๒. อปฺปมาทวคฺโค
คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
๒๑.
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ, ปมาโท มจฺจุโน ปทํ;
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ, เย ปมตฺตา ยถา มตาฯ
ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย
ชนเหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว (๒:๑)
๒๒.
เอวํ วิเสสโต ญตฺวา, อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา;
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ, อริยานํ โคจเร รตาฯ
บัณฑิตทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ทราบเหตุนั่นโดยความแปลกกันแล้ว
ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท, ยินดีแล้ว
ในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย (๒:๒)
๒๓.
เต ฌายิโน สาตติกา, นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา;
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ, โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํฯ
ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ เพ่งพินิจ-
มีความเพียรเป็นไปติดต่อ
มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องนิพพานอันเกษมจาก
โยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ (๒:๓)
๒๔.
อุฏฺฐานวโต สติมโต, สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน;
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน, อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติฯ
ยศย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีความหมั่น มีสติ
มีการงานอันสะอาด ผู้ใคร่ครวญแล้วจึงทำ
ผู้สำรวมระวัง ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และผู้ไม่ประมาท (๒:๔)
๒๕.
อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน, สญฺญเมน ทเมน จ;
ทีปํ กยิราถ เมธาวี, ยํ โอโฆ นาภิกีรติฯ
ผู้มีปัญญาพึงทำที่พึงที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้
ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท
ความสำรวมระวัง และความฝึกตน (๒:๕)
๒๖.
ปมาทมนุยุญฺชนฺติ, พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา;
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี, ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติฯ
ชนทั้งหลายผู้เป็นพาลมีปัญญาทราม
ย่อมประกอบตามความประมาท
ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด (๒:๖)
๒๗.
มา ปมาทมนุยุญฺเชถ, มา กามรติสนฺถวํ;
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต, ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํฯ
ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความประมาท
อย่าประกอบการชมเชยด้วยสามารถความยินดีในกาม
เพราะว่าคนผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์ (๒:๗)
๒๘.
ปมาทํ อปฺปมาเทน, ยทา นุทติ ปณฺฑิโต;
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห, อโสโก โสกินึ ปชํ;
ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ, ธีโร พาเล อเวกฺขติฯ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมบรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นบัณฑิตผู้มีความประมาทอันบรรเทาแล้วนั้น
ขึ้นสู่ปัญญาดุจปราสาท ไม่มีความโศก
ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก
นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็นคนพาล
เหมือนบุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้น ฉะนั้น (๒:๘)
๒๙.
อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ, สุตฺเตสุ พหุชาคโร;
อพลสฺสํว สีฆสฺโส, หิตฺวา ยาติ สุเมธโสฯ
ผู้มีปัญญาดี เมื่อสัตว์ทั้งหลายประมาทแล้ว
ย่อมไม่ประมาทเมื่อสัตว์ทั้งหลายหลับ
ย่อมตื่นอยู่โดยมาก ย่อมละบุคคลเห็นปานนั้นไป
ประดุจม้ามีกำลังเร็วละม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น (๒:๙)
๓๐.
อปฺปาเทน มฆวา, เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต;
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ, ปมาโท ครหิโต สทาฯ
ท้าวมัฆวาฬถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
กว่าเทวดาทั้งหลายด้วยความไม่ประมาท
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
ความประมาทบัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ (๒:๑๐)
๓๑.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ, ปมาเท ภยทสฺสิ วา;
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ, ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติฯ
ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท
หรือเห็นภัยในความประมาท
เผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป
ดังไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น (๒:๑๑)
๓๒.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ, ปมาเท ภยทสฺสิ วา;
อภพฺโพ ปริหานาย, นิพฺพานสฺเสว สนฺติเกฯ
อปฺปมาทวคฺโค ทุติโยฯ
ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท
หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อมรอบ
ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว. (๒:๑๒)
จบอัปปมาทวรรคที่ ๒
คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
๒๑.
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ, ปมาโท มจฺจุโน ปทํ;
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ, เย ปมตฺตา ยถา มตาฯ
ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย
ชนเหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว (๒:๑)
๒๒.
เอวํ วิเสสโต ญตฺวา, อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา;
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ, อริยานํ โคจเร รตาฯ
บัณฑิตทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ทราบเหตุนั่นโดยความแปลกกันแล้ว
ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท, ยินดีแล้ว
ในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย (๒:๒)
๒๓.
เต ฌายิโน สาตติกา, นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา;
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ, โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํฯ
ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ เพ่งพินิจ-
มีความเพียรเป็นไปติดต่อ
มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องนิพพานอันเกษมจาก
โยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ (๒:๓)
๒๔.
อุฏฺฐานวโต สติมโต, สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน;
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน, อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติฯ
ยศย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีความหมั่น มีสติ
มีการงานอันสะอาด ผู้ใคร่ครวญแล้วจึงทำ
ผู้สำรวมระวัง ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และผู้ไม่ประมาท (๒:๔)
๒๕.
อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน, สญฺญเมน ทเมน จ;
ทีปํ กยิราถ เมธาวี, ยํ โอโฆ นาภิกีรติฯ
ผู้มีปัญญาพึงทำที่พึงที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้
ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท
ความสำรวมระวัง และความฝึกตน (๒:๕)
๒๖.
ปมาทมนุยุญฺชนฺติ, พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา;
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี, ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติฯ
ชนทั้งหลายผู้เป็นพาลมีปัญญาทราม
ย่อมประกอบตามความประมาท
ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด (๒:๖)
๒๗.
มา ปมาทมนุยุญฺเชถ, มา กามรติสนฺถวํ;
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต, ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํฯ
ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความประมาท
อย่าประกอบการชมเชยด้วยสามารถความยินดีในกาม
เพราะว่าคนผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์ (๒:๗)
๒๘.
ปมาทํ อปฺปมาเทน, ยทา นุทติ ปณฺฑิโต;
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห, อโสโก โสกินึ ปชํ;
ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ, ธีโร พาเล อเวกฺขติฯ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมบรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นบัณฑิตผู้มีความประมาทอันบรรเทาแล้วนั้น
ขึ้นสู่ปัญญาดุจปราสาท ไม่มีความโศก
ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก
นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็นคนพาล
เหมือนบุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้น ฉะนั้น (๒:๘)
๒๙.
อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ, สุตฺเตสุ พหุชาคโร;
อพลสฺสํว สีฆสฺโส, หิตฺวา ยาติ สุเมธโสฯ
ผู้มีปัญญาดี เมื่อสัตว์ทั้งหลายประมาทแล้ว
ย่อมไม่ประมาทเมื่อสัตว์ทั้งหลายหลับ
ย่อมตื่นอยู่โดยมาก ย่อมละบุคคลเห็นปานนั้นไป
ประดุจม้ามีกำลังเร็วละม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น (๒:๙)
๓๐.
อปฺปาเทน มฆวา, เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต;
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ, ปมาโท ครหิโต สทาฯ
ท้าวมัฆวาฬถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
กว่าเทวดาทั้งหลายด้วยความไม่ประมาท
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
ความประมาทบัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ (๒:๑๐)
๓๑.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ, ปมาเท ภยทสฺสิ วา;
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ, ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติฯ
ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท
หรือเห็นภัยในความประมาท
เผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป
ดังไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น (๒:๑๑)
๓๒.
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ, ปมาเท ภยทสฺสิ วา;
อภพฺโพ ปริหานาย, นิพฺพานสฺเสว สนฺติเกฯ
อปฺปมาทวคฺโค ทุติโยฯ
ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท
หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อมรอบ
ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว. (๒:๑๒)
จบอัปปมาทวรรคที่ ๒
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen