Sonntag, 18. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๓. โลกวรรค



๑๓. โลกวคฺโค
คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

๑๖๗.
หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย, ปมาเทน น สํวเส;

มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย, น สิยา โลกวฑฺฒโนฯ

บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความ
ประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก. (๑๓:)

๑๖๘.
อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย, ธมฺมํ สุจริตํ จเร;

ธมฺมจารี สุขํ เสติ, อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จฯ

ภิกษุไม่พึงประมาทในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อม
อยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า. (๑๓:)


๑๖๙.
ธมฺมํ จเร สุจริตํ, น นํ ทุจฺจริตํ จเร;

ธมฺมจารี สุขํ เสติ, อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จฯ

พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต ผู้ประพฤติ
ธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า. (๑๓:)

๑๗๐.
ยถา ปุพฺพุฬกํ ปสฺเส, ยถา ปสฺเส มรีจิกํ;

เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ, มจฺจุราชา น ปสฺสติฯ

มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก
ดุจบุคคลเห็นฟองน้ำเห็นพยับแดด ฉะนั้น. (๑๓:)

๑๗๑.
เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ, จิตฺตํ ราชรถูปมํ;

ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ, นตฺถิ สงฺโค วิชานตํฯ

ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตรเปรียบด้วยราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่. (๑๓:)

๑๗๒.
โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา, ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ;

โสมํ โลกํ ปภาเสติ, อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมาฯ

ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลังผู้
นั้นย่อมไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น (๑๓:

๑๗๓.
ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ, กุสเลน ปิถียติ;

โสมํ โลกํ ปภาเสติ, อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมาฯ

ผู้ใดทำกรรมอันลามกผู้นั้นย่อมปิด [ละ]
เสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น. (๑๓:)

๑๗๔.
อนฺธภูโต อยํ โลโก, ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ;

สกุโณ ชาลมุตฺโตว, อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติฯ

โลกนี้มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง
สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อยดุจนกพ้นจากข่าย. (๑๓:)

๑๗๕.
หํสาทิจฺจปเถ ยนฺติ, อากาเส ยนฺติ อิทฺธิยา;
นียนฺติ ธีรา โลกมฺหา, เชตฺวา มารํ สวาหนํฯ

ฝูงหงส์ย่อมไปในทางพระอาทิตย์ ท่านผู้เจริญ
อิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์
ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลก. (๑๓:)

๑๗๖.
เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส, มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน;

วิติณฺณปรโลกสฺส, นตฺถิ ปาปํ อการิยํฯ

คนล่วงธรรมอย่างเอกเสียแล้ว เป็นคนมักพูดเท็จ ข้าม
โลกหน้าเสียแล้ว ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี. (๑๓:๑๐)

๑๗๗.
น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ, พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ;

ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน, เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺถฯ

คนตระหนี่ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย
คนพาลย่อมไม่สรรเสริญทานโดยแท้
ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน เพราะการอนุโมทนาทาน
นั่นเอง ท่านย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า. (๑๓:๑๑)

๑๗๘.
ปฐวฺยา เอกรชฺเชน, สคฺคสฺส คมเนน วา;
สพฺพโลกาธิปจฺเจน, โสตาปตฺติผลํ วรํฯ



โลกวคฺโค เตรสโม นิฏฺฐิโตฯ

โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน
กว่าความไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง. (๑๓:๑๒)


Keine Kommentare: