Montag, 19. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๘. มลวรรค


๑๘. มลวคฺโค
คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘

๒๓๕.
ปณฺฑุปลาโสวทานิสิ; ยมปุริสาปิ จ เต อุปฏฺฐิตา;

อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺฐสิ; ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติฯ

บัดนี้ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง
อนึ่งแม้บุรุษของพระยายมก็ปรากฏแก่ท่านแล้ว
ท่านตั้งอยู่ในปากแห่งความเสื่อม
อนึ่งเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี. (๑๘:)

๒๓๖.
โส กโรหิ ทีปมตฺตโน; ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว;

นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ; ทิพฺพํ อริยภูมึ อุเปหิสิฯ

ท่านจงทำที่พึงแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์. (๑๘:)


๒๓๗.
อุปนีตวโย ว ทานิสิ; สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ;

วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา; ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติฯ

บัดนี้ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว
เตรียมจะไปยังสำนักของพระยายม
อนึ่งที่พักในระหว่างของท่านก็ยังไม่มี
และเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี. (๑๘:)

๒๓๘.
โส กโรหิ ทีปมตฺตโน, ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว;

นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ, น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิฯ

ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก. (๑๘:)

๒๓๙.
อนุปุพฺเพน เมธาวี, โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ;

กมฺมาโร รชตสฺเสว, นิทฺธเม มลมตฺตโนฯ

นักปราชญ์ทำกุศลทีละน้อยๆ ในขณะๆ
พึงขจัดมลทินของตนออกได้โดยลำดับ
เหมือนช่างทองขจัดมลทินของทอง ฉะนั้น. (๑๘:)

๒๔๐.
อยสา ว มลํ สมุฏฺฐิตํ, ตทุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ;

เอวํ อติโธนจารินํ, สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึฯ

สนิมเกิดขึ้นแต่เหล็กเอง ครั้นเกิดขึ้นแต่เหล็กนั้นแล้ว
ย่อมกัดเหล็กนั้นแหละ ฉันใด กรรมของตนย่อมนำบุคคล
ผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้น. (๑๘:)

๒๔๑.
อสชฺฌายมลา มนฺตา, อนุฏฺฐานมลา ฆรา;

มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ, ปมาโท รกฺขโต มลํฯ

มนต์มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
เรือนมีการไม่หมั่นเป็นมลทิน
ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ
ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา. (๑๘:)

๒๔๒.
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ, มจฺเฉรํ ททโต มลํ;

มลา เว ปาปกา ธมฺมา, อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จฯ

ความประพฤติชั่วเป็นมลทินหญิง
ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้
ธรรมทั้งหลายที่ลามกเป็นมลทินแท้
ทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า. (๑๘:)

๒๔๓.
ตโต มลา มลตรํ, อวิชฺชา ปรมํ มลํ;

เอตํ มลํ ปหตฺวาน, นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโวฯ

เราจะบอกมลทินกว่ามลทินนั้น คือ
อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายละมลทินนี้เสียแล้ว
จงเป็นผู้ไม่มีมลทินเถิด. (๑๘:)

๒๔๔.
สุชีวํ อหิริเกน, กากสูเรน ธํสินา;

ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน, สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํฯ

บุคคลผู้ไม่มีหิริกล้าเพียงดังกา
มักขจัด มักแล่นไป ผู้คะนอง
เป็นผู้เศร้าหมองเป็นอยู่ง่าย. (๑๘:๑๐)

๒๔๕.
หิรีมตา จ ทุชฺชีวํ, นิจฺจํ สุจิคเวสินา;

อลีเนนาปคพฺเภน, สุทฺธาชีเวน ปสฺสตาฯ

ส่วนบุคคลผู้มีหิริ มีปกติแสวงหา
ความสะอาดเป็นนิตย์ ไม่หดหู่ ไม่คะนอง
มีอาชีวะหมดจดเห็นอยู่เป็นอยู่ยาก. (๑๘:๑๑)

๒๔๖.
โย ปาณมติมาเปติ, มุสาวาทญฺจ ภาสติ;

โลเก อทินฺนํ อาทิยติ, ปรทารญฺจ คจฺฉติฯ

นรชนใดย่อมล้างผลาญสัตว์มีชีวิต
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในโลก
คบหาภริยาคนอื่น กล่าวคำเท็จ- . (๑๘:๑๒)

๒๔๗.
สุราเมรยปานญฺจ, โย นโร อนุยุญฺชติ;

อิเธวเมโส โลกสฺมึ, มูลํ ขนติ อตฺตโนฯ

-และประกอบการดื่มสุราเมรัยเนืองๆ
นรชนนี้ย่อมขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุน
ของตนในโลกนี้แล. (๑๘:๑๓)

๒๔๘.
เอวํ โภ ปุริส ชานาหิ, ปาปธมฺมา อสญฺญตา;

มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ, จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํฯ

ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
บาปธรรมทั้งหลายอันบุคคลไม่สำรวมแล้ว
ความโลภและสภาวะมิใช่ธรรม
อย่าพึงย่ำยีท่านเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน. (๑๘:๑๔)

๒๔๙.
ททาติ เว ยถาสทฺธํ, ยถาปสาทนํ ชโน;

ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ, ปเรสํ ปานโภชเน;

น โส ทิวา วา รตฺตึ วา, สมาธึ อธิคจฺฉติฯ

ชนย่อมให้ตามศรัทธาตามความเลื่อมใสโดยแท้
บุคคลใดย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและข้าว
ของชนเหล่าอื่นนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิ
ในกลางวันหรือกลางคืน. (๑๘:๑๕)

๒๕๐.
ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ, มูลฆจฺฉํ สมูหตํ;
ส เว ทิวา วา รตฺตึ วา, สมาธึ อธิคจฺฉติฯ

ส่วนผู้ใดตัดความเป็นผู้เก้อเขินนี้ได้ขาด
ถอนขึ้นให้รากขาดแล้ว ผู้นั้นแลย่อม
บรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือกลางคืน. (๑๘:๑๖)

๒๕๑.
นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ, นตฺถิ โทสสโม คโห;

นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ, นตฺถิ ตณฺหาสมา นทีฯ

ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี
ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี. (๑๘:๑๗)

๒๕๒.
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ, อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ;

ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ, โอปุนาติ ยถา ภุสํ;

อตฺตโน ปน ฉาเทติ, กลึว กิตวา สโฐฯ

โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก
เพราะว่าบุคคลนั้นย่อมโปรยโทษของคนอื่น ดุจบุคคลโปรยแกลบ
แต่ปกปิดโทษของตนไว้ เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วยกิ่งไม้ ฉะนั้น. (๑๘:๑๘)

๒๕๓.
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส, นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน;

อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ, อารา โส อาสวกฺขยาฯ

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเพ่งโทษผู้อื่น
มีความสำคัญในการยกโทษเป็นนิตย์ บุคคลนั้นเป็น
ผู้ไกลจากความสิ้นอาสวะ. (๑๘:๑๙)

๒๕๔.
อากาเสว ปทํ นตฺถิ, สมโณ นตฺถิ พาหิโร;

ปปญฺจาภิรตา ปชา, นิปฺปปญฺจา ตถาคตาฯ

สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้าไม่มีในอากาศ ฉะนั้น
หมู่สัตว์ยินดีแล้วในธรรมเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้า
พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้า. (๑๘:๒๐)

๒๕๕.
อากาเสว ปทํ นตฺถิ, สมโณ นตฺถิ พาหิเร;
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ, นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํฯ



มลวคฺโค อฏฺฐารสโม นิฏฺฐิโตฯ

สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้าไม่มีในอากาศ ฉะนั้น
สังขารทั้งหลายเที่ยงไม่มี กิเลสชาติเครื่องยังสัตว์ให้
หวั่นไหวไม่มีแก่พระพุทธเจ้า. (๑๘:๒๑)

Keine Kommentare: