Mittwoch, 9. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๗.อรหันตวรรค


. อรหนฺตวคฺโค
คาถาธรรมบท อรหันตวรรคที่ ๗

๙๐.
คตทฺธิโน วิโสกสฺส, วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ;

สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส, ปริฬาโห น วิชฺชติฯ

ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีทางไกลอันถึงแล้ว
ผู้มีความโศกปราศไปแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง
ผู้มีกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงอันละได้แล้ว. (:)

๙๑.
อุยฺยุญฺชนฺติ สตีมนฺโต, น นิเกเต รมนฺติ เต;

หํสาว ปลฺลลํ หิตฺวา, โอกโมกํ ชหนฺติ เตฯ

ท่านผู้มีสติย่อมขวนขวายท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่
ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนหงส์สละเปือกตมไป ฉะนั้น. (:)


๙๒.
เยสํ สนฺนิจโย นตฺถิ, เย ปริญฺญาตโภชนา;
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ, วิโมกฺโข เยส โคจโร;

อากาเสว สกุนฺตานํ, คติ เตสํ ทุรนฺนยาฯ

ชนเหล่าใดไม่มีการสั่งสมมีโภชนะอันกำหนดแล้ว
มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์เป็นโคจร
คติของชนเหล่านั้น รู้ได้โดยยาก เหมือนคติ
ฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น. (:)

๙๓.
ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา, อาหาเร จ อนิสฺสิโต;

สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ, วิโมกฺโข ยสฺส โคจโร;

อากาเสว สกุนฺตานํ, ปทนฺตสฺส ทุรนฺนยํฯ

ภิกษุใดมีอาสวะสิ้นแล้ว 
อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้วในอาหาร
มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์เป็นโคจร
รอยเท้าของภิกษุนั้น ไปตามได้โดยยาก
เหมือนรอยเท้าของฝูงนกในอากาศ ฉะนั้น. (:)

๙๔.
ยสฺสินฺทฺริยานิ สมถงฺคตานิ,
อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา;

ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส,
เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโนฯ

อินทรีย์ของภิกษุใดถึงความสงบระงับ
เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว
แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุนั้น
ผู้มีมานะอันละได้แล้ว หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่. (:)

๙๕.
ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ, อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต;

รหโทว อเปตกทฺทโม, สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโนฯ

ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้นแล้วมีใจเสมอด้วยแผ่นดิน
ผู้คงที่ เปรียบดังเสาเขื่อน มีวัตรดี,
ปราศจากกิเลสเพียงดังเปือกตม ผ่องใส
เหมือนห้วงน้ำที่ปราศจากเปือกตมมีน้ำใส ย่อมไม่พิโรธ
 สงสารทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้คงที่
มีอาสวะสิ้นแล้ว เช่นนั้น. (:)

๙๖.
สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ, สนฺตา วาจา จ กมฺม จ;
 
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส, อุปสนฺตสฺส ตาทิโนฯ

ใจ วาจาและกายกรรมของภิกษุผู้ขีณาสพนั้น
ผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ สงบระงับ คงที่
เป็นธรรมชาติสงบแล้ว. (:)

๙๗.
อสฺสทฺโธ อกตญฺญู จ, สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร;
หตาวกาโส วนฺตาโส, ส เว อุตฺตมโปริโสฯ

นรชนใดไม่เชื่อต่อผู้อื่น รู้นิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำไม่ได้
ผู้ตัดที่ต่อ มีโอกาสอันขจัดแล้ว มีความหวังอันคลายแล้ว
นรชนนั้นแล เป็นบุรุษผู้สูงสุด. (:)

๙๘.
คาเม วา ยทิ วา รญฺเญ, นินฺเน วา ยทิ วา ถเล;

ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ, ตํ ภูมิรามเณยฺยกํฯ

พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใดคือบ้านหรือป่า
ที่ลุ่มหรือที่ดอน ที่นั้นเป็นภาคพื้นอันบุคคลพึงรื่นรมย์. (:)

๙๙.
รมณียานิ อรญฺญานิ, ยตฺถ น รมตี ชโน;

วีตราคา รเมสฺสนฺติ, น เต กามคเวสิโนฯ

 

อรหนฺตวคฺโค สตฺตโม นิฏฺฐิโตฯ

ชนไม่ยินดีในป่าเหล่าใด ป่าเหล่านั้น ควรรื่นรมย์
ผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าเห็น
ปานนั้น เพราะว่าท่านไม่ใช่ผู้แสวงหากาม. (:๑๐)
 
จบอรหันตวรรคที่ ๗

Keine Kommentare: