Montag, 19. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๗. โกธวรรค


๑๗. โกธวคฺโค
คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

๒๒๑.
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ; สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย;

ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ; อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขาฯ

บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย
พึงก้าวล่วงสังโยชน์เสียทั้งหมด
ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้น
ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล. (๑๗:)

๒๒๒.
โย เว อุปฺปติตํ โกธํ, รถํ ภนฺตํว วารเย;

ตมหํ สารถึ พฺรูมิ, รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโนฯ

บุคคลใดแล พึงห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้
ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลังแล่นไปได้ ฉะนั้น
เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้เป็นคนถือเชือก. (๑๗:)


๒๒๓.
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ, อสาธุํ สาธุนา ชิเน;

ชิเน กทริยํ ทาเนน, สจฺเจนาลิกวาทินํฯ

พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี
พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้
พึงชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์. (๑๗:)

๒๒๔.
สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย, ทชฺชา อปฺปมฺปิ ยาจิโต;

เอเตหิ ตีหิ ฐาเนหิ, คจฺเฉ เทวาน สนฺติเกฯ

พึงกล่าวคำสัตย์ไม่พึงโกรธ
แม้เมื่อมีของน้อย ถูกขอแล้วก็พึงให้
บุคคลพึงไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย
เพราะเหตุ ๓ ประการนี้. (๑๗:)

๒๒๕.
อหึสกา เย มุนโย, นิจฺจํ กาเยน สํวุตา;

เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ, ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเรฯ

มุนีเหล่าใดผู้ไม่เบียดเบียน
สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์
มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่จุติ
ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก. (๑๗:)

๒๒๖.
สทา ชาครมานานํ, อโหรตฺตานุสิกฺขินํ;
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ, อตฺถํ คจฺฉนฺติ อาสวาฯ

อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ
ศึกษาเนืองๆทั้งกลางวันและกลางคืน
ผู้น้อมไปแล้วสู่นิพพาน ย่อมถึงความไม่มี. (๑๗:)

๒๒๗.
โปราณเมตํ อตุล, เนตํ อชฺชตนามิว;

นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ, นินฺทนฺติ พหุภาณินํ;

มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ, นตฺถิ โลเก อนินฺทิโตฯ

ดูกรอตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้
มีมาแต่โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้
คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง ย่อมนินทาแม้ผู้พูดมาก
แม้พูดพอประมาณ ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก. (๑๗:)

๒๒๘.
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ, น เจตรหิ วิชฺชติ;
เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส, เอกนฺตํ วา ปสํสิโตฯ

บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว
หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียว
ไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้. (๑๗:)

๒๒๙.
ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ, อนุวิจฺจ สุเว สุเว;

อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ, ปญฺญาสีลสมาหิตํฯ

ถ้าว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้วทุกวัน
ย่อมสรรเสริญบุคคลใด ผู้มีความ
ประพฤติไม่ขาดเป็นนักปราชญ์
ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล. (๑๗:)

๒๓๐.
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว, โก ตํ นินฺทิตุมรหติ;
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ, พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโตฯ

ใครย่อมควรเพื่อจะนินทาบุคคลนั้น
ผู้เหมือนดังแท่งแห่งทองชมพูนุช
แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น
แม้พรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น. (๑๗:๑๐)

๒๓๑.
กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺย, กาเยน สํวุโต สิยา;

กายทุจฺจริตํ หิตฺวา, กาเยน สุจริตํ จเรฯ

ภิกษุพึงรักษาความกำเริบทางกาย
พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย
ละกายทุจริตแล้ว
พึงประพฤติสุจริตด้วยกาย. (๑๗:๑๑)

๒๓๒.
วจีปโกปํ รกฺเขยฺย, วาจาย สํวุโต สิยา;

วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา, วาจาย สุจริตํ จเรฯ

พึงรักษาความกำเริบทางวาจา
พึงเป็นผู้สำรวมด้วยวาจา
ละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยวาจา. (๑๗:๑๒)

๒๓๓.
มโนปโกปํ รกฺเขยฺย, มนสา สํวุโต สิยา;

มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา, มนสา สุจริตํ จเรฯ

พึงรักษาความกำเริบทางใจ
พึงเป็นผู้สำรวมด้วยใจ
ละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยใจ. (๑๗:๑๓)

๒๓๔.
กาเยน สํวุตา ธีรา, อโถ วาจาย สํวุตา;

มนสา สํวุตา ธีรา, เต เว สุปริสํวุตาฯ
โกธวคฺโค สตฺตรสโม นิฏฺฐิโตฯ

นักปราชญ์ทั้งหลาย สำรวมแล้วด้วยกาย
สำรวมแล้วด้วยวาจา สำรวมแล้วด้วยใจ
ท่านเหล่านั้นแล สำรวมเรียบร้อยแล้ว. (๑๗:๑๔)

Keine Kommentare: