ธมฺมปทคาถา
นโม
ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
๑.
ยมกวคฺโค
คาถาธรรมบท
ยมกวรรคที่ ๑
๑.
มโนปุพฺพงฺคมา
ธมฺมา,
มโนเสฏฺฐา
มโนมยา;
มนสา
เจ ปทุฏฺเฐน,
ภาสติ
วา กโรติ วา;
ตโต
นํ ทุกฺขมนฺเวติ,
จกฺกํว
วหโต ปทํฯ
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว
กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น
เพราะทุจริต
๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค
ตัวลากเกวียนไปอยู่
ฉะนั้น.
(๑:๑)
๒.
มโนปุพฺพงฺคมา
ธมฺมา,
มโนเสฏฺฐา
มโนมยา;
มนสา
เจ ปสนฺเนน,
ภาสติ
วา กโรติ วา;
ตโต
นํ สุขมนฺเวติ,
ฉายาว
อนุปายินีฯ
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม
สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต
๓ อย่าง
เหมือนเงามีปรกติไปตาม
ฉะนั้น.
(๑:๒)
๓.
อกฺโกจฺฉิ
มํ อวธิ มํ,
อชินิ
มํ อหาสิ เม;
เย
จ ตํ อุปนยฺหนฺติ,
เวรํ
เตสํ น สมฺมติฯ
ก็ชนเหล่าใด
เข้าไปผูกเวรไว้ว่า คนโน้นด่าเรา
คนโน้นได้ตีเรา
คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลัก
สิ่งของๆ
เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้น
ย่อมไม่ระงับ.
(๑:๓)
๔.
อกฺโกจฺฉิ
มํ อวธิ มํ,
อชินิ
มํ อหาสิ เม;
เย
จ ตํ นูปนยฺหนฺติ,
เวรํ
เตสูปสมฺมติฯ
ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรไว้ว่า
คนโน้น ด่าเรา
คนโน้นได้ตีเรา
คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลัก
สิ่งของๆ
เรา ดังนี้ เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ.
(๑:๔)
๕.
น
หิ เวเรน เวรานิ,
สมฺมนฺตีธ
กุทาจนํ;
อเวเรน
จ สมฺมนฺติ,
เอส
ธมฺโม สนนฺตโนฯ
ในกาลไหนๆ
เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย
แต่ย่อมระงับเพราะความไม่จองเวร
ธรรมนี้เป็นของเก่า.
(๑:๕)
๖.
ปเร
จ น วิชานนฺติ,
มยเมตฺถ
ยมามฺหเส;
เย
จ ตตฺถ วิชานนฺติ,
ตโต
สมฺมนฺติ เมธคาฯ
ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้สึกว่า
พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้
ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น
ย่อมรู้สึก ความหมายมั่น
ย่อมระงับจากชนเหล่านั้น.
(๑:๖)
๗.
สุภานุปสฺสึ
วิหรนฺตํ,
อินฺทฺริเยสุ
อสํวุตํ;
โภชนมฺหิ
จามตฺตญฺญุํ,
กุสีตํ
หีนวีริยํ;
ตํ
เว ปสหติ มาโร,
วาโต
รุกฺขํว ทุพฺพลํฯ
มารย่อมรังควาญบุคคลผู้มีปรกติเห็นอารมณ์ว่างาม
ผู้ไม่สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้ประมาณในโภชนะ
เกียจคร้าน
มีความเพียรเลว
เหมือนลมระรานต้นไม้ที่ทุรพล
ฉะนั้น.
(๑:๗)
๘.
อสุภานุปสฺสึ
วิหรนฺตํ,
อินฺทฺริเยสุ
สุสํวุตํ;
โภชนมฺหิ
จ มตฺตญฺญุํ,
สทฺธํ
อารทฺธวีริยํ;
ตํ
เว นปฺปสหติ มาโร,
วาโต
เสลํว ปพฺพตํฯ
มารย่อมรังควาญไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้มีปรกติเห็นอารมณ์ว่าไม่งามอยู่
สำรวมดีแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา
ปรารภความเพียร
เหมือนลมระรานภูเขาหินไม่ได้
ฉะนั้น.
(๑:๘)
๙.
อนิกฺกสาโว
กาสาวํ,
โย
วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต
ทมสจฺเจน,
น
โส กาสาวมรหติฯ
ผู้ใดยังไม่หมดกิเลสดุจน้ำฝาดปราศจากทมะและสัจจะ
จักนุ่งห่มผ้ากาสายะผู้นั้นไม่ควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ.
(๑:๙)
๑๐.
โย
จ วนฺตกสาวสฺส,
สีเลสุ
สุสมาหิโต;
อุเปโต
ทมสจฺเจน,
ส
เว กาสาวมรหติฯ
ส่วนผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว
ตั้งมั่นแล้วในศีลประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลย่อมควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.
(๑:๑๐)
๑๑.
อสาเร
สารมติโน,
สาเร
จาสารทสฺสิโน;
เต
สารํ นาธิคจฺฉนฺติ,
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจราฯ
ชนเหล่าใดมีความรู้ในธรรมอันหาสาระมิได้ว่าเป็นสาระ
และมีปกติเห็นในธรรมอันเป็นสาระ
ว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น
มีความดำริผิดเป็นโคจร
ย่อมไม่บรรลุธรรมอันเป็นสาระ.
(๑:๑๑)
๑๒.
สารญฺจ
สารโต ญตฺวา,
อสารญฺจ
อสารโต;
เต
สารํ อธิคจฺฉนฺติ,
สมฺมาสงฺกปฺปโคจราฯ
ชนเหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ
โดยความเป็นสาระ และรู้ธรรม
อันหาสาระมิได้
โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้
ชนเหล่านั้น
มีความดำริชอบเป็นโคจร
ย่อมบรรลุธรรมอันเป็นสาระ.
(๑:๑๒)
๑๓.
ยถา
อคารํ ทุจฺฉนฺนํ,
วุฏฺฐี
สมติวิชฺฌติ;
เอวํ
อภาวิตํ จิตฺตํ,
ราโค
สมติวิชฺฌติฯ
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่บุคคลมุงไม่ดี
ฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่บุคคลไม่อบรมแล้ว
ฉันนั้น.
(๑:๑๓)
๑๔.
ยถา
อคารํ สุจฺฉนฺนํ,
วุฏฺฐี
น สมติวิชฺฌติ;
เอวํ
สุภาวิตํ จิตฺตํ,
ราโค
น สมติวิชฺฌติฯ
ฝนย่อมไม่รั่วรดเรือนที่บุคคลมุงดี
ฉันใด
ราคะย่อมไม่รั่วรดจิตที่บุคคลอบรมดีแล้ว
ฉันนั้น.
(๑:๑๔)
๑๕.
อิธ
โสจติ เปจฺจ โสจติ,
ปาปการี
อุภยตฺถ โสจติ;
โส
โสจติ โส วิหญฺญติ,
ทิสฺวา
กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโนฯ
บุคคลผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ย่อมเศร้าโศกใน
โลกหน้า
ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
บุคคลผู้ทำบาปนั้น
ย่อมเศร้าโศก
บุคคลผู้ทำบาปนั้นเห็นกรรมที่เศร้าหมอง
ของตนแล้ว
ย่อมเดือดร้อน.
(๑:๑๕)
๑๖.
อิธ
โมทติ เปจฺจ โมทติ,
กตปุญฺโญ
อุภยตฺถ โมทติ;
โส
โมทติ โส ปโมทติ,
ทิสฺวา
กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโนฯ
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมบันเทิงในโลกนี้
ย่อมบันเทิงในโลกหน้า
ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วนั้นย่อมบันเทิง
ผู้ทำบุญไว้แล้วนั้นเห็นความบริสุทธิ์แห่งกรรมของตนแล้ว
ย่อมบันเทิงอย่างยิ่ง.
(๑:๑๖
๑๗.
อิธ
ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ,
ปาปการี
อุภยตฺถ ตปฺปติ;
ปาปํ
เม กตนฺติ ตปฺปติ,
ภิยฺโย
ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโตฯ
บุคคลผู้ทำบาปย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
ย่อมเดือดร้อน
ในโลกทั้งสอง
บุคคลผู้ทำบาปนั้นย่อมเดือด
ร้อนว่าบาปเราทำแล้ว
บุคคลผู้ทำบาปนั้น
ไปสู่ทุคติแล้ว
ย่อมเดือดร้อนโดยยิ่ง.
(๑:๑๗)
๑๘.
อิธ
นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ,
กตปุญฺโญ
อุภยตฺถ นนฺทติ;
ปุญฺญํ
เม กตนฺติ นนฺทติ,
ภิยฺโย
นนฺทติ สุคตึ คโตฯ
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้
ย่อมเพลิดเพลินในโลกหน้า
ย่อมเพลิดเพลิน
ในโลกทั้งสอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมเพลิดเพลินว่า
บุญอันเราทำไว้แล้ว
ผู้ทำบุญไว้แล้วนั้นไปสู่สุคติ
ย่อมเพลิดเพลินโดยยิ่ง.
(๑:๑๘)
๑๙.
พหุมฺปิ
เจ สหิตภาสมาโน;
น
ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต;
โคโปว
คาโว คณยํ ปเรสํ;
น
ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ
หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก
แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรมอันการกบุคคลพึงกระทำ
เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้
นรชนนั้นย่อมไม่เป็น
ผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ
ประดุจ
นายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น
ย่อมไม่มี
ส่วนแห่งปัญจโครส
ฉะนั้น.
(๑:๑๙)
๒๐.
อปฺปมฺปิ
เจ สหิตํ ภาสมาโน,
ธมฺมสฺส
โหติ อนุธมฺมจารี;
ราคญฺจ
โทสญฺจ ปหาย โมหํ,
สมฺมปฺปชาโน
สุวิมุตฺตจิตฺโต;
อนุปาทิยาโน
อิธ วา หุรํ วา,
ส
ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ
ยมกวคฺโค
ปฐโมฯ
หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อย
ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ละราคะ โทสะ
และโมหะแล้ว
รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว
ไม่ถือมั่นในโลกนี้หรือในโลกหน้า
นรชนนั้นย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ.
(๑:๒๐)
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen