Dienstag, 20. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๒. นิรยวรรค


๒๒. นิรยวคฺโค
คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒

๓๐๖.
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ, โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห;

อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ, นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถฯ

บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรกเช่นเดียวกัน แม้คนทั้งสองนั้นเป็นมนุษย์ผู้มีกรรมเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า. (๒๒:)

๓๐๗.
กาสาวกณฺฐา พหโว, ปาปธมฺมา อสญฺญตา;

ปาปา ปาเปหิ กมฺเมหิ, นิรยนฺเต อุปปชฺชเรฯ

คนเป็นอันมากผู้อันผ้ากาสาวะพันคอแล้ว มีธรรมอันลามก ไม่สำรวม เป็นคนชั่วช้า ย่อมเข้าถึงนรกเพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย. (๒๒:)


๓๐๘.
เสยฺโย อโยคุโฬ ภุตฺโต, ตตฺโต อคฺคิสิขูปโม;

ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ทุสฺสีโล, รฏฺฐปิณฺฑํ อสญฺญโตฯ

ก้อนเหล็กแดงเปรียบด้วยเปลวไฟ อันบุคคลบริโภคแล้วประเสริฐกว่า
บุคคลผู้ทุศีล ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะประเสริฐอะไร. (๒๒:)

๓๐๙.
จตฺตาริ ฐานานิ นโร ปมตฺโต, อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี;

อปุญฺญลาภํ นนิกามเสยฺยํ, นินฺทํ ตติยํ นิรยํ จตุตฺถํฯ

นรชนผู้ประมาทแล้ว ทำชู้ภริยาของผู้อื่น ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่าง คือไม่ได้บุญ ๑
ไม่ได้นอนตามความใคร่ ๑ นินทาเป็นที่ ๓ นรกเป็นที่ ๔. (๒๒:)

๓๑๐.
อปุญฺญลาโภ จ คตี จ ปาปิกา, ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิกา;

ราชา จ ทณฺฑํ ครุกํ ปเณติ, ตสฺมา นโร ปรทารํ น เสเวฯ

การไม่ได้บุญและคติอันลามก ย่อมมีแก่นรชนนั้น ความยินดีของบุรุษผู้กลัวกับหญิงผู้กลัว น้อยนัก และพระราชาทรงลงอาชญาอย่างหนัก เพราะฉะนั้น นรชนไม่ควรทำชู้ภริยาของผู้อื่น. (๒๒:)

๓๑๑.
กุโส ยถา ทุคฺคหิโต, หตฺถเมวานุกนฺตติ;

สามญฺญํ ทุปฺปรามฏฺฐํ, นิรยายูปกฑฺฒติฯ

หญ้าคาบุคคลจับไม่ดีย่อมบาดมือ ฉันใด ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมคร่าเข้าไปในนรก ฉันนั้น. (๒๒:)

๓๑๒.
ยํ กิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ, สงฺกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ;

สงฺกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ, น ตํ โหติ มหปฺผลํฯ

การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ ย่อมไม่มีผลมาก. (๒๒:)

๓๑๓.
กยิรา เจ กยิรเถนํ, ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม;

สิถิโล หิ ปริพฺพาโช, ภิยฺโย อากิรเต รชํฯ

ถ้าจะทำพึงทำกิจนั้นจริงๆ พึงบากบั่นให้มั่น ก็สมณธรรมที่ย่อหย่อน ย่อมเรี่ยรายกิเลสดุจธุลีโดยยิ่ง. (๒๒:)

๓๑๔.
อกตํ ทุกฺกตํ เสยฺโย, ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกตํ;

กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย, ยํ กตฺวา นานุตปฺปติฯ

ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะความชั่วทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ส่วน
ความดีทำนั่นแลเป็นดี เพราะทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง. (๒๒:)

๓๑๕.
นครํ ยถา ปจฺจนฺตํ, คุตฺตํ สนฺตรพาหิรํ;

เอวํ โคเปถ อตฺตานํ, ขโณ โว มา อุปจฺจคา;

ขณาตีตา หิ โสจนฺติ, นิรยมฺหิ สมปฺปิตาฯ

ท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตนเหมือนปัจจันตนคร ที่มนุษย์ทั้งหลายคุ้มครองไว้พร้อมทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้นขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะว่า ผู้ที่ล่วง ขณะ
เสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียดกันในนรก ย่อมเศร้าโศก. (๒๒:๑๐)

๓๑๖.
อลชฺชิตาเย ลชฺชนฺติ, ลชฺชิตาเย น ลชฺชเร;

มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา, สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิย่อมละอายเพราะวัตถุอันบุคคลไม่พึงละอาย ย่อมไม่ละอายเพราะวัตถุอันบุคคลพึงละอาย ย่อมไปสู่ทุคติ. (๒๒:๑๑)

๓๑๗.
อภเย ภยทสฺสิโน, ภเย จ อภยทสฺสิโน;

มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา, สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิ ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่ไม่ควรกลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นในสิ่งที่ควรกลัวว่าไม่ควรกลัว ย่อมไปสู่ทุคติ. (๒๒:๑๒)

๓๑๘.
อวชฺเช วชฺชมติโน, วชฺเช จ อวชฺชทสฺสิโน;

มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา, สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ถือมั่นมิจฉาทิฐิมีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ และมีปกติเห็นในสิ่งที่
มีโทษว่าไม่มีโทษ ย่อมไปสู่ทุคติ. (๒๒:๑๓)

๓๑๙.
วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา, อวชฺชญฺจ อวชฺชโต;

สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึฯ

นิรยวคฺโค ทฺวาวีสติโม นิฏฺฐิโตฯ

สัตว์ทั้งหลายผู้ถือมั่นสัมมาทิฐิ รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมที่มีโทษ และรู้
ธรรมที่หาโทษมิได้โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้ ย่อมไปสู่สุคติ. (๒๒:๑๔)

Keine Kommentare: