Mittwoch, 2. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/๔. ปุปผวรรค

๔. ปุปฺผวคฺโค
คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔

๔๔.
โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ,
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ; 


โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ,
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติฯ


ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ใครจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้
พร้อมกับเทวโลก ใครจักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว
ดุจนายมาลาการผู้ฉลาด เลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น. (๔:๑)

๔๕.
เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ,
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ;


เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ,
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติฯ


พระเสขะจักรู้แจ้งแผ่นดิน พระเสขะจักรู้แจ้งยมโลกและ
มนุษยโลกนี้พร้อมกับเทวโลก พระเสขะจักเลือกสรรบทธรรมที่เรา
แสดงดีแล้ว ดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น. (๔:๒)


๔๖.
เผณูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา;
มรีจิธมฺมํ อภิสมฺพุธาโน;
 

เฉตฺวาน มารสฺส ปปุปฺผกานิ;
อทสฺสนํ มจฺจุราชสฺส คจฺเฉฯ


ภิกษุทราบกายนี้ว่า เปรียบด้วยฟองน้ำ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ
กายนี้ว่ามีพยับแดดเป็นธรรม ตัดดอกไม้อันเป็นประธาน
ของมารแล้ว พึงไปสู่ที่ที่มัจจุราชไม่เห็น. (๔:๓)

๔๗.
ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ, พฺยาสตฺตมนสํ นรํ; 


สุตฺตํ คามํ มโหโฆว, มจฺจุ อาทาย คจฺฉติฯ

มัจจุย่อมจับนระผู้มีใจอันซ่านไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ
กำลังเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลายนั่นเทียวไป
เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดบ้านอันหลับแล้วไป ฉะนั้น. (๔:๔)

๔๘.
ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ, พฺยาสตฺตมนสํ นรํ;
 

อติตฺตํเยว กาเมสุ, อนฺตโก กุรุเต วสํฯ

มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด ย่อมทำนระผู้มีใจอันซ่าน
ไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ กำลังเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลาย
ไม่อิ่มแล้วในกามคุณนั่นแล ไว้ในอำนาจ. (๔:๕)

๔๙.
ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ, วณฺณคนฺธํ อเหฐยํ; 


ปเลติ รสมาทาย, เอวํ คาเม มุนี จเรฯ

ภมรไม่ยังดอกไม้อันมีสีให้ชอกช้ำ
ลิ้มเอาแต่รสแล้วย่อมบินไป แม้ฉันใด
มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน ฉันนั้น. (๔:๖)

๕๐.
น ปเรสํ วิโลมานิ, น ปเรสํ กตากตํ;
 

อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย, กตานิ อกตานิ จฯ

บุคคลไม่พึงใส่ใจคำแสลงหูของชนเหล่าอื่น
ไม่พึงแลดูกิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
ของชนเหล่าอื่น พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว
และยังไม่ได้ทำของตนเท่านั้น (๔:๗)

๕๑.
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ, วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ; 


เอวํ สุภาสิตา วาจา, อผลา โหติ อกุพฺพโตฯ

ดอกไม้งามมีสีแต่ไม่มีกลิ่นแม้ฉันใด
วาจาสุภาษิตย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำ ฉันนั้น (๔:๘)

๕๒.
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ, วณฺณวนฺตํ สุคนฺธกํ;
 

เอวํ สุภาสิตา วาจา, สผลา โหติ สุกุพฺพโตฯ

ดอกไม้งามมีสีมีกลิ่น แม้ฉันใด
วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่บุคคลผู้ทำดี ฉันนั้น. (๔:๙)

๕๓.
ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา, กยิรา มาลาคุเณ พหู;
 

เอวํ ชาเตน มจฺเจน, กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํฯ

นายมาลาการพึงทำกลุ่มดอกไม้ให้มาก
แต่กองแห่งดอกไม้ แม้ฉันใด
สัตว์ [ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ]
ผู้เกิดแล้ว พึงทำกุศลให้มาก ฉันนั้น (๔:๑๐)

๕๔.
น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ;
น จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา;
 

สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ;
สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติฯ


กลิ่นดอกไม้ย่อมฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ กลิ่นจันทน์หรือกฤษณา
และกะลำพัก ย่อมฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ
ย่อมฟุ้งทวนลมไปได้ เพราะสัตบุรุษฟุ้งไปทั่วทิศ (๔:๑๑)

๕๕.
จนฺทนํ ตครํ วาปิ, อุปฺปลํ อถ วสฺสิกี; 


เอเตสํ คนฺธชาตานํ, สีลคนฺโธ อนุตฺตโรฯ

กลิ่นคือศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาติ เหล่านี้
คือจันทน์ กฤษณา ดอกบัว และมะลิ (๔:๑๒)

๕๖.
อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ, ยฺวายํ ตครจนฺทนี;
 

โย จ สีลวตํ คนฺโธ, วาติ เทเวสุ อุตฺตโมฯ

กลิ่นกฤษณาและจันทน์นี้ เป็นกลิ่นมีประมาณน้อย
ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลายเป็นกลิ่นสูงสุด
ย่อมฟุ้งไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๔:๑๓)

๕๗.
เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ, อปฺปมาทวิหารินํ;
 

สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ, มาโร มคฺคํ น วินฺทติฯ

มารย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว
มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้พ้นวิเศษแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ (๔:๑๔)

๕๘.
ยถา สงฺการธานสฺมึ, อุชฺฌิตสฺมึ มหาปเถ;
 

ปทุมํ ตตฺถ ชาเยถ, สุจิคนฺธํ มโนรมํฯ

ดอกปทุมมีกลิ่นหอม พึงเกิดในกองแห่งหยากเยื่อ
อันเขาทิ้งแล้วในใกล้ทางใหญ่นั้น ย่อมเป็นที่รื่นรมย์ใจ
ฉันใด (๔:๑๕)

๕๙.
เอวํ สงฺการภูเตสุ, อนฺธภูเต ปุถุชฺชเน; 


อติโรจติ ปญฺญาย, สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโกฯ

 

ปุปฺผวคฺโค จตุตฺโถฯ

พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปุถุชน
ทั้งหลายผู้เป็นเพียงดั่งกองหยากเยื่อ ย่อมไพโรจน์
ล่วงปุถุชนทั้งหลายผู้เป็นดังคนบอดด้วยปัญญา ฉันนั้น. (๔:๑๖)
     
 จบปุปผวรรคที่ ๔

Keine Kommentare: