Dienstag, 20. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๐. มรรควรรค


๒๐. มคฺควคฺโค
คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

๒๗๓.
มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ, สจฺจานํ จตุโร ปทา;

วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ, ทิปทานญฺจ จกฺขุมาฯ

ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการ
ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลายวิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุ
ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย. (๒๐:)

๒๗๔.
เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ, ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา;

เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ, มารเสนปฺปโมหนํฯ

ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลาย
จงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง. (๒๐:)


๒๗๕.
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา, ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ;

อกฺขาโต โว มยา มคฺโค, อญฺญาย สลฺลกนฺตนํฯ

ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เราทราบชัดธรรมเป็นที่สลัดกิเลสเพียงดังลูกศรออก บอกทางแก่ท่านทั้งหลายแล้ว. (๒๐:)

๒๗๖.
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ, อกฺขาตาโร ตถาคตา;
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ, ฌายิโน มารพนฺธนาฯ

ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอก ชนทั้งหลายดำเนินไปแล้ว ผู้เพ่งพินิจ จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้. (๒๐:)

๒๗๗.
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ, ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ;

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข, เอส มคฺโค วิสุทฺธิยาฯ

เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด. (๒๐:)

๒๗๘.
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ, ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ;
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข, เอส มคฺโค วิสุทฺธิยาฯ

เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด. (๒๐:)

๒๗๙.
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ, ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ;

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข, เอส มคฺโค วิสุทฺธิยาฯ

เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด. (๒๐:)

๒๘๐.
อุฏฺฐานกาลมฺหิ อนุฏฺฐหาโน, ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต;

สํสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต, ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติฯ

บุคคลหนุ่มมีกำลัง ไม่ลุกขึ้นในกาลเป็นที่ลุกขึ้น เข้าถึงความเป็นคนเกียจคร้าน มีความดำริอันจมเสียแล้ว ชื่อว่าเป็นคนเกียจคร้าน คนเกียจคร้านย่อมไม่ประสพทางแห่งปัญญา. (๒๐:)

๒๘๑.
วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต, กาเยน จ อกุสลํ น กยิรา;

เอเต ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย, อาราธเย มคฺคํ อิสิปฺปเวทิตํฯ

บุคคลพึงตามรักษาวาจา พึงสำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่พึงทำอกุศลด้วยกาย
พึงชำระกรรมบถ ๓ ประการนี้ให้หมดจด พึงยินดีมรรคที่ฤาษีประกาศแล้ว. (๒๐:)

๒๘๒.
โยคา เว ชายตี ภูริ, อโยคา ภูริสงฺขโย;

เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา, ภวาย วิภวาย จ;

ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย, ยถา ภูริ ปวฑฺฒติฯ

ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้ ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดินเพราะความไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้. (๒๐:๑๐)

๒๘๓.
วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ, วนโต ชายตี ภยํ;

เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ, นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโวฯ

ท่านทั้งหลายจงตัดป่าอย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่ป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายตัดป่าและหมู่ไม้ในป่าแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีป่า. (๒๐:๑๑)

๒๘๔.
ยาวํ หิ วนโถ น ฉิชฺชติ, อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ;

ปฏิพทฺธมโน ว ตาว โส, วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริฯ

เพราะกิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าแม้ประมาณน้อยในนารีของนระ ยังไม่ขาดเพียงใด นระนั้นยังมีใจเกาะเกี่ยว ดุจลูกโคผู้ดื่มกินน้ำนม มีใจเกาะเกี่ยวในมารดาเพียงนั้น. (๒๐:๑๒)

๒๘๕.
อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน, กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา;

สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย, นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํฯ

ท่านจงตัดความรักของตนเสีย ดุจบุคคลเด็ดดอกโกมุทอันเกิดในสรทกาลด้วย
ฝ่ามือ ท่านจงเพิ่มพูนทางสงบอย่างเดียว นิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว. (๒๐:๑๓)

๒๘๖.
อิธ วสฺสํ วสิสฺสามิ, อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ;

อิติ พาโล วิจินฺเตติ, อนฺตรายํ น พุชฺฌติฯ

คนพาลย่อมคิดผิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูฝน จักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อนดังนี้ ย่อมไม่รู้อันตราย. (๒๐:๑๔)

๒๘๗.
ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ, พฺยาสตฺตมนสํ นรํ;

สุตฺตํ คามํ มโหโฆว, มจฺจุ อาทาย คจฺฉติฯ

มัจจุย่อมพาเอาคนผู้มัวเมาในบุตรและปสุสัตว์มีมนัสข้องติดในอารมณ์ต่างๆ เหมือนห้วงน้ำใหญ่พาเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น. (๒๐:๑๕)

๒๘๘.
น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย, น ปิตา นปิ พนฺธวา;

อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส, นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตาฯ

เมื่อบุคคลถูกมัจจุผู้ทำซึ่งที่สุดครอบงำแล้ว บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน
บิดาย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ถึงพวกพ้องทั้งหลายก็ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ความเป็นผู้ต้านทานไม่มีในญาติทั้งหลาย. (๒๐:๑๖)

๒๘๙.
เอตมตฺถวสํ ญตฺวา, ปณฺฑิโต สีลสํวุโต;

นิพฺพานคมนํ มคฺคํ, ขิปฺปเมว วิโสธเยฯ


มคฺควคฺโค วีสติโม นิฏฺฐิโตฯ

บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว พึงเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยศีล พึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลันทีเดียว. (๒๐:๑๗)


Keine Kommentare: