๙.
ปาปวคฺโค
คาถาธรรมบท
ปาปวรรคที่ ๙
๑๑๖.
อภิตฺถเรถ
กลฺยาเณ,
ปาปา
จิตฺตํ นิวารเย;
ทนฺธํ
หิ กรโต ปุญฺญํ,
ปาปสฺมึ
รมตี มโนฯ
บุคคลพึงรีบทำความดี
พึงห้ามจิตจากบาป
เพราะเมื่อทำบุญช้าไป
ใจย่อมยินดีในบาป.
(๙:๑)
๑๑๗.
ปาปญฺเจ
ปุริโส กยิรา,
น
นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ;
น
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ,
ทุกฺโข
ปาปสฺส อุจฺจโยฯ
หากบุรุษพึงทำบาปไซร้
ไม่พึงทำบาป
นั้นบ่อยๆ
ไม่พึงทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้.
(๙:๒)
๑๑๘.
ปุญฺญญฺเจ
ปุริโส กยิรา,
กยิราเถนํ
ปุนปฺปุนํ;
ตมฺหิ
ฉนฺทํ กยิราถ,
สุโข
ปุญฺญสฺส อุจฺจโยฯ
หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร้
พึงทำบุญ
นั้นบ่อยๆ
พึงทำความพอใจในบุญนั้น
เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้.
(๙:๓)
๑๑๙.
ปาโปปิ
ปสฺสติ ภทฺรํ,
ยาว
ปาปํ น ปจฺจติ;
ยทา
จ ปจฺจติ ปาปํ,
อถ
(ปาโป)
ปาปานิ
ปสฺสติฯ
แม้คนลามกย่อมเห็นความเจริญ
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่เมื่อใดบาปย่อมให้ผล
คนลามกจึงเห็นบาป
เมื่อนั้น.
(๙:๔)
๑๒๐.
ภทฺโรปิ
ปสฺสติ ปาปํ,
ยาว
ภทฺรํ น ปจฺจติ;
ยทา
จ ปจฺจติ ภทฺรํ,
อถ
(ภโทฺร)
ภทฺรานิ
ปสฺสติฯ
แม้คนเจริญก็ย่อมเห็นบาป
ตราบเท่าที่ความเจริญยังไม่ให้ผล
แต่เมื่อใดความเจริญย่อมให้ผล
คนเจริญจึงเห็นความเจริญ
เมื่อนั้น.
(๙:๕)
๑๒๑.
มาวมญฺเญถ
ปาปสฺส,
น
มตฺตํ อาคมิสฺสติ;
อุทพินฺทุนิปาเตน,
อุทกุมฺโภปิ
ปูรติ;
อาปูรติ
พาโล ปาปสฺส,
โถกํ
โถกํปิ อาจินํฯ
บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบาปว่า
บาปมีประมาณน้อย
[พอประมาณ]
จักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วย
หยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ
[ฉันใด]
คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละ
น้อยๆ
ย่อมเต็มด้วยบาป [ฉันนั้น].
(๙:๖)
๑๒๒.
มาวมญฺเญถ
ปุญฺญสฺส,
น
มตฺตํ อาคมิสฺสติ;
อุทพินฺทุนิปาเตน,
อุทกุมฺโภปิ
ปูรติ;
อาปูรติ
ธีโร ปุญฺญสฺส,
โถกํ
โถกํปิ อาจินํฯ
บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบุญว่า
บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ
นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ
ย่อมเต็มด้วยบุญ.
(๙:๗)
๑๒๓.
วาณิโชว
ภยํ มคฺคํ,
อปฺปสตฺโถ
มหทฺธโน;
วิสํ
ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเยฯ
ภิกษุพึงเว้นบาปดุจพ่อค้ามีพวกน้อย
มีทรัพย์มาก
เว้นทางที่ควรกลัว
ดุจบุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิตเว้นยาพิษ
ฉะนั้น.
(๙:๘)
๑๒๔.
ปาณิมฺหิ
เจ วโณ นาสฺส,
หเรยฺย
ปาณินา วิสํ;
นาพฺพณํ
วิสมนฺเวติ,
นตฺถิ
ปาปํ อกุพฺพโตฯ
ถ้าที่ฝ่ามือไม่พึงมีแผลไซร้
บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมซาบฝ่ามือที่ไม่มีแผล
บาปย่อมไม่มีแก่คนไม่ทำ.
(๙:๙)
๑๒๕.
โย
อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ,
สุทฺธสฺส
โปสสฺส อนงฺคณสฺส;
ตเมว
พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ,
สุขุโม
รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโตฯ
ผู้ใดย่อมประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย
ผู้เป็นบุรุษหมดจด
ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน
บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นแหละ
ผู้เป็นพาล
ดุจธุลีละเอียดที่บุคคลซัดทวนลมไป
ฉะนั้น.
(๙:๑๐)
๑๒๖.
คพฺภเมเก
อุปปชฺชนฺติ,
นิรยํ
ปาปกมฺมิโน;
สคฺคํ
สุคติโน ยนฺติ,
ปรินิพฺพนฺติ
อนาสวาฯ
คนบางพวกย่อมเข้าถึงครรภ์
บางพวกมีกรรมอันลามก
ย่อมเข้าถึงนรก
ผู้ที่มีคติดีย่อมไปสู่สวรรค์
ผู้ที่ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน.
(๙:๑๑)
๑๒๗.
น
อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ,
น
ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส;
น
วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส,
ยตฺรฏฺฐิโต
มุญฺเจยฺย ปาปกมฺมาฯ
อากาศ
ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป
ส่วนแห่งแผ่นดินที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว
พึงพ้นจากกรรมอันลามกได้ไม่มีเลย.
(๙:๑๒)
๑๒๘.
น
อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ,
น
ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส;
น
วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส,
ยตฺรฏฺฐิตํ
นปฺปสเหยฺย มจฺจุฯ
ปาปวคฺโค
นวโม นิฏฺฐิโตฯ
อากาศ
ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป
ส่วนแห่งแผ่นดิน
ที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว
มัจจุพึงครอบงำไม่ได้
ไม่มีเลย.
(๙:๑๓)
จบปาปวรรคที่
๙
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen