Donnerstag, 17. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๑๐. ทัณฑวรรค


๑๐. ทณฺฑวคฺโค
คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐

๑๒๙.
สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน;

อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา, น หเนยฺย น ฆาตเยฯ

ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อม
สะดุ้งต่ออาชญาสัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย
แล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า. (๑๐:)

๑๓๐.
สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา, น หเนยฺย น ฆาตเยฯ

ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อม
สะดุ้งต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของสัตว์ทั้งปวง
แล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า. (๑๐:)


๑๓๑.
สุขกามานิ ภูตานิ, โย ทณฺเฑน วิหึสติ;

อตฺตโน สุขเมสาโน, เปจฺจ โส น ลภเต สุขํฯ

ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียน
สัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุขด้วยอาชญา
ผู้นั้นย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า. (๑๐:)

๑๓๒.
สุขกามานิ ภูตานิ, โย ทณฺเฑน น หึสติ;

อตฺตโน สุขเมสาโน, เปจฺจ โส ลภเต สุขํฯ

ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมไม่เบียดเบียน
สัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข ด้วยอาชญา
ผู้นั้นย่อมได้ความสุขในโลกหน้า. (๑๐:)

๑๓๓.
มาโวจ ผรุสํ กญฺจิ, วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ;

ทุกฺขา หิ สารมฺภกถา, ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ตํฯ

ท่านอย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ
ผู้ที่ท่านกล่าวแล้วพึงกล่าวตอบท่าน
เพราะว่าถ้อยคำแข่งดีให้เกิดทุกข์
อาชญาตอบพึงถูกต้องท่าน. (๑๐:)

๑๓๔.
สเจ เนเรสิ อตฺตานํ, กํโส อุปหโต ยถา;

เอส ปตฺโตสิ นิพฺพานํ, สารมฺโภ เต น วิชฺชติฯ

ถ้าท่านไม่ยังตนให้หวั่นไหวดุจกังสดาลถูกขจัดแล้ว
ท่านนี้ จะเป็นผู้ถึงนิพพาน ความแข็งดีย่อมไม่มีแก่ท่าน. (๑๐:)

๑๓๕.
ยถา ทณฺเฑน โคปาโล, คาโว ปาเชติ โคจรํ;
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ, อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํฯ

นายโคบาลย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน ด้วยท่อนไม้ฉันใด
ความแก่และความตายย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น. (๑๐:)

๑๓๖.
อถ ปาปานิ กมฺมานิ, กรํ พาโล น พุชฺฌติ;
 
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ, อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติฯ

คนพาลผู้ไร้ปัญญาทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้สึก
ภายหลังย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนเอง
เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้ ฉะนั้น. (๑๐:)

๑๓๗.
โย ทณฺเฑน อทณฺเฑสุ, อปฺปทุฏฺเฐสุ ทุสฺสติ;
ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ, ขิปฺปเมว นิคจฺฉติฯ

ผู้ใดย่อมประทุษร้ายในพระขีณาสพผู้ไม่มีอาชญา
ผู้ไม่ประทุษร้าย ด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเหตุ
แห่งทุกข์ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว. (๑๐:)

๑๓๘.
เวทนํ ผรุสํ ชานึ, สรีรสฺส จ เภทนํ;

ครุกํ วาปิ อาพาธํ, จิตฺตกฺเขปํ ว ปาปุเณฯ

คือเวทนาหยาบช้า ความเสื่อมทรัพย์
ความแตกแห่งสรีระอาพาธหนัก ความฟุ้งซ่านแห่งจิต. (๑๐:๑๐)

๑๓๙.
ราชโต วา อุปสคฺคํ, อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ;
 
ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ, โภคานํ ว ปภงฺคุณํฯ

ความขัดข้องแต่พระราชาการกล่าวตู่อันร้ายแรง
ความสิ้นญาติ ความย่อยยับแห่งโภคะทั้งหลาย. (๑๐:๑๑

๑๔๐.
อถ วาสฺส อคารานิ, อคฺคิ ฑหติ ปาวโก;

กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโญ, นิรยํ โส อุปปชฺชติฯ

หรือไฟย่อมไหม้เรือนของเขา เมื่อตายไป
เขาผู้ไร้ปัญญา ย่อมเข้าถึงนรก. (๑๐:๑๒)

๑๔๑.
น นคฺคจริยา น ชฏา น ปงฺกา,
นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา;

รโชชลฺลํ อุกฺกุฏิกปฺปธานํ,
โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํฯ

ความประพฤติเปลือย การทรงชฎาการนอนที่เปือกตม
การไม่กินข้าว หรือการนอนเหนือแผ่นดิน ความคลุกคลีด้วยธุลี
ความเพียรอันปรารภด้วยความเป็นคนกระโหย่ง
ยังสัตว์มีความสงสัยอันข้ามไม่ได้แล้วให้หมดจดไม่ได้. (๑๐:๑๓)

๑๔๒.
อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย,
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี;

สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ,
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุฯ

ถ้าแม้บุคคลผู้ประดับแล้ว เป็นผู้สงบ ฝึกแล้วเที่ยงแล้ว
เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ วางอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก
แล้วพึงประพฤติสม่ำเสมอไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นสมณะ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ. (๑๐:๑๔)

๑๔๓.
หิรินิเสโธ ปุริโส, โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ;

โย นิทฺทํ อปโพเธติ, อสฺโส ภทฺโร กสามิวฯ

บุรุษผู้เกียดกันอกุศลวิตกด้วยหิริ มีอยู่ในโลกน้อยคน
บุรุษผู้บรรเทาความหลับตื่นอยู่ ดุจม้าที่เจริญหลบแส้ หาได้ยาก. (๑๐:๑๕)

๑๔๔.
อสฺโส ยถา ภทฺโร กสานิวิฏฺโฐ,
อาตาปิโน สํเวคิโน ภวาถ;

สทฺธาย สีเลน จ วิริเยน จ,
สมาธินา ธมฺมวินิจฺฉเยน จ;

สมฺปนฺนวิชฺชาจรณา ปติสฺสตา,
ปหสฺสถ ทุกฺขมิทํ อนปฺปกํฯ

ม้าที่เจริญถูกนายสารถีเฆี่ยนด้วยแส้ย่อมทำความเพียร ฉันใด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเพียรมีความสังเวช ฉันนั้นเถิด
เธอทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล วิริยะ 
สมาธิ และการวินิจฉัยธรรม
เป็นผู้มีวิชชาและจรณะอันสมบูรณ์ เป็นผู้มีสติ
จักละทุกข์มีประมาณไม่น้อยนี้เสียได้. (๑๐:๑๖)

๑๔๕.
อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา,
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ;

ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา,
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตาฯ

 

ทณฺฑวคฺโค ทสโม นิฏฺฐิโตฯ

ก็พวกใช้น้ำย่อมไขน้ำไป
พวกช่างศรย่อมดัดลูกศร
พวกช่างถากย่อมถากไม้
ผู้มีวัตรอันงามย่อมฝึกตน. (๑๐:๑๗)

จบทัณฑวรรคที่ ๑๐

Keine Kommentare: