Dienstag, 20. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๑. ปกิณณกวรรค


๒๑. ปกิณฺณกวคฺโค
คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑

๒๙๐.
มตฺตา สุขปริจฺจาคา, ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ;

จเช มตฺตาสุขํ ธีโร, สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํฯ

ถ้าว่าปราชญ์พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะสละความสุขพอประมาณไซร้ 
เมื่อปราชญ์เห็นความสุขอันไพบูลย์ พึงสละความสุขพอประมาณเสีย. (๒๑:)

๒๙๑.
ปรทุกฺขูปธาเนน, อตฺตโน สุขมิจฺฉติ;
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ, เวรา โส น ปริมุจฺจติฯ

ผู้ใดปรารถนาความสุขเพื่อตนด้วยการเข้าไปตั้งความทุกข์ไว้ในผู้อื่น
ผู้นั้นระคนแล้วด้วยความเกี่ยวข้องด้วยเวร ย่อมไม่พ้นไปจากเวร. (๒๑:)


๒๙๒.
ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ, อกิจฺจํ ปน กรียติ;

อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ, เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวาฯ

ก็กรรมที่ควรทำภิกษุเหล่านี้ละทิ้งเสียแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใดย่อมทำกรรมที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้นผู้มีมานะดังไม้อ้อยกขึ้นแล้ว ประมาทแล้ว. (๒๑:)

๒๙๓.
เยสญฺจ สุสมารทฺธา, นิจฺจํ กายคตา สติ;

อกิจฺจนฺเต น เสวนฺติ, กิจฺเจ สาตจฺจการิโน;

สตานํ สมฺปชานานํ, อตฺถํ คจฺฉนฺติ อาสวาฯ

ก็กายคตาสติอันภิกษุเหล่าใดปรารภด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นผู้ทำความเพียรเป็นไปติดต่อในกรรมที่ควรทำ ย่อมไม่ส้องเสพกรรมที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายของภิกษุเหล่านั้น ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นไป. (๒๑:)

๒๙๔.
มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา, ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย;

รฏฺฐํ สานุจรํ หนฺตฺวา, อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณฯ

พราหมณ์ฆ่ามารดาบิดาเสียได้ ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ทั้งสองเสียได้ และฆ่า
แว่นแคว้นพร้อมกับนายเสมียนเสียได้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีทุกข์ไป. (๒๑:)

๒๙๕.
มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา, ราชาโน เทฺว จ โสตฺถิเย;
เวยฺยคฺฆปญฺจมํ หนฺตฺวา, อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณฯ

พราหมณ์ฆ่ามารดาบิดาเสียได้ ฆ่าพระราชาผู้เป็นพราหมณ์ทั้งสองเสียได้ และฆ่านิวรณ์มีวิจิกิจฉานิวรณ์ดุจเสือโคร่งเป็นที่ ๕ เสียได้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีทุกข์ไป. (๒๑:)

๒๙๖.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ, สทา โคตมสาวกา;

เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ, นิจฺจํ พุทฺธคตา สติฯ

สติของชนเหล่าใดไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ทั้งกลางวันและกลางคืน ชน
เหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ. (๒๑:)

๒๙๗.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ, สทา โคตมสาวกา;

เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ, นิจฺจํ ธมฺมคตา สติฯ

สติของชนเหล่าใดไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ(๒๑:)

๒๙๘.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ, สทา โคตมสาวกา;

เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ, นิจฺจํ สงฺฆคตา สติฯ

สติของชนเหล่าใดไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ. (๒๑:)

๒๙๙.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ, สทา โคตมสาวกา;

เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ, นิจฺจํ กายคตา สติฯ

สติของชนเหล่าใดไปแล้วในกายเป็นนิตย์ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ. (๒๑:๑๐)

๓๐๐.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ, สทา โคตมสาวกา;

เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ, อหึสาย รโต มโนฯ

ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ. (๒๑:๑๑)

๓๐๑.
สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ, สทา โคตมสาวกา;

เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ, ภาวนาย รโต มโนฯ

ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในภาวนา ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ. (๒๑:๑๒)

๓๐๒.
ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ, ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา;

ทุกฺโข สมานสํวาโส, ทุกฺขานุปติตทฺธคู;

ตสฺมา น จทฺธคู สิยา, น จ ทุกฺขานุปติโต สิยาฯ

การบวชที่ไม่ดี ให้เกิดความยินดีได้ยาก เรือนมีการอยู่ครองไม่ดี นำความทุกข์มาให้ การอยู่ร่วมกับบุคคลผู้ไม่เสมอกัน นำความทุกข์มาให้ ชนผู้เดินทางไกลอันทุกข์ตกตามแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่พึงเดินทางไกลและไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์ตกตามแล้ว. (๒๑:๑๓)

๓๐๓.
สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน, ยโสโภคสมปฺปิโต;

ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ, ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโตฯ

กุลบุตรผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เพรียบพร้อมแล้วด้วยยศ
และโภคะ ไปถึงประเทศใดๆ เป็นผู้อันคนบูชาแล้วในประเทศนั้นๆ แล. (๒๑:๑๔)

๓๐๔.
ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ, หิมวนฺโตว ปพฺพโต;
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ, รตฺติขิตฺตา ยถา สราฯ

สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมวันต์ อสัตบุรุษแม้นั่งแล้วในที่นี้ก็ย่อมไม่ปรากฏเหมือนลูกศรที่บุคคลยิงไปแล้วในเวลากลางคืน ฉะนั้น. (๒๑:๑๕)

๓๐๕.
เอกาสนํ เอกเสยฺยํ, เอโก จรมตนฺทิโต;

เอโก ทมยมตฺตานํ, วนนฺเต รมิโต สิยาฯ

ปกิณฺณกวคฺโค เอกวีสติโม นิฏฺฐิโตฯ

ภิกษุพึงเสพการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไป
ผู้เดียว ฝึกหัดตนผู้เดียว พึงเป็นผู้ยินดีแล้วในที่สุดป่า. (๒๑:๑๖)

Keine Kommentare: