๑๖.
ปิยวคฺโค
คาถาธรรมบทปิยวรรคที่ ๑๖
๒๐๙.
อโยเค
ยุญฺชมตฺตานํ,
โยคสฺมิญฺจ
อโยชยํ;
อตฺถํ
หิตฺวา ปิยคฺคาหี,
ปิเหตตฺตานุโยคินํฯ
บุคคลประกอบตนในกิจที่ไม่ควรประกอบ
และไม่ประกอบ
ตนในกิจที่ควรประกอบ
ละประโยชน์เสีย มักถือเอาสัตว์
หรือสังขารว่าเป็นที่รัก
ย่อมทะเยอทะยานต่อบุคคลผู้ประกอบตามตน.
(๑๖:๑)
๒๑๐.
มา
ปิเยหิ สมาคญฺฉิ,
อปฺปิเยหิ
กุทาจนํ;
ปิยานํ
อทสฺสนํ ทุกฺขํ,
อปฺปิยานญฺจ
ทสฺสนํฯ
บุคคลอย่าสมาคมแล้วด้วยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่
รัก
หรือด้วยสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก
ในกาลไหนๆ
เพราะการไม่เห็นสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
และการเห็น
สัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก
เป็นทุกข์.
(๑๖:๒)
๒๑๑.
ตสฺมา
ปิยํ น กยิราถ,
ปิยาปาโย
หิ ปาปโก;
คนฺถา
เตสํ น วิชฺชนฺติ,
เยสํ
นตฺถิ ปิยาปฺปิยํฯ
เพราะเหตุนั้น
บุคคลไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก
เพราะการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
ลามก
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีสัตว์
และสังขารอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก.
(๑๖:๓)
๒๑๒.
ปิยโต
ชายตี โสโก,
ปิยโต
ชายตี ภยํ;
ปิยโต
วิปฺปมุตฺตสฺส,
นตฺถิ
โสโก กุโต ภยํฯ
ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก
ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากของที่รัก
ภัยจักมีแต่ที่ไหน.
(๑๖:๔)
๒๑๓.
เปมโต
ชายตี โสโก,
เปมโต
ชายตี ภยํ;
เปมโต
วิปฺปมุตฺตสฺส,
นตฺถิ
โสโก กุโต ภยํฯ
ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก
ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก
ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากความรัก
ภัยจักมีแต่ที่ไหน.
(๑๖:๕)
๒๑๔.
รติยา
ชายตี โสโก,
รติยา
ชายตี ภยํ;
รติยา
วิปฺปมุตฺตสฺส,
นตฺถิ
โสโก กุโต ภยํฯ
ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี
ภัยย่อมเกิดแต่ความยินดี
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากความยินดี
ภัยจักมีแต่ที่ไหน.
(๑๖:๖)
๒๑๕.
กามโต
ชายตี โสโก,
กามโต
ชายตี ภยํ;
กามโต
วิปฺปมุตฺตสฺส,
นตฺถิ
โสโก กุโต ภยํฯ
ความโศกย่อมเกิดแต่กาม
ภัยย่อมเกิดแต่กาม
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากกาม
ภัยจักมีแต่ที่ไหน.
(๑๖:๗)
๒๑๖.
ตณฺหาย
ชายตี โสโก,
ตณฺหาย
ชายตี ภยํ;
ตณฺหาย
วิปฺปมุตฺตสฺส,
นตฺถิ
โสโก กุโต ภยํฯ
ความโศกย่อมเกิดแต่ตัณหา
ภัยย่อมเกิดแต่ตัณหา
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากตัณหา
ภัยจักมีแต่ที่ไหน.
(๑๖:๘)
๒๑๗.
สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ,
ธมฺมฏฺฐํ
สจฺจเวทินํ;
อตฺตโน
กมฺมกุพฺพานํ,
ตญฺชโน
กุรุเต ปิยํฯ
ชนย่อมกระทำบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัศนะ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
มีปกติกล่าวคำสัจ ผู้ทำการงานของตน
ให้เป็นที่รัก.
(๑๖:๙)
๒๑๘.
ฉนฺทชาโต
อนกฺขาเต,
มนสา
จ ผุโฏ สิยา;
กาเมสุ
จ อปฏิพทฺธจิตฺโต,
อุทฺธํโสโตติ
วุจฺจติฯ
ภิกษุพึงเป็นผู้มีความพอใจในนิพพาน
เป็นผู้อันใจถูกต้อง
และเป็นผู้มีจิตไม่เกี่ยวเกาะแล้วในกาม
ภิกษุนั้น
เรากล่าวว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน.
(๑๖:๑๐)
๒๑๙.
จิรปฺปวาสึ
ปุริสํ,
ทูรโต
โสตฺถิมาคตํ;
ญาตี
มิตฺตา สุหชฺชา จ,
อภินนฺทนฺติ
อาคตํฯ
ญาติมิตร
และเพื่อนผู้มีใจดี
ย่อมชื่นชมต่อบุรุษผู้จากไป
สิ้นกาลนาน
กลับมาแล้วโดยสวัสดี แต่ที่ไกล
ว่ามาแล้ว.
(๑๖:๑๑)
๒๒๐.
ตเถว
กตปุญฺญมฺปิ,
อสฺมา
โลกา ปรํ คตํ;
ปุญฺญานิ
ปฏิคณฺหนฺติ,
ปิยํ
ญาตีว อาคตํฯ
ปิยวคฺโค
โสฬสโม นิฏฺฐิโตฯ
บุญทั้งหลาย
ย่อมต้อนรับแม้บุคคลผู้ทำบุญไว้
ซึ่งจากโลกนี้ไป
สู่โลกอื่น
ดุจญาติต้อนรับญาติที่รักผู้มาแล้ว
ฉะนั้น.
(๑๖:๑๒)
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen