ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์
ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๘
-------------------------------------------------
๑. ธรรมมีอุปการะมาก
ได้แก่อะไรบ้าง ?
บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร
?
ตอบ:
๑. ได้แก่
สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ
ความรู้ตัว ฯ จะเป็นคนหลงลืม
จะทำจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ
จะทำจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ
๒. บุพพการีและกตัญญูกตเวที
คือบุคคลเช่นไร ?
จัดเป็นคู่ไว้อย่างไรบ้าง
?
ตอบ:
๒. บุพพการี
คือบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที คือบุคคลผู้รู้อุปการะ
ที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ จัดเป็นคู่ไว้ดังนี้ บิดามารดา กับ บุตรธิดา,
ครูอาจารย์ กับ ศิษย์, พระมหากษัตริย์ กับ ประชาราษฎร์, พระพุทธเจ้า กับ
พุทธบริษัท, เป็นต้น ฯ
ที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ จัดเป็นคู่ไว้ดังนี้ บิดามารดา กับ บุตรธิดา,
ครูอาจารย์ กับ ศิษย์, พระมหากษัตริย์ กับ ประชาราษฎร์, พระพุทธเจ้า กับ
พุทธบริษัท, เป็นต้น ฯ
๓. พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ
เพราะเหตุไร ?
ตอบ:
๓. เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก
เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามาก
นำประโยชน์
และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ
และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ
๔. ธรรม
๔ อย่าง ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ
ข้อว่า “คบสัตบุรุษ คือคนดี”
นั้น
จะนำไปสู่ความเจริญได้อย่างไร ?
จะนำไปสู่ความเจริญได้อย่างไร ?
ตอบ:
๔. เมื่อคบสัตบุรุษแล้วย่อมเป็นเหตุให้คิดดีพูดดีทำดี
อันก่อให้เกิดความสุขความเจริญ
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งยังให้ถึงความเจริญ
อย่างที่สุดคือพระนิพพานได้ ฯ
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งยังให้ถึงความเจริญ
อย่างที่สุดคือพระนิพพานได้ ฯ
๕. ปัจจยปัจจเวกขณะ
หมายความว่าอย่างไร ?
ตอบ:
๕. หมายความว่า
พิจารณา (ถึงคุณและโทษของปัจจัย
๔)
ก่อน
จึงบริโภคปัจจัย ๔
คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ
คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ
๖. ขันธ์
๕ ได้แก่อะไรบ้าง ?
ย่อเป็น
๒ ได้อย่างไร ?
ตอบ:
๖. ได้แก่
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์
ฯ
รูปขันธ์จัดเป็นรูป
ที่เหลือจัดเป็นนาม ฯ
๗. อปริหานิยธรรม
คืออะไร ?
ข้อที่
๔ ความว่าอย่างไร ?
ตอบ:
๗. คือ
ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว
ฯ
ข้อที่
๔ ความว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์
เคารพนับถือภิกษุ
เหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ฯ
เหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ฯ
๘. ในมรรคมีองค์
๘ คำว่า “เพียรชอบ” คือเพียรอย่างไร
?
ตอบ:
๘. คือ
เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
ฯ
๙. บุคคลจะได้รับประโยชน์ปัจจุบัน
จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมอะไร
?
ตอบ:
๙. ต้องปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
๔ ประการ คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา
ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
ในการประกอบกิจการงาน
ในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำธุระหน้าที่ของตน
ในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำธุระหน้าที่ของตน
๒. อารักขสัมปทา
ถึงพร้อมด้วยการรักษา
ทั้งทรัพย์และการงาน
ไม่ให้เสื่อมไป
๓.
กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
ไม่คบคนชั่ว
๔.
สมชีวิตา
ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้
ฯ
๑๐. มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข
พระพุทธศาสนาแสดงความสุขของผู้ครองเรือนไว้อย่างไร
?
ตอบ:
๑๐. แสดงไว้
๔ อย่าง คือ
๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
ฯ
ผู้ออกข้อสอบ
|
:
|
๑.
|
พระธรรมกวี
|
วัดราชาธิวาส
|
|
|
๒.
|
พระเทพรัตนสุธี
|
วัดปทุมคงคา
|
|
|
๓.
|
พระราชวรมุนี
|
วัดดุสิดาราม
|
ตรวจ/ปรับปรุง
|
:
|
|
สนามหลวงแผนกธรรม
|
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen