Montag, 30. April 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/๓. จิตตวรรค

๓. จิตฺตวคฺโค
คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
 

๓๓.
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ, ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ;
 

อุชุํ กโรติ เมธาวี, อุสุกาโรว เตชนํฯ

นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น (๓:๑)

๓๔.
วาริโชว ถเล ขิตฺโต, โอกโมกตอุพฺภโต;
 

ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ, มารเธยฺยํ ปหาตเวฯ

จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก
เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง
ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น (๓:๒)


๓๕.
ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน, ยตฺถ กามนิปาติโน;
 

จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ, จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํฯ

การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไป
ในอารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี
เพราะว่าจิตที่บุคคล ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ (๓:๓)

๓๖.
สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ, ยตฺถ กามนิปาตินํ;
 

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี, จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํฯ

นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่
เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ (๓:๔)
 

๓๗.
ทูรงฺคมํ เอกจรํ, อสรีรํ คุหาสยํ;
 

เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ, โมกฺขนฺติ มารพนฺธนาฯ

ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล
ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร (๓:๕)

๓๘.
อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส, สทฺธมฺมํ อวิชานโต;
 

ปริปฺลวปสาทสฺส, ปญฺญา น ปริปูรติฯ

ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรมมีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย (๓:๖)

๓๙.
อนวสฺสุตจิตฺตสฺส, อนนฺวาหตเจตโส;
 

ปุญฺญปาปปหีนสฺส, นตฺถิ ชาครโต ภยํฯ

ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มีจิตอันราคะ
ไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว
ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ (๓:๗)

๔๐.
กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา, นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา;
 

โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน, ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยาฯ

กุลบุตรทราบกายนี้ว่าเปรียบด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้
ให้เปรียบเหมือนนครพึงรบมารด้วยอาวุธ คือปัญญา
อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนาที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย (๓:๘)

๔๑.
อจิรํ วตยํ กาโย, ปฐวึ อธิเสสฺสติ;
 

ฉุทฺโธ อเปตวิญฺญาโณ, นิรตฺถํว กลิงฺครํฯ

กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้วมีวิญญาณปราศแล้ว ไม่นานหนอ
จักนอนทับแผ่นดิน ประดุจท่อนไม้ไม่มีประโยชน์. (๓:๙)

๔๒.
ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา, เวรี วา ปน เวรินํ;
 

มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ, ปาปิโย นํ ตโต กเรฯ

โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคนมีเวรเห็นคน
ผู้คู่เวรกัน พึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลว
ยิ่งกว่าความฉิบหายและความทุกข์นั้น. (๓:๑๐)

๔๓.
น ตํ มาตา ปิตา กยิรา, อญฺเญ วาปิ จ ญาตกา;
 

สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ, เสยฺยโส นํ ตโต กเรฯ

จิตฺตวคฺโค ตติโยฯ

มารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติเหล่าอื่น
ก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น. (๓:๑๑)


       จบจิตตวรรคที่ ๓

Keine Kommentare: