Samstag, 5. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๕. พาลวรรค


. พาลวคฺโค
คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕

๖๐.
ทีฆา ชาครโต รตฺติ, ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ;
ทีโฆ พาลาน สํสาโร, สทฺธมฺมํ อวิชานตํฯ

ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่ โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า
สงสารยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม. (:)

๖๑.
จรญฺเจ นาธิคจฺเฉยฺย, เสยฺยํ สทิสมตฺตโน;

เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา, นตฺถิ พาเล สหายตาฯ

ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไปไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน
หรือสหายผู้เช่นด้วยตนไซร้ บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น
เพราะว่าคุณเครื่องความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล. (:)


๖๒.
ปุตฺตา มตฺถิ ธนมตฺถิ, อิติ พาโล วิหญฺญติ;
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ, กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํฯ

คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ดังนี้ 
ตนนั่นแลย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายจะมีมาแต่ที่ไหน ทรัพย์จะมีแต่ที่ไหน. (:)

๖๓.
โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ, ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส;

พาโล จ ปณฺฑิตมานี, ส เว พาโลติ วุจฺจติฯ

ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้
ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความ สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล. (:)

๖๔.
ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล, ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ;

น โส ธมฺมํ วิชานาติ, ทพฺพี สูปรสํ ยถาฯ

ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต
เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรมเหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น. (:)

๖๕.
มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู, ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ;

ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ, ชิวฺหา สูปรสํ ยถาฯ

ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง
ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นรู้รสแกง ฉะนั้น (:)

๖๖.
จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา, อมิตฺเตเนว อตฺตนา;

กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ, ยํ โหติ กฏุกปฺผลํฯ

คนพาลมีปัญญาทราม มีตนเหมือนข้าศึก
เที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน (:)

๖๗.
น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ, ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ;

ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ, วิปากํ ปฏิเสวติฯ

บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่
ย่อมเสพผลของกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี (:)

๖๘.
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ, ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ;

ยสฺส ปตีโต สุมโน, วิปากํ ปฏิเสวติฯ

บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นแลทำแล้วเป็นดี บุคคลอันปีติโสมนัสเข้าถึงแล้ว
[ด้วยกำลังแห่งปีติ] [ด้วยกำลังแห่งโสมนัส]
ย่อมเสพผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วเป็นดี (:)

๖๙.
มธุวา มญฺญตี พาโล, ยาว ปาปํ น ปจฺจติ;

ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ, อถ (พาโล) ทุกฺขํ นิคจฺฉติฯ

คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน
ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่บาปให้ผลเมื่อใด
คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น (:๑๐)

๗๐.
มาเส มาเส กุสคฺเคน, พาโล ภุญฺเชถ โภชนํ;

น โส สงฺขาตธมฺมานํ, กลํ อคฺฆติ โสฬสึฯ

คนพาลถึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุกเดือนๆ
เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน
ของพระอริยบุคคลทั้งหลายผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว (:๑๑)

๗๑.
น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ, สชฺชุขีรํว มุจฺจติ;

ฑหนฺตํ พาลมนฺเวติ, ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโกฯ

ก็บาปกรรมบุคคลทำแล้วยังไม่แปรไป
เหมือนน้ำนมในวันนี้ยังไม่แปรไปฉะนั้น
บาปกรรมนั้นย่อมตามเผาคนพาล
เหมือนไฟอันเถ้าปกปิดแล้ว ฉะนั้น (:๑๒)

๗๒.
ยาวเทว อนตฺถาย, ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ;

หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ, มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํฯ

ความรู้นั้นย่อมเกิดแก่คนพาลเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์อย่างเดียว
ความรู้ ยังปัญญาชื่อว่ามุทธาของเขาให้ฉิบหายตกไป
ย่อมฆ่าส่วนแห่งธรรมขาวของคนพาลเสีย. (:๑๓)

๗๓.
อสนฺตํ ภาวนมิจฺเฉยฺย, ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ;
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ, ปูชา ปรกุเลสุ จฯ

ภิกษุผู้เป็นพาล พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่
ความห้อมล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส
และการบูชาในสกุลของชนเหล่าอื่น. (:๑๔)

๗๔.
มเมว กตมญฺญนฺตุ, คิหี ปพฺพชิตา อุโภ;

มเมว อติวสา อสฺสุ, กิจฺจากิจฺเจสุ กิสฺมิจิ;

อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป, อิสฺสา มาโน จ วฑฺฒติฯ

ความดำริย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุพาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย 
จงสำคัญกรรมที่บุคคลทำแล้วว่า เพราะอาศัยเราผู้เดียว 
คฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นจงเป็นไปในอำนาจของเราผู้เดียว 
ในบรรดากิจน้อยและกิจใหญ่ทั้งหลาย กิจอะไรๆ 
อิจฉา [ความริษยา] มานะ [ความถือตัว] ย่อมเจริญแก่ภิกษุพาลนั้น (:๑๕)

๗๕.
อญฺญา หิ ลาภูปนิสา, อญฺญา นิพฺพานคามินี;

เอวเมตํ อภิญฺญาย, ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก;

สกฺการํ นาภินนฺเทยฺย, วิเวกมนุพฺรูหเยฯ


พาลวคฺโค ปญฺจโมฯ

ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ยิ่งแล้ว ซึ่งปฏิปทา ๒ อย่างนี้ว่า 
ปฏิปทาอันเข้าอาศัยลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพานเป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว
ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ พึงพอกพูนวิเวกเนืองๆ. (:๑๖)

จบพาลวรรคที่ ๕

Keine Kommentare: