Sonntag, 18. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๒. อัตตวรรค



๑๒. อตฺตวคฺโค
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒

๑๕๗.
อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา, รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ;

ติณฺณํ อญฺญตรํ ยามํ, ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโตฯ

หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้
พึงรักษาตนนั้นไว้ ให้เป็นอัตภาพอันตนรักษาดีแล้ว
บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง (๑๒:)

๑๕๘.
อตฺตานเมว ปฐมํ, ปฏิรูเป นิเวสเย;

อถญฺญมนุสาเสยฺย, น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโตฯ

บุคคลพึงยังตนนั้นแลให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน
พึงพร่ำสอนผู้อื่นในภายหลัง บัณฑิตไม่พึงเศร้าหมอง. (๑๒:)


๑๕๙.
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา, ยถญฺญมนุสาสติ;

สุทนฺโต วต ทเมถ, อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโมฯ

หากว่าภิกษุพึงทำตนเหมือนอย่างที่ตนพร่ำสอนคนอื่นไซร้
ภิกษุนั้นมีตนอันฝึกดีแล้วหนอ พึงฝึก ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก. (๑๒:)

๑๖๐.
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ, โก หิ นาโถ ปโร สิยา;

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน, นาถํ ลภติ ทุลฺลภํฯ

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้
เพราะว่าบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก. (๑๒:)

๑๖๑.
อตฺตนา ว กตํ ปาปํ, อตฺตชํ อตฺตสมฺภวํ;

อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ, วชิรํวมฺหยํ มณึฯ

ความชั่วที่ตนทำไว้เองเกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด
ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม ดุจเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น. (๑๒:)

๑๖๒.
ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ, มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ;
กโรติ โส ตถตฺตานํ, ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโสฯ

ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน ย่อมรวบรัดอัตภาพของบุคคลใด
ทำให้เป็นอัตภาพอันตนรัดลงแล้ว เหมือนเถาย่านทรายรวบรัด
ไม้สาละให้เป็นอันท่วมทับแล้ว บุคคลนั้นย่อมทำตน เหมือนโจรผู้เป็นโจก
ปรารถนาโจรผู้เป็นโจก ฉะนั้น. (๑๒:)

๑๖๓.
สุกรานิ อสาธูนิ, อตฺตโน อหิตานิ จ;

ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ, ตํ เว ปรมทุกฺกรํฯ

กรรมไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดแล
เป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง. (๑๒:)

๑๖๔.
โย สาสนํ อรหตํ, อริยานํ ธมฺมชีวินํ;

ปฏิกฺโกสติ ทุมฺเมโธ, ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปิกํ;

ผลานิ กณฺฏกสฺเสว, อตฺตฆาตาย ผลฺลติฯ

ผู้ใดมีปัญญาทราม อาศัยทิฐิอันลามก ย่อมคัดค้านคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า ผู้อรหันต์ เป็นพระอริยเจ้า มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม
การคัดค้านและทิฐิอันลามกของผู้นั้น ย่อมเผล็ดเพื่อฆ่าตน
เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น. (๑๒:)

๑๖๕.
อตฺตนา หิ กตํ ปาปํ, อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ;

อตฺตนา อกตํ ปาปํ, อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ;

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ, นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเยฯ

ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง
ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง
ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่. (๑๒:)

๑๖๖.
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน, พหุนาปิ น หาปเย;

อตฺตทตฺถมภิญฺญาย, สทตฺถปสุโต สิยาฯ



อตฺตวคฺโค ทฺวาทสโม นิฏฺฐิโตฯ

บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม
เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก
บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว
พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน. (๑๒:๑๐)

Keine Kommentare: