Sonntag, 18. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๕. สุขวรรค


๑๕. สุขวคฺโค
คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕

๑๙๗.
สุสุขํ วต ชีวาม, เวริเนสุ อเวริโน;
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ, วิหราม อเวริโนฯ

เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวร
ในพวกมนุษย์ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่
เป็นอยู่สบายดีหนอ. (๑๕:)

๑๙๘.
สุสุขํ วต ชีวาม, อาตุเรสุ อนาตุรา;

อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ, วิหราม อนาตุราฯ

เมื่อพวกมนุษย์มีความเร่าร้อนกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่เร่าร้อน
ในพวกมนุษย์ผู้มีเร่าร้อน เราเป็นผู้ไม่มีความเร่าร้อนอยู่
เป็นอยู่สบายดีหนอ. (๑๕:)


๑๙๙.
สุสุขํ วต ชีวาม, อุสฺสุเกสุ อนุสฺสุกา;

อุสฺสุเกสุ มนุสฺเสสุ, วิหราม อนุสฺสุกาฯ

เมื่อพวกมนุษย์มีความขวนขวายอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย
ในพวกมนุษย์มีความขวนขวาย เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่
เป็นอยู่สบายดีหนอ. (๑๕:)

๒๐๐.
สุสุขํ วต ชีวาม, เยสนฺโน นตฺถิ กิญฺจนํ;

ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม, เทวา อาภสฺสรา ยถาฯ

เราไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เป็นอยู่สบายดีหนอ
เรามีปีติเป็นภักษาเหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสสรา. (๑๕:)

๒๐๑.
ชยํ เวรํ ปสวติ, ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต;

อุปสนฺโต สุขํ เสติ, หิตฺวา ชยปราชยํฯ

ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์ พระขีณาสพผู้สงบระงับ
ละความชนะความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข. (๑๕:)
๒๐๒.
นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ, นตฺถิ โทสสโม กลิ;

นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา, นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํฯ

ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี
ทุกข์เช่นด้วยขันธ์ไม่มี สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี. (๑๕:)

๒๐๓.
ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา, สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา;

เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ, นิพฺพานํ ปรมํ สุขํฯ

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
บัณฑิตทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้
แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. (๑๕:)

๒๐๔.
อาโรคฺยปรมา ลาภา, สนฺตุฏฺฐีปรมํ ธนํ;

วิสฺสาสปรมา ญาติ, นิพฺพานํ ปรมํ สุขํฯ

ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
ญาติทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. (๑๕:)

๒๐๕.
ปวิเวกรสํ ปิตฺวา, รสํ อุปสมสฺส จ;

นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป, ธมฺมปีติรสํ ปิวํฯ

บุคคลเพราะดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสแห่งความสงบแล้ว
เมื่อดื่มรสคือปีติในธรรม ย่อมไม่มีความกระวนกระวายไม่มีบาป. (๑๕:)

๒๐๖.
สาหุ ทสฺสนมริยานํ, สนฺนิวาโส สทา สุโข;
อทสฺสเนน พาลานํ, นิจฺจเมว สุขี สิยาฯ

การเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลายเป็นความดี
การอยู่ร่วมกับพระอริยะเจ้าเหล่านั้น เป็นสุขทุกเมื่อ
บุคคลพึงเป็นผู้มีความสุขเป็นนิตย์ได้
เพราะการไม่เห็นคนพาลทั้งหลาย. (๑๕:๑๐)

๒๐๗.
พาลสงฺคตจารี หิ, ทีฆมทฺธาน โสจติ;

ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส, อมิตฺเตเนว สพฺพทา;

ธีโร จ สุขสํวาโส, ญาตีนํว สมาคโมฯ

ด้วยว่า บุคคลผู้สมคบกับคนพาลเที่ยวไป ย่อมเศร้าโศกสิ้น
กาลนาน การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนการ
อยู่ร่วมกับศัตรู ส่วนนักปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือน
สมาคมแห่งญาติ. (๑๕:๑๑)

๒๐๘.
ตสฺมา หิ-

ธีรญฺจ ปญฺญญฺจ พหุสฺสุตญฺจ, โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ;
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ, ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมาฯ



สุขวคฺโค ปณฺณรสโม นิฏฺฐิโตฯ

เพราะเหตุนั้นแล
บุคคลพึงคบบุคคลนั้นผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต
มีปกตินำธุระไป มีวัตร เป็นพระอริยะ เป็นสัปบุรุษ ผู้มีปัญญาดีเช่นนั้น
เหมือนพระจันทร์คบครองแห่งนักษัตร ฉะนั้น. (๑๕:๑๒)

Keine Kommentare: