ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
___________________________
๑.
การศึกษานับเป็นสิ่งสำคัญ
พระเสขะ ต้องศึกษาเรื่องอะไร
?
ก.
พระธรรมวินัย ข.
สมถวิปัสสนา
ค.
พระไตรปิฎก ง.
ศีล
สมาธิ ปัญญา
๒.
คำว่า
สมถะ หมายถึงอะไร ?
ก.
มักน้อย ข.
พอมีพอกิน
ค.
ความสงบ ง.
ความเห็นแจ้ง
๓.
กิเลสอันเป็นเหตุให้ใคร่
เรียกว่าอะไร ?
ก.
กามคุณ ข.
กิเลสกาม
ค.
วัตถุกาม ง.
กามฉันทะ
๔. ข้อใด ไม่ใช่รูปธรรม ?
ก.
ดิน ข.
น้ำ
ค.
ลม ง.
เวทนา
๕.
ข้อใด
จัดเป็นโลกิยธรรม ?
ก.
ฌาน ข.
มรรค
ค.
ผล ง.
นิพพาน
๖. ข้อใด จัดเป็นปฏิบัติบูชา ?
ก.
สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม ข.
ถวายพระพุทธรูป
ค.
บูชาด้วยดอกไม้ ง.
รักษาศีล
๕
๗.
การต้อนรับแขกผู้มาเยือนถึงเรือนชาน
เรียกว่าอะไร ?
ก.
อามิสบูชา ข.
การปฏิสันถาร
ค.
ปฏิบัติบูชา ง.
การแบ่งปันน้ำใจ
๘. ข้อใด ไม่จัดเป็นอริยปริเยสนา การแสวงหาอย่างประเสริฐ ?
ก.
ประกอบสัมมาชีพ ข.
แสวงหาความสงบ
ค.
แสวงหาทางพ้นผิด ง.
แสวงหาทางพ้นทุกข์
๙.
ปาพจน์
๒ คืออะไรบ้าง ?
ก.
ธรรมและวินัย ข.
โลกิยะ
โลกุตตระ
ค.
สมถะ
วิปัสสนา ง.
นามธรรม
รูปธรรม
๑๐.
อนุปาทินนกสังขาร
สังขารที่ไม่มีใจครอง
ได้แก่ข้อใด ?
ก.
เทวดา ข.
ต้นไม้
ค.
อมนุษย์ ง.
มนุษย์
๑๑.
การทำจิตให้เป็นสมาธิ
คือการทำอย่างไร ?
ก.
การนั่งขัดสมาธินิ่งๆ ข.
การข่มใจไม่ให้โกรธเคือง
ค.
การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ง.
การทำใจให้นิ่ง
มีอารมณ์เดียว
๑๒.
ความไม่มีโรค
เป็นลาภอันประเสริฐ
จัดเข้าในสุขข้อใด ?
ก.
กายิกสุข ข.
เจตสิกสุข
ค.
สามิสสุข ง.
นิรามิสสุข
๑๓.
ความเป็นใหญ่ใครๆ
ก็ชอบ แต่ถืออะไรเป็นใหญ่จึงจะดี
?
ก.
ถือตนเองเป็นใหญ่ ข.
ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่
ค.
ถือประชาชนเป็นใหญ่ ง.
ถือธรรมเป็นใหญ่
๑๔.
คนที่คิดจะทำร้ายคนอื่นตลอดเวลา
เพราะถูกวิตกใดครอบงำ ?
ก.
กามวิตก ข.
พยาบาทวิตก
ค.
วิหิงสาวิตก ง.
วิตกจริต
๑๕.
คิดอย่างไร
จัดเป็นเนกขัมมวิตก ?
ก.
คิดต้องการมีคู่ ข.
คิดหนีปัญหาชีวิต
ค.
คิดทำร้ายตัวเอง ง.
คิดออกบวช
๑๖.
ไฟชนิดใด
เป็นเหตุให้เกิดความลุ่มหลง
มีปัญญามืดบอด ?
ก.
ไฟคือราคะ ข.
ไฟคือโทสะ
ค.
ไฟคือโมหะ ง.
ไฟคือกาม
๑๗.
คาถาหัวใจเศรษฐีว่า
อุ. อา.
กะ.
สะ.
ตรงกับประโยชน์ข้อใด
?
ก.
ประโยชน์ในภพนี้ ข.
ประโยชน์ในภพหน้า
ค.
ปรมัตถประโยชน์ ง.
ประโยชน์อย่างยิ่ง
๑๘.
ข้อใด
ตรงกับหลักธรรมาธิปไตย ?
ก.
การลงคะแนนโดยใช้เสียงข้างมาก
ข.
การไม่ทุจริตในการเลือกตั้ง
ค.
การร่วมลงนามเพื่อฟ้องขับไล่
ง.
การชุมนุมคัดค้านร่างกฏหมาย
๑๙.
" ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา "
จัดเป็นอนุตตริยะใด
?
ก.
ลาภานุตตริยะ ข.
ทัสสนานุตตริยะ
ค.
ปฏิปทานุตตริยะ ง.
สวนานุตตริยะ
๒๐.
ผู้มีความเห็นว่า
"
ทำบุญสูญเปล่า
ไหว้เจ้าได้กิน เพราะว่าบุญไม่มี
บาปไม่มี "
จัดเป็นคนเช่นไร
?
ก.
คนไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ข.
คนไม่มีความคิด
ค.
คนใจคอคับแคบ ง.
คนมีความเห็นผิด
๒๑.
นางมณีเมขลา
เทพธิดาในเรื่องมหาชนก
จัดเข้าในเทพใด ?
ก.
สมมติเทพ ข.
วิสุทธิเทพ
ค.
อุปปัตติเทพ ง.
กามเทพ
๒๒.
พระมหากษัตริย์
จัดเข้าในเทพใด ?
ก.
สมมติเทพ ข.
อุปปัตติเทพ
ค.
วิสุทธิเทพ ง.
ไม่จัดเป็นเทพ
๒๓.
สมุจเฉทปหาน
การละด้วยตัดขาด ได้แก่การละของใคร
?
ก.
คนทั่วไป ข.
คนได้ฌาน
ค.
พระอรหันต์ ง.
คนตั้งใจละเว้น
๒๔.
ข้อใด
ไม่จัดเข้าในอิทธิปาฏิหาริยะ
มีฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ?
ก.
ล่องหนได้ ข.
ดักใจทายใจคนได้
ค.
ดำดินได้ ง.
ไม่มีข้อถูก
๒๕.
ชาดกต่างๆ
ในพระไตรปิฎก จัดเข้าในปิฎกใด
?
ก.
พระวินัยปิฎก ข.
พระสุตตันตปิฎก
ค.
พระอภิธรรมปิฎก ง.
พระธรรมปิฎก
๒๖.
การสงเคราะห์คนทั้งหลาย
โดยฐานเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
สงเคราะห์เข้าในพุทธจริยาข้อใด
?
ก.
พุทธัตถจริยา ข.
ญาตัตถจริยา
ค.
โลกัตถจริยา ง.
อัตถจริยา
๒๗.
พระพุทธเจ้าเสด็จไปห้ามพระญาติ
ผู้วิวาทกันเพราะแย่งน้ำเข้านา
สงเคราะห์เข้าในพุทธจริยาข้อใด
?
ก.
พุทธัตถจริยา ข.
ญาตัตถจริยา
ค.
ธรรมจริยา ง.
อัตถจริยา
๒๘.
ข้อใด
ไม่จัดเข้าในกามภพ ภพอันเป็นกามาวจร
?
ก.
นรก ข.
มนุษย์
ค.
สวรรค์
๖ ชั้น ง.
อรูปพรหม
๔ ชั้น
๒๙.
ผู้หวงความรู้
ไม่ยอมบอกเพื่อนขณะทำข้อสอบ
เป็นมัจฉริยะใด ?
ก.
ธัมมมัจฉริยะ ข.
ลาภมัจฉริยะ
ค.
วัณณมัจฉริยะ ง.
ไม่เป็นมัจฉริยะ
๓๐.
ปฏิบัติอย่างไร
จึงเรียกว่า กายวิเวก
ความสงัดกาย ?
ก.
การทำใจให้สงบ ข.
การอยู่ในที่สงบเงียบ
ค.
การไม่คิดฟุ้งซ่าน ง.
การนั่งนิ่งๆ
ไม่ไหวติง
๓๑.
ข้อใด
จัดเป็นปฏิเวธสัทธรรม ?
ก.
เรียนจบธรรมศึกษาเอก ข.
ขยันสวดมนต์ไหว้พระ
ค.
สิ้นความสงสัยในพระรัตนตรัย
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๒.
ภูมิอันหาความเจริญมิได้
เรียกว่าอะไร ?
ก.
อบาย ข.
อุบาย
ค.
นรก ง.
อุบาทว์
๓๓.
คนประเภทใด
เปรียบได้กับสัตว์นรก ?
ก.
คนหลอกลวงผู้อื่น ข.
นักโทษถูกจองจำ
ค.
คนกินของสกปรก ง.
คนอดอยากผอมโซ
๓๔.
คนถูกอวิชชาครอบงำจิตใจ
เพราะไม่รู้อะไร ?
ก.
ไม่รู้หนังสือ ข.
ไม่รู้จักบาป-บุญ
ค.
ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ ง.
ไม่รู้จักยาบ้า
๓๕.
ต้องการให้เด็กผู้ยากไร้
พ้นจากความหิวโหย จัดเข้าในข้อใด
?
ก.
เมตตา ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา ง.
อุเบกขา
๓๖.
อะไรเป็นข้าศึกโดยตรงของเมตตา
?
ก.
กามราคะ ข.
ริษยา
ค.
พยาบาท ง.
วิหิงสา
๓๗.
ความถือมั่นข้อใด
เป็นเหตุให้กลายเป็นคนหัวดื้อ
มีความเห็นผิด ชอบทะเลาะกับคนอื่นเป็นประจำ
?
ก.
ความถือมั่นกาม ข.
ความถือมั่นทิฏฐิ
ค.
ความถือมั่นศีล ง.
ความถือตัว
๓๘.
กิเลสเป็นดุจห้วงน้ำท่วมใจสัตว์
เรียกว่าอะไร ?
ก.
โอฆะ ข.
โยคะ
ค.
อาสวะ ง.
ปฏิฆะ
๓๙.
สิ่งของที่เตรียมไว้ทำบุญ
เรียกว่าอะไร ?
ก.
ทายก ข.
ปฏิคาหก
ค.
ปัจจัย ง.
ทักขิณา
๔๐.
ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบัน
แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
ตรงกับข้อใด ?
ก.
ซื้อหวยหวังถูกรางวัล ข.
ลักลอบค้าสัตว์ป่า
ค.
เสี่ยงตายจับยาบ้า ง.
ช่วยเหลือนักโทษประหาร
๔๑.
ข้อใด
ไม่จัดเข้าในวรรณะ ๔ ?
ก.
กษัตริย์ ข.
พราหมณ์
ค.
แพทย์ ง.
ศูทร
๔๒.
การไม่รักษากิริยามารยาทให้เรียบร้อย
จัดเป็นวิบัติข้อใด ?
ก.
สีลวิบัติ ข.
อาจารวิบัติ
ค.
ทิฏฐิวิบัติ ง.
อาชีววิบัติ
๔๓.
การชักชวนให้คนอื่นมีใจเผื่อแผ่สงเคราะห์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม
เป็นการกล่าวถึง
อนุปุพพีกถาข้อใด ?
อนุปุพพีกถาข้อใด ?
ก.
ทาน ข.
ศีล
ค.
สวรรค์ ง.
เนกขัมมอานิสงส์
๔๔.
ปีติ
ความอิ่มใจ เปรียบด้วยคลื่นกระทบฝั่ง
จัดเป็นปีติชนิดใด ?
ก.
ปีติชั่วขณะ ข.
ปีติเป็นพักๆ
ค.
ปีติโลดโผน ง.
ปีติซาบซ่าน
๔๕.
ลัทธิเหยียดผิว
เกิดขึ้นเพราะมีมัจฉริยะข้อใด
?
ก.
ธรรมมัจฉริยะ ข.
กุลมัจฉริยะ
ค.
วัณณมัจฉริยะ ง.
ลาภมัจฉริยะ
๔๖.
คนหวงวิชาความรู้
ไม่ยอมถ่ายทอดให้คนอื่น
เกรงว่าเขาจะรู้ทัน
จัดเป็นมัจฉริยะข้อใด ?
ก.
ธรรมมัจฉริยะ ข.
กุลมัจฉริยะ
ค.
วัณณมัจฉริยะ ง.
อาวาสมัจฉริยะ
๔๗.
เพราะเหตุใด
ความตาย จึงได้ชื่อว่า
มัจจุมาร ?
ก.
เพราะเป็นเหตุฆ่าตัวตาย ข.
เพราะเป็นเหตุตัดความทุกข์
ค.
เพราะเป็นเหตุตัดชีวิต ง.
เพราะเป็นเหตุตัดความดี
๔๘.
ข้อใด
ไม่ใช่ท้าวมหาราช ๔
ที่ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
?
ก.
ท้าวธตรฐ ข.
ท้าวสักกะ
ค.
ท้าวกุเวร ง.
ท้าววิรูปักข์
๔๙.
ชาดกเรื่อง
พระมหาชนก เป็นแบบอย่างของผู้บำเพ็ญบารมีใด
?
ก.
ทานบารมี ข.
สัจจบารมี
ค.
วิริยบารมี ง.
ขันติบารมี
๕๐.
การบริจาคดวงตา
เพื่อช่วยเหลือคนตาบอด
จัดเป็นบารมีใด ?
ก.
ทานบารมี ข.
ทานอุปบารมี
ค.
ทานปรมัตถบารมี ง.
ถูกทุกข้อ
ผู้ออกข้อสอบ
|
:
|
๑.
|
พระราชสุตาภรณ์
|
วัดราชบุรณะ
|
๒.
|
พระราชวชิรโมลี
|
วัดสวนพลู
|
||
๓.
|
พระศรีวีราภรณ์
|
วัดพระงาม
จ.นครปฐม
|
||
ตรวจ/ปรับปรุง
|
:
|
โดยสนามหลวงแผนกธรรม
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen