Samstag, 19. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๑๑. ชราวรรค


๑๑. ชราวคฺโค
คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑

๑๔๖.
โก นุ หาโส กิมานนฺโท, นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ
อนฺธกาเรน โอนทฺธา, ปทีปํ น คเวสถฯ

ร่าเริงอะไรกันหนอ ยินดีอะไรกัน 
ในเมื่อโลกสันนิวาสถูกไฟไหม้โพล่งแล้วเป็นนิตย์
 ท่านทั้งหลายถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว 
เพราะเหตุไรจึงไม่แสวงหาประทีป. (๑๑:)

๑๔๗.
ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ, อรุกายํ สมุสฺสิตํ;
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ, ยสฺส นตฺถิ ธุวณฺฐิติฯ

ท่านจงดูอัตภาพอันบุญกรรมทำให้วิจิตรแล้ว
มีกายเป็นแผล อันกระดูกสามร้อยท่อนปรุงขึ้นแล้ว
กระสับกระส่าย อันมหาชนดำริกันโดยมาก
ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง. (๑๑:)


๑๔๘.
ปริชิณฺณมิทํ รูปํ, โรคนิทฺธํ ปภงฺคุณํ;
ภิชฺชติ ปูติ สนฺเทโห, มรณนฺตํ หิ ชีวิตํฯ

รูปนี้คร่ำคร่าแล้ว เป็นรังแห่งโรค
ผุพัง กายของตนอันเปื่อยเน่าจะแตก
เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด. (๑๑:)

๑๔๙.
ยานิมานิ อปตฺถานิ, อลาพูเนว สารเท;

กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ, ตานิ ทิสฺวาน กา รติฯ

กระดูกเหล่าใดเขาไม่ปรารถนาแล้ว เหมือน
น้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ
จะยินดีอะไร เพราะได้เห็นกระดูกเหล่านั้น. (๑๑:)

๑๕๐.
อฏฺฐีนํ นครํ กตํ, มํสโลหิตเลปนํ;

ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ, มาโน มกฺโข จ โอหิโตฯ

สรีระอันกรรมสร้างสรรให้เป็นเมืองแห่งกระดูก
มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องไล้ทา เป็นที่ตั้งแห่งความแก่ 
ความตาย ความถือตัว และความลบหลู่. (๑๑:)

๑๕๑.
ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา,
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ;

สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ,
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติฯ

ราชรถทั้งหลายอันวิจิตรย่อมคร่ำคร่าได้โดยแท้
อนึ่งแม้สรีระก็เข้าถึงความคร่ำคร่า
ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า
สัตบุรุษแลย่อมสนทนาด้วยสัตบุรุษ. (๑๑:)

๑๕๒.
อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส, พลิวทฺโทว ชีรติ;

มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ, ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติฯ

บุรุษมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อของเขา
ย่อมเจริญ [แต่] ปัญญาของเขาหาเจริญไม่. (๑๑:)

๑๕๓.
อเนกชาติสํสารํ, สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ;

คหการกํ คเวสนฺโต, ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํฯ

เราแสวงหานายช่างเรือนอยู่ เมื่อยังไม่ประสบ
แล่นไปแล้วสู่สงสารมีชาติไม่น้อย ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป. (๑๑:)

๑๕๔.
คหการก ทิฏฺโฐสิ, ปุน เคหํ น กาหสิ;

สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา, คหกูฏํ วิสงฺขตํ;

วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ, ตณฺหานํ ขยมชฺฌคาฯ

แน่ะนายช่างเรือน บัดนี้เราพบท่านแล้ว 
ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนอีก 
ซี่โครงของท่านทั้งหมดเราหักแล้ว
ยอดเรือนเราขจัดเสียแล้ว 
จิตของเราถึงแล้วซึ่งนิพพานอันปราศจากสังขาร
 เราบรรลุความสิ้นแห่งตัณหาแล้ว. (๑๑:)

๑๕๕.
อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ, อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ;
 
ชิณฺณโกญฺจาว ฌายนฺติ, ขีณมจฺเฉว ปลฺลเลฯ

คนพาลทั้งหลายไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์
ในคราวเป็นหนุ่ม ย่อมซบเซา เหมือนนกกะเรียน
แก่ ซบเซาอยู่บนเปือกตม ซึ่งสิ้นปลาแล้ว ฉะนั้น. (๑๑:๑๐)

๑๕๖.
อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ, อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ
เสนฺติ จาปาติขีณาว, ปุราณานิ อนุตฺถุนํฯ

 

ชราวคฺโค เอกาทสโม นิฏฺฐิโตฯ

คนพาลทั้งหลายไม่ประพฤติพรหมจรรย์ 
ไม่ได้ทรัพย์ในคราวเป็นหนุ่ม 
ย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์เก่า 
เหมือนลูกศรสิ้นไปแล้วจากแล่ง ฉะนั้น. (๑๑:๑๑)

จบชราวรรคที่ ๑๑

Keine Kommentare: