


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๓๐ นรทักขทีปนี ๑๕๔ ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๖, ขุ. เถร. ๒๖/๒๗๑, ๓๒๒)

...


ศัพท์น่ารู้ :


ปริตฺตํ: (นิดหน่อย, เล็ก, น้อย, ป้องกัน) ปริตฺต+อํ 

ทารุมารุยฺห: ตัดบทเป็น ทารุํ+อารุยฺห (ขี้นแล้วซึ่งขอนไม้) ทารุ (ท่อนไม้, ขอนไม้, แพ), อารุยฺห (ขึ้นแล้ว) อา+√รุห+ตฺวา

ยถา: (ฉันใด) นิบาตบอกอุปมา 

สีเท:  (พึงจม, จมลง) √สีท++เอยฺย  ภูวาทิ. กัตตุ.

มหณฺณเว: (ทะเล, มหาสมุทร, มหัณณพ) มหณฺณว+สฺมึ

เอวํ: (ฉันนั้น) นิบาตบอกอุปไมย 

กุสิตมาคมฺม: ตัตบทเป็น กุสิตํ+อาคมฺม (อาศัยแล้วซึ่งคนเกียจคร้าน), กุสิต (คนขี้เกียจ), อาคมฺม (อาศัยแล้ว) อา+√คมุ+ตฺวา

สาธุ: (ทีดี, ที่งาม) สาธุ+สิ 

ชีวิปิ: (แม้ชีวิต) ชีวิ+ปิ หรือ ชีวี+อปิ  ศัพ์นี้เข้าสมาสกันเป็น สาธุชีวิปิ ก็ได้ 

สีทติ: (ย่อมจม) สีท++ติ

ตสฺมา: (เพราะเหตุนั้น, เพราะฉะนั้น) +สฺมา หรือเป็นนิบาต ก็ได้ 

ตํ:  (ซึ่ง..นั้น) +อํ สัพพนาม 

ปริวชฺเชยฺย: (พึงเว้น, ควรเว้น, หลีกเว้น) ปริ+√วชฺช++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

กุสีตํ: (คนขีเกียจ, คนไม่เอาการงาน) กุสีต+อํ 

หีนวีริยํ: (คนมีความเพียรเลว, ไม่มีความเพียร) หีนวิริย+อํ


..


สำนวนด้านบนั้น มาจากพระไตรปิกที่นักปราชญ์ท่านแปลไว้ดีแล้ว


ถ้าให้แปลเอง ก็อาจจะแปลว่า 


"คนลอยคลออยู่กลางทะเล เกาะท่อนไม้เล็ก ,

พึงจมลงในท้องทะเล ฉันใด;

คนมีชีวิตทีดี อาศัยเพื่อนเลว,

ก็ย่อมตกต่ำ ฉันนั้น;

เพราะฉะนั้น ผู้หวังความเจริญ

พึงละเว้นเพื่อนเลว ขี้เกียจ ขาดความเพียรนั้นเสีย.“


…..


 

Keine Kommentare: