๘.
สหสฺสวคฺโค
คาถาธรรมบท
สหัสสวรรคที่ ๘
๑๐๐.
สหสฺสมปิ
เจ วาจา,
อนตฺถปทสญฺหิตา;
เอกํ
อตฺถปทํ เสยฺโย,
ยํ
สุตฺวา อุปสมฺมติฯ
หากว่าวาจาแม้ตั้งพันประกอบ
ด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่ง
ที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ
ประเสริฐกว่า.
(๘:๑)
๑๐๑.
สหสฺสมปิ
เจ คาถา,
อนตฺถปทสญฺหิตา;
เอกํ
คาถาปทํ เสยฺโย,
ยํ
สุตฺวา อุปสมฺมติฯ
คาถาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
คาถาบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบประเสริฐกว่า.
(๘:๒)
๑๐๒.
โย
จ คาถาสตํ ภาเส,
อนตฺถปทสญฺหิตา;
เอกํ
ธมฺมปทํ เสยฺโย,
ยํ
สุตฺวา อุปสมฺมติฯ
ก็บุคคลใดพึงกล่าวคาถาประกอบ
ด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ตั้งร้อย
บทธรรมบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ
ประเสริฐกว่า.
(๘:๓)
๑๐๓.
โย
สหสฺสํ สหสฺเสน,
สงฺคาเม
มานุเส ชิเน;
เอกญฺจ
เชยฺยมตฺตานํ,
ส
เว สงฺคามชุตฺตโมฯ
บุคคลใดพึงชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันคูณด้วยพัน
ในสงคราม
บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงในสงคราม
บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงในสงคราม
ส่วนบุคคลใดพึงชนะตนผู้เดียว
บุคคลนั้นแล
ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงสุดในสงคราม.
(๘:๔)
๑๐๔.
อตฺตา
หเว ชิตํ เสยฺโย,
ยา
จายํ อิตรา ปชา;
อตฺตทนฺตสฺส
โปสสฺส,
นิจฺจํ
สญฺญตจาริโนฯ
๑๐๕.
เนว
เทโว น คนฺธพฺโพ,
น
มาโร สห พฺรหฺมุนา;
ชิตํ
อปชิตํ กยิรา,
ตถารูปสฺส
ชนฺตุโนฯ
ตนแลอันบุคคลชนะแล้วประเสริฐ
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ๆ
อันบุคคลชนะแล้วจักประเสริฐอะไร,
เพราะว่า
เทวดา
คนธรรพ์
มารกับทั้งพรหม พึงทำความชนะ(ของบุรุษ
ผู้มีตนอันฝึกแล้ว
มีปกติประพฤติสำรวมเป็นนิตย์)
ผู้เป็นสัตว์เกิดเห็นปานนั้นให้กลับแพ้ไม่ได้.
(๘:๕,๖)
๑๐๖.
มาเส
มาเส สหสฺเสน,
โย
ยเชถ สตํ สมํ;
เอกญฺจ
ภาวิตตฺตานํ,
มุหุตฺตมปิ
ปูชเย;
สา
เยว ปูชนา เสยฺโย,
ยญฺเจ
วสฺสสตํ หุตํฯ
ก็การบูชาของผู้ที่บูชาท่านผู้มีตนอันอบรมแล้วคนหนึ่ง
แม้เพียงครู่หนึ่ง
ประเสริฐกว่าการบูชาของผู้ที่
บูชาด้วยทรัพย์พันหนึ่งตลอดร้อยปีเสมอทุกเดือนๆ
การบูชาตั้งร้อยปีนั้นจะประเสริฐอะไร.
(๘:๗)
๑๐๗.
โย
จ วสฺสสตํ ชนฺตุ,
อคฺคึ
ปริจเร วเน;
เอกญฺจ
ภาวิตตฺตานํ,
มุหุตฺตมปิ
ปูชเย;
สา
เยว ปูชนา เสยฺโย,
ยญฺเจ
วสฺสสตํ หุตํฯ
ก็การบูชาของผู้ที่บูชาท่านผู้มีตนอันอบรมแล้วคนหนึ่งแล
แม้เพียงครู่หนึ่ง
ประเสริฐกว่าผู้บำเรอไฟในป่าตั้งร้อยปี
การบำเรอไฟตั้งร้อยปีนั้น
จะประเสริฐอะไร.
(๘:๘)
๑๐๘.
ยงฺกิญฺจิ
ยิฏฺฐํ ว หุตํ ว โลเก,
สํวจฺฉรํ
ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข;
สพฺพํปิ
ตํ น จตุภาคเมติ,
อภิวาทนา
อุชุคเตสุ เสยฺโยฯ
บุคคลผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้ว
และยัญที่บุคคลบูชาแล้ว
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก
ตลอดปีหนึ่ง,
ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้ว
และยัญที่บุคคล
บูชาแล้ว
[ทาน]
นั้น
แม้ทั้งหมด ย่อมไม่ถึงส่วนที่
๔
แห่งการอภิวาทในท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย
การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย
ประเสริฐกว่า.
(๘:๙)
๑๐๙.
อภิวาทนสีลิสฺส
นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน;
จตฺตาโร
ธมฺมา วฑฺฒนฺติ,
อายุ
วณฺโณ สุขํ พลํฯ
ธรรม
๔ ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ
พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการอภิวาทเป็นปกติ
ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์.
(๘:๑๐)
๑๑๐.
โย
จ วสฺสสตํ ชีเว,
ทุสฺสีโล
อสมาหิโต;
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย,
สีลวนฺตสฺส
ฌายิโนฯ
ก็บุคคลผู้มีศีลเพ่งพินิจ
มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐ
กว่าบุคคลผู้ทุศีล
มีจิตไม่มั่นคง มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี.
(๘:๑๑)
๑๑๑.
โย
จ วสฺสสตํ ชีเว,
ทุปฺปญฺโญ
อสมาหิโต;
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย,
ปญฺญวนฺตสฺส
ฌายิโนฯ
ก็บุคคลผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ
มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า
บุคคลผู้ไร้ปัญญามีจิตไม่มั่นคง
มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี.
(๘:๑๒)
๑๑๒.
โย
จ วสฺสสตํ ชีเว,
กุสีโต
หีนวีริโย;
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย,
วิริยํ
อารภโต ทฬฺหํฯ
ก็บุคคลผู้ปรารภความเพียรมั่น
มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า
บุคคลผู้เกียจคร้านมีความเพียรอันเลว
มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี.
(๘:๑๓)
๑๑๓.
โย
จ วสฺสสตํ ชีเว,
อปสฺสํ
อุทยพฺพยํ;
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย,
ปสฺสโต
อุทยพฺพยํฯ
ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและเสื่อมไป
มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่าบุคคล
ผู้ไม่พิจารณา
เห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี.
(๘:๑๔)
๑๑๔.
โย
จ วสฺสสตํ ชีเว,
อปสฺสํ
อมตํ ปทํ;
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย,
ปสฺสโต
อมตํ ปทํฯ
ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นอมตบท
มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐ
กว่าบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นอมตบทมีชีวิตอยู่ร้อยปี.
(๘:๑๕)
๑๑๕.
โย
จ วสฺสสตํ ชีเว,
อปสฺสํ
ธมฺมมุตฺตมํ;
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย,
ปสฺสโต
ธมฺมมุตฺตมํฯ
สหสฺสวคฺโค อฏฺฐโม นิฏฺฐิโตฯ
สหสฺสวคฺโค อฏฺฐโม นิฏฺฐิโตฯ
ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมอันสูงสุด
มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐ
กว่าบุคคล
ผู้ไม่พิจารณาเห็นธรรมอันสูงสุดมีชีวิตอยู่ร้อยปี.
(๘:๑๖)
จบสหัสสวรรคที่
๘
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen