Donnerstag, 29. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๕. ภิกขุวรรค


๒๕. ภิกฺขุวคฺโค
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

๓๖๐.
จกฺขุนา สํวโร สาธุ, สาธุ โสเตน สํวโร;

ฆาเนน สํวโร สาธุ, สาธุ ชิวฺหาย สํวโรฯ

ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี. (๒๕:)

๓๖๑.
กาเยน สํวโร สาธุ, สาธุ วาจาย สํวโร;

มนสา สํวโร สาธุ, สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร;

สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ, สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติฯ

ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความสำรวมด้วยใจเป็นความดีความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว
ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. (๒๕:)


๓๖๒.
หตฺถสญฺญโต ปาทสญฺญโต, วาจาย สญฺญโต สญฺญตตฺตโม;

อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต, เอโก สนฺตุสิโต ตมาหุ ภิกฺขุฯ

ผู้ที่สำรวมมือสำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ. (๒๕:)

๓๖๓.
โย มุขสญฺญโต ภิกฺขุ, มนฺตภาณี อนุทฺธโต;

อตฺถํ ธมฺมญฺจ ทีเปติ, มธุรํ ตสฺส ภาสิตํฯ

ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและธรรม
ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ. (๒๕:)

๓๖๔.
ธมฺมาราโม ธมฺมรโต, ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ;

ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ, สทฺธมฺมา น ปริหายติฯ

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่
เสื่อมจากสัทธรรม. (๒๕:)
๓๖๕.
สลาภํ นาติมญฺเญยฺย, นาญฺเญสํ ปิหยญฺจเร;

อญฺเญสํ ปิหยํ ภิกฺขุ, สมาธึ นาธิคจฺฉติฯ

ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึงเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ. (๒๕:)

๓๖๖.
อปฺปลาโภปิ เจ ภิกฺขุ, สลาภํ นาติมญฺญติ;

ตํ เว เทวา ปสํสนฺติ, สุทฺธาชีวึ อตนฺทิตํฯ

ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อยก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน. (๒๕:)

๓๖๗.
สพฺพโส นามรูปสฺมึ, ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ;

อสตา จ น โสจติ, ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติฯ

ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ. (๒๕:)

๓๖๘.
เมตฺตาวิหารี โย ภิกฺขุ, ปสนฺโน พุทฺธสาสเน;

อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ, สงฺขารูปสมํ สุขํฯ

ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขารเป็นสุข. (๒๕:)

๓๖๙.
สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ, สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ;

เฉตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ, ตโต นิพฺพานเมหิสิฯ

ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานในภายหลัง. (๒๕:๑๐)

๓๗๐.
ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห, ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย;

ปญฺจสงฺคาติโค ภิกฺขุ, โอฆติณฺโณติ วุจฺจติฯ

ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรม-เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะได้. (๒๕:๑๑)

๓๗๑.
ฌาย ภิกฺขุ มา จ ปมาโท, มา เต กามคุเณ ภมสฺสุ จิตฺตํ;
มา โลหคุฬํ คิลี ปมตฺโต, มา กนฺทิ ทุกฺขมิทนฺติ ฑยฺหมาโนฯ

ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอหมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะอย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์. (๒๕:๑๒)

๓๗๒.
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส, ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต;

ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ, ส เว นิพฺพานสนฺติเกฯ

ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญาปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน. (๒๕:๑๓)

๓๗๓.
สุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส, สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน;

อมานุสี รตี โหติ, สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโตฯ

ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยชอบ. (๒๕:๑๔)

๓๗๔.
ยโต ยโต สมฺมสติ, ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ;

ลภตี ปีติปาโมชฺชํ, อมตํ ตํ วิชานตํฯ

ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่. (๒๕:๑๕)

๓๗๕.
ตตฺรายมาทิ ภวติ, อิธ ปญฺญสฺส ภิกฺขุโน;

อินฺทฺริยคุตฺติ สนฺตุฏฺฐี, ปาติโมกฺเข จ สํวโรฯ

บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และ
ความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญาในธรรมวินัยนี้. (๒๕:๑๖)

๓๗๖.
มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ, สุทฺธาชีเว อตนฺทิเต;

ปฏิสนฺถารวุตฺตฺยสฺส, อาจารกุสโล สิยา;

ตโต ปาโมชฺชพหุโล, ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติฯ

ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจดไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้นจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. (๒๕:๑๗)

๓๗๗.
วสฺสิกา วิย ปุปฺผานิ, มทฺทวานิ ปมุญฺจติ;
เอวํ ราคญฺจ โทสญฺจ, วิปฺปมุญฺเจถ ภิกฺขโวฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยวแห้งแล้ว ฉะนั้น. (๒๕:๑๘)

๓๗๘.
สนฺตกาโย สนฺตวาโจ, สนฺตมโน สุสมาหิโต;

วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุ, อุปสนฺโตติ วุจฺจติฯ

ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบมีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ. (๒๕:๑๙)

๓๗๙.
อตฺตนา โจทยตฺตานํ, ปฏิมํเสตมตฺตนา;

โส อตฺตคุตฺโต สติมา, สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิฯ

จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตนด้วยตนเอง ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว มีสติ จักอยู่เป็นสุข. (๒๕:๒๐)

๓๘๐.
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ, อตฺตา หิ อตฺตโน คติ;

ตสฺมา สญฺญม อตฺตานํ, อสฺสํ ภทฺรํว วาณิโชฯ

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็นคติของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือน
พ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น. (๒๕:๒๑)

๓๘๑.
ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ, ปสนฺโน พุทฺธสาสเน;

อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ, สงฺขารูปสมํ สุขํฯ

ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่เข้าไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข. (๒๕:๒๒)

๓๘๒.
โย หเว ทหโร ภิกฺขุ, ยุญฺชติ พุทฺธสาสเน;

โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ, อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมาฯ


ภิกฺขุวคฺโค ปญฺจวีสติโม นิฏฺฐิโตฯ

ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่มย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้
ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น . (๒๕:๒๓)

Keine Kommentare: