Montag, 7. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๖. ปัณฑิตวรรค


. ปณฺฑิตวคฺโค

คาถาธรรมบท ปัณทิตวรรคที่ ๖

๗๖.
นิธีนํว ปวตฺตารํ, ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ;

นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ, ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช;

ตาทิสํ ภชมานสฺส, เสยฺโย โหติ น ปาปิโยฯ

บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ 
เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์
มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา 
พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิตเช่นนั้น 
เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น 
มีแต่คุณที่ประเสริฐโทษที่ลามกย่อมไม่มี. (:)

๗๗.
โอวเทยฺยานุสาเสยฺย, อสพฺภา จ นิวารเย;

สตํ หิ โส ปิโย โหติ, อสตํ โหติ อปฺปิโยฯ

บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอนและ
พึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ
ก็บุคคลนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย 
แต่ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ. (:)

๗๘.
น ภเช ปาปเก มิตฺเต, น ภเช ปุริสาธเม;

ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ, ภเชถ ปุริสุตฺตเมฯ

บุคคลไม่ควรคบมิตรเลวทราม 
ไม่ควรคบบุรุษอาธรรม์
ควรคบมิตรดี ควรคบบุรุษสูงสุด. (:)

๗๙.
ธมฺมปีติ สุขํ เสติ, วิปฺปสนฺเนน เจตสา;

อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม, สทา รมติ ปณฺฑิโตฯ

บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรมมีใจผ่องใสแล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม
ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ. (:)

๘๐.
อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา,
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ;
ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา,
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตาฯ

ก็พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำไป 
พวกช่างศรย่อมดัดลูกศร
พวกช่างถากย่อมถากไม้ 
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน. (:)

๘๑.
เสโล ยถา เอกฆโน, วาเตน น สมีรติ;

เอวํ นินฺทาปสํสาสุ, น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตาฯ

ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น. (:๖)

๘๒.
ยถาปิ รหโท คมฺภีโร, วิปฺปสนฺโน อนาวิโล;

เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน, วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตาฯ

ห้วงน้ำลึกใสไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด 
บัณฑิตย์ทั้งหลายฟังธรรมแล้วย่อมผ่องใส ฉันนั้น. (:)
๘๓.
สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา จชนฺติ,
น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต;
สุเขน ผุฏฺฐา อถวา ทุกฺเขน,
น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติฯ

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรมทั้งปวงโดยแท้
สัตบุรุษทั้งหลายหาใคร่กามบ่นไม่ 
บัณฑิตทั้งหลายผู้อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว 
ย่อมไม่แสดงอาการสูงๆ ต่ำๆ. (:)

๘๔.
น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ,
น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธนํ น รฏฺฐํ;

น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน,
ส สีลวา ปญฺญวา ธมฺมิโก สิยาฯ

บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งตน 
ไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งผู้อื่น
ไม่พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนาทรัพย์ 
ไม่พึงปรารถนาแว่นแคว้น
ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตนโดยไม่ชอบธรรม 
บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้มีศีล
มีปัญญา ประกอบด้วยธรรม. (:)

๘๕.
อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ, เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา, ตีรเมวานุธาวติฯ

ในหมู่มนุษย์ ชนผู้ที่ถึงฝั่งมีน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมเลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น. (:๑๐)

๘๖.
เย จ โข สมฺมทกฺขาเต, ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน;

เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ, มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํฯ

ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติตามธรรม
ในธรรมอันพระสุคตเจ้าตรัสแล้วโดยชอบ 
ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้โดยยาก 
แล้วจักถึงฝั่ง. (:๑๑)

๘๗.
กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย, สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต;

โอกา อโนกมาคมฺม, วิเวเก ยตฺถ ทูรมํฯ

บัณฑิตออกจากอาลัยแล้ว อาศัยความไม่มีอาลัย
ละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว. (:๑๒)

๘๘.
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย, หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน;

ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ, จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโตฯ

บัณฑิตพึงปรารถนาความยินดียิ่ง
ในวิเวกที่ยินดีได้โดยยาก
ละกามทั้งหลายแล้วไม่มีกิเลสเครื่องกังวล 
พึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองจิต. (:๑๓)

๘๙.
เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ, สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ;

อาทานปฏินิสฺสคฺเค, อนุปาทาย เย รตา;

ขีณาสวา ชุติมนฺโต, เต โลเก ปรินิพฺพุตาฯ



ปณฺฑิตวคฺโค ฉฏฺโฐ นิฏฺฐิโตฯ

ชนเหล่าใดอบรมจิตด้วยดีโดยชอบ 
ในองค์แห่งธรรมสามัคคีเป็นเครื่องตรัสรู้ 
ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในการสละคืนความถือมั่น 
ชนเหล่านั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว มีความรุ่งเรือง 
ปรินิพพานแล้วในโลก. (:๑๔)

จบปัณฑิตวรรคที่ ๖

Keine Kommentare: