๑๙.
ธมฺมฏฺฐวคฺโค
คาถาธรรมบท
ธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙
๒๕๖.
น
เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ,
เยนตฺถํ
สหสา นเย;
โย
จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ,
อุโภ
นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโตฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม
ด้วยเหตุที่วินิจฉัยอรรถคดีโดยผลุนผลัน
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตวินิจฉัยอรรถคดี
และความอันไม่เป็นอรรถคดีทั้งสอง.
(๑๙:๑)
๒๕๗.
อสาหเสน
ธมฺเมน,
สเมน
นยตี ปเร;
ธมฺมสฺส
คุตฺโต เมธาวี,
ธมฺมฏฺโฐติ
ปวุจฺจติฯ
วินิจฉัยบุคคลเหล่าอื่นโดยความไม่ผลุนผลัน
โดยธรรมสม่ำเสมอ
ผู้นั้นชื่อว่าคุ้มครองกฎหมายเป็นนักปราชญ์
เรากล่าวว่า ตั้งอยู่ในธรรม.
(๑๙:๒)
๒๕๘.
น
เตน ปณฺฑิโต โหติ,
ยาวตา
พหุ ภาสติ;
เขมี
อเวรี อภโย,
ปณฺฑิโตติ
ปวุจฺจติฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
ด้วยเหตุเพียงที่พูดมาก
บุคคลผู้มีความเกษมไม่มีเวร
ไม่มีภัย เราเรียกว่า
เป็นบัณฑิต.
(๑๙:๓)
๒๕๙.
น
ตาวตา ธมฺมธโร,
ยาวตา
พหุ ภาสติ;
โย
จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน,
ธมฺมํ
กาเยน ปสฺสติ;
ส
เว ธมฺมธโร โหติ,
โย
ธมฺมํ นปฺปมชฺชติฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าทรงธรรมด้วยเหตุเพียงที่พูดมาก
ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้น้อยแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมด้วยนามกาย
[และ]
ไม่ประมาทธรรม
ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม.
(๑๙:๔)
๒๖๐.
น
เตน เถโร โหติ,
เยนสฺส
ปลิตํสิโร;
ปริปกฺโก
วโย ตสฺส,
โมฆชิณฺโณติ
วุจฺจติฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ
เพราะเหตุที่มีผมหงอกบนศีรษะ
วัยของบุคคลนั้นแก่หง่อมแล้ว
บุคคลนั้นเรากล่าวว่า
เป็นผู้แก่เปล่า.
(๑๙:๕)
๒๖๑.
ยมฺหิ
สจฺจญฺจ ธมฺโม จ,
อหึสา
สญฺญโม ทโม;
ส
เว วนฺตมโล ธีโร,
โส
เถโรติ ปวุจฺจติฯ
สัจจะ
ธรรมะ อหิงสา สัญญมะและทมะ
มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลมีมลทินอัน
คายแล้ว
เป็นนักปราชญ์ เราเรียกว่าเป็นเถระ.
(๑๙:๖)
๒๖๒.
น
วากฺกรณมตฺเตน,
วณฺณโปกฺขรตาย
วา;
สาธุรูโป
นโร โหติ,
อิสฺสุกี
มจฺฉรี สโฐฯ
นรชนผู้มักริษยา
มีความตระหนี่ โอ้อวด
ไม่เป็นผู้ชื่อว่ามีรูปงาม
เพราะเหตุเพียงพูด
หรือเพราะความเป็นผู้มีวรรณะงาม.
(๑๙:๗)
๒๖๓.
ยสฺส
เจตํ สมุจฺฉินฺนํ,
มูลฆจฺจํ
สมูหตํ;
ส
วนฺตโทโส เมธาวี,
สาธุรูโปติ
วุจฺจติฯ
ส่วนผู้ใดตัดโทษมีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด
ถอนขึ้นให้รากขาดแล้ว
ผู้นั้นมีโทษอันคายแล้ว
มีปัญญา
เราเรียกว่า ผู้มีรูปงาม.
(๑๙:๘)
๒๖๔.
น
มุณฺฑเกน สมโณ,
อพฺพโต
อลิกํ ภณํ;
อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน,
สมโณ
กึ ภวิสฺสติฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเพราะศีรษะโล้น
บุคคลผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ
มากด้วยความอิจฉาและความโลภ
จักเป็นสมณะอย่างไรได้.
(๑๙:๙)
๒๖๕.
โย
จ สเมติ ปาปานิ,
อณุํถูลานิ
สพฺพโส;
สมิตตฺตา
หิ ปาปานํ,
สมโณติ
ปวุจฺจติฯ
ส่วนผู้ใดสงบบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง
ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็นสมณะ
เพราะสงบบาปได้แล้ว.
(๑๙:๑๐)
๒๖๖.
น
เตน ภิกฺขุ โส โหติ,
ยาวตา
ภิกฺขเต ปเร;
วิสฺสํ
ธมฺมํ สมาทาย,
ภิกฺขุ
โหติ น ตาวตาฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุด้วยเหตุเพียงที่ขอคนอื่น
บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ
ไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุด้วยเหตุนั้น.
(๑๙:๑๑)
๒๖๗.
โยธ
ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ,
พาเหตฺวา
พฺรหฺมจริยวา;
สงฺขาย
โลเก จรติ,
ส
เว ภิกฺขูติ วุจฺจติฯ
ผู้ใดในโลกนี้ลอยบุญและบาปแล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์
รู้ธรรมทั้งปวงแล้ว
เที่ยวไปในโลก
ผู้นั้นแลเราเรียกว่าเป็นภิกษุ.
(๑๙:๑๒)
๒๖๘.
น
โมเนน มุนิ โหติ,
มูฬฺหรูโป
อวิทฺทสุ;
โย
จ ตุลํว ปคฺคยฺห,
วรมาทาย
ปณฺฑิโตฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะความนิ่ง
บุคคลผู้หลงลืม
ไม่รู้แจ้ง
ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตถือธรรม
อันประเสริฐ
เป็นดุจบุคคลประคองตราชั่ง.
(๑๙:๑๓)
๒๖๙.
ปาปานิ
ปริวชฺเชติ,
ส
มุนิ เตน โส มุนิ;
โย
มุนาติ อุโภ โลเก,
มุนิ
เตน ปวุจฺจติฯ
เว้นบาปทั้งหลายผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะเหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่ามุนี
ผู้ใดรู้จักโลกทั้งสอง
ผู้นั้นเราเรียกว่าเป็นมุนีเพราะเหตุนั้น.
(๑๙:๑๔)
๒๗๐.
น
เตน อริโย โหติ,
เยน
ปาณานิ หึสติ;
อหึสา
สพฺพปาณานํ,
อริโยติ
ปวุจฺจติฯ
บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นอริยะ
เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
บุคคลที่เราเรียกว่าเป็นอริยะ
เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง.
(๑๙:๑๕)
๒๗๑.
น
สีลพฺพตมตฺเตน,
พาหุสจฺเจน
วา ปน;
อถวา
สมาธิลาเภน,
วิวิตฺตสยเนน
วาฯ
ด้วยเหตุเพียงศีลและวัตร
หรือ ด้วยความเป็นพหูสูต
ด้วยการได้สมาธิ
หรือว่า ด้วยการนอนในที่สงัด
หามิได้.
(๑๙:๑๖)
๑๗๒.
ผุสามิ
เนกฺขมฺมสุขํ,
อปุถุชฺชนเสวิตํ;
ภิกฺขุ
วิสฺสาสมาปาทิ,
อปฺปตฺโต
อาสวกฺขยํฯ
ธมฺมฏฺฐวคฺโค
เอกูนวีสติโม นิฏฺฐิโตฯ
ดูกรภิกษุ
ภิกษุยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
อย่าถึงความชะล่าใจ
(ด้วยเหตุเพียงความดำริเท่านี้ว่า)
เราถูกต้องสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ
ซึ่งปุถุชนเสพไม่ได้.
(๑๙:๑๗)
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen