๑๔.
พุทฺธวคฺโค
คาถาธรรมบท
พุทธวรรคที่ ๑๔
๑๗๙.
ยสฺส
ชิตํ นาวชียติ,
ชิตมสฺส
โน ยาติ โกจิ โลเก;
ตํ
พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ,
อปทํ
เกน ปเทน เนสฺสถฯ
กิเลสชาติอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว
อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้
กิเลสชาติหน่อยหนึ่งในโลกย่อมไม่ไปหา
กิเลสชาติที่พระองค์ทรงชนะแล้ว
ท่านทั้งหลายจักนำพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีอารมณ์หาที่สุดมิได้
ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไร.
(๑๔:๑)
๑๘๐.
ยสฺส
ชาลินี วิสตฺติกา,
ตณฺหา
นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว;
ตํ
พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ,
อปทํ
เกน ปเทน เนสฺสถฯ
ตัณหามีข่ายส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ
ไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
เพื่อจะนำไปในภพไหนๆ
ท่านทั้งหลายจัก
นำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ตรัสรู้แล้ว
๑๘๑.
เย
ฌานปสุตา ธีรา,
เนกฺขมฺมูปสเม
รตา;
เทวาปิ
เตสํ ปิหยนฺติ,
สมฺพุทฺธานํ
สตีมตํฯ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด
ผู้ขวนขวายแล้วในฌาน
เป็นนักปราชญ์
ยินดีแล้วในธรรมเป็นที่เข้าไประงับ
คือ
เนกขัมมะ แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรักใคร่พระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น.
(๑๔:๓)
๑๘๒.
กิจฺโฉ
มนุสฺสปฏิลาโภ,
กิจฺฉํ
มจฺจาน ชีวิตํ;
กิจฺฉํ
สทฺธมฺมสฺสวนํ,
กิจฺโฉ
พุทฺธานมุปฺปโทฯ
การได้เฉพาะความเป็นมนุษย์ยาก
ความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายยาก
การฟังพระสัทธรรมยาก
การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายยาก.
(๑๔:๔)
๑๘๓.
สพฺพปาปสฺส
อกรณํ,
กุสลสฺส
อุปสมฺปทา;
สจิตฺตปริโยทปนํ,
เอตํ
พุทฺธาน สาสนํฯ
ความไม่ทำบาปทั้งปวง
ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม
ความชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
(๑๔:๕)
๑๘๔.
ขนฺตี
ปรมํ ตโป ตีติกฺขา,
นิพฺพานํ
ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา;
น
หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี,
สมโณ
โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
ความอดทน
คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง
ผู้ฆ่าสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย.
(๑๔:๖)
๑๘๕.
อนูปวาโท
อนูปฆาโต,
ปาติโมกฺเข
จ สํวโร;
มตฺตญฺญุตา
จ ภตฺตสฺมึ,
ปนฺตญฺจ
สยนาสนํ;
อธิจิตฺเต
จ อาโยโค,
เอตํ
พุทฺธาน สาสนํฯ
การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน
๑ การไม่เข้าไปฆ่า ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์
๑ ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในภัต
๑ การนอนการนั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต
๑
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
(๑๔:๗)
๑๘๖.
น
กหาปณวสฺเสน,
ติตฺติ
กาเมสุ วิชฺชติ;
อปฺปสฺสาทา
ทุกฺขา กามา,
อิติ
วิญฺญาย ปณฺฑิโตฯ
ความอิ่มในกามทั้งหลาย
ย่อมไม่มีเพราะฝน คือ
กหาปณะ
กามทั้งหลายมีความเพลิดเพลิน
[ยินดี]
น้อย
เป็นทุกข์ บัณฑิตรู้แล้วด้วยประการฉะนี้.
(๑๔:๘)
๑๘๗.
อปิ
ทิพฺเพสุ กาเมสุ,
รตึ
โส นาธิคจฺฉติ;
ตณฺหกฺขยรโต
โหติ,
สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโกฯ
ท่านย่อมไม่ถึงความยินดีในในกามทั้งหลาย
แม้อันเป็นทิพย์
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา.
(๑๔:๙)
๑๘๘.
พหุํ
เว สรณํ ยนฺติ,
ปพฺพตานิ
วนานิ จ;
อารามรุกฺขเจตฺยานิ,
มนุสฺสา
ภยตชฺชิตาฯ
มนุษย์เป็นอันมากแล
ถูกภัยคุกคามแล้ว
ย่อมถึงภูเขา
ป่าอารามและรุกขเจดีย์ว่า
เป็นที่พึ่ง.
(๑๔:๑๐)
๑๘๙.
เนตํ
โข สรณํ เขมํ,
เนตํ
สรณมุตฺตมํ;
เนตํ
สรณมาคมฺม,
สพฺพทุกฺขา
ปมุจฺจติฯ
ที่พึ่งนั้นแลไม่เกษม
ที่พึ่งนั้นไม่อุดม เพราะ
บุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น
ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
(๑๔:๑๑)
๑๙๐.
โย
จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ,
สงฺฆญฺจ
สรณํ คโต;
จตฺตาริ
อริยสจฺจานิ,
สมฺมปฺปญฺญาย
ปสฺสติฯ
ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่ง
ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ.
(๑๔:๑๒)
๑๙๑.
ทุกฺขํ
ทุกฺขสมุปฺปาทํ,
ทุกฺขสฺส
จ อติกฺกมํ;
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ
มคฺคํ,
ทุกฺขูปสมคามินํฯ
คือ
ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์
ความก้าวล่วงทุกข์
และอริยมรรคประกอบด้วยองค์
๘ อัน
ให้ถึงความสงบระงับทุกข์.
(๑๔:๑๓)
๑๙๒.
เอตํ
โข สรณํ เขมํ,
เอตํ
สรณมุตฺตมํ;
เอตํ
สรณมาคมฺม,
สพฺพทุกฺขา
ปมุจฺจติฯ
ที่พึ่งนั้นแลเป็นที่พึ่งอันเกษม
ที่พึ่งนั้นอุดม เพราะ
บุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
(๑๔:๑๔)
๑๙๓.
ทุลฺลโภ
ปุริสาชญฺโญ,
น
โส สพฺพตฺถ ชายติ;
ยตฺถ
โส ชายตี ธีโร,
ตํ
กุลํ สุขเมธติฯ
บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก
ท่านย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป
ท่านเป็นนักปราชญ์ย่อมเกิดในสกุลใด
สกุลนั้นย่อมถึงความสุข.
(๑๔:๑๕)
๑๙๔.
สุโข
พุทฺธานมุปฺปาโท,
สุขา
สทฺธมฺมเทสนา;
สุขา
สงฺฆสฺส สามคฺคี,
สมคฺคานํ
ตโป สุโขฯ
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นำสุขมาให้
พระสัทธรรมเทศนานำสุขมาให้
ความพร้อมเพรียงแห่งหมู่นำสุขมาให้
ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข.
(๑๔:๑๖)
๑๙๕.
ปูชารเห
ปูชยโต,
พุทฺเธ
ยทิ จ สาวเก;
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต,
ติณฺณโสกปริทฺทเวฯ
ใครๆ
ไม่อาจนับบุญของบุคคลผู้บูชาซึ่งปูชารหบุคคล
คือ
พระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้ก้าวล่วงธรรมเครื่องเนิ่นช้า
ผู้ข้ามความโศกและ
ความร่ำไรได้แล้ว
ว่าบุญนี้มีประมาณเท่านี้.
(๑๔:๑๗)
๑๙๖.
เต
ตาทิเส ปูชยโต,
นิพฺพุเต
อกุโตภเย;
น
สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตุํ,
อิเมตฺตมปิ
เกนจิฯ
พุทฺธวคฺโค
จุทฺทสโม นิฏฺฐิโตฯ
ใครๆ
ไม่อาจนับบุญของบุคคลผู้บูชาปูชารหบุคคลเหล่านั้น
ผู้คงที่
ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ
ว่าบุญนี้ประมาณเท่านี้ .
(๑๔:๑๘)
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen