Mittwoch, 28. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๔. ตัณหาวรรค


๒๔. ตณฺหาวคฺโค
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔

๓๓๔.
มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน, ตณฺหา วฑฺฒติ มาลุวา วิย;

โส ปลวตี หุราหุรํ, ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโรฯ

ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท ดุจเคลือเถาย่านทราย ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น. (๒๔:)

๓๓๕.
ยํ เอสา สหตี ชมฺมี, ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา;

โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ, อภิวฑฺฒํว พีรณํฯ

ตัณหานี้ลามกซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น. (๒๔:)


๓๓๖.
โย เจ ตํ สหตี ชมฺมึ, ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ;

โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ, อุทพินฺทุว โปกฺขราฯ

บุคคลใดแลย่อมครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลก
ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัว ฉะนั้น. (๒๔:)

๓๓๗.
ตํ โว วทามิ ภทฺทํ โว, ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา;

ตณฺหาย มูลํ ขณถ, อุสีรตฺโถว พีรณํ;

มา โว นฬํ ว โสโตว, มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํฯ

๓๓๗.
เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวกะท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหาเสีย ดุจบุรุษต้องการแฝกขุดแฝก ฉะนั้น
มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อฉะนั้น. (๒๔:)

๓๓๘.
ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห, ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ;

เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต, นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํฯ

ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูกตัดแล้วก็กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ฉันนั้น. (๒๔:)

๓๓๙.
ยสฺส ฉตฺตึสตีโสตา, มนาปสฺสวนา ภุสา;

วาหาวหนฺติ ทุทฺทิฏฺฐึ, สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตาฯ

ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ เป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคลผู้มีตัณหาดังกระแส ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์ซึ่งทำให้ใจเอิบอาบ เป็นของกล้า ไปสู่ทิฐิชั่ว. (๒๔:)

๓๔๐.
สวนฺติ สพฺพธี โสตา, ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ;

ตญฺจ ทิสฺวา ลตํ ชาตํ, มูลํ ปญฺญาย ฉินฺทถฯ

กระแสตัณหาย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดังเครือเถาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถานั้นอันเกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา. (๒๔:)

๓๔๑.
สริตานิ สิเนหิตานิ จ, โสมนสฺสานิ ภวนฺติ ชนฺตุโน;

เต สาตสิตา สุเขสิโน, เต เว ชาติชรูปคา นราฯ

โสมนัสที่ซ่านไปแล้วและที่เป็นไปกับด้วยความเยื่อใย ย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์
เหล่านั้นอาศัยความสำราญ แสวงหาสุข นรชนเหล่านั้นแลเป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา. (๒๔:)

๓๔๒.
ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา, ปริสปฺปนฺติ สโสว พนฺธิโต;

สญฺโญชนสงฺคสตฺตกา, ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุนํ จิรายฯ

หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้งห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องแล้วด้วยสังโยชน์และธรรมเป็นเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆสิ้นกาลนาน. (๒๔:)

๓๔๓.
ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา, ปริสปฺปนฺติ สโสว พนฺธิโต;

ตสฺมา ตสิณํ วิโนทเย, ภิกฺขุ อากงฺขํ วิราคมตฺตโนฯ

หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้งห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังวิราคะธรรมแก่ตน พึงบรรเทาตัณหาที่ทำความสะดุ้งเสีย. (๒๔:๑๐)

๓๔๔.
โย นิพฺพนโฐ วนาธิมุตฺโต, วนมุตฺโต วนเมว ธาวติ;

ตํ ปุคฺคลเมว ปสฺสถ, มุตฺโต พนฺธนเมว ธาวติฯ

ท่านทั้งหลายจงเห็นบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังหมู่ไม้ในป่า มีใจน้อมไปแล้วในความเพียรดุจป่า พ้นแล้วจากตัณหาเพียงดังป่า ยังแล่นเข้าหาป่านั่นแล บุคคลนี้พ้นแล้วจากเครื่องผูกยังแล่นเข้าหาเครื่องผูก. (๒๔:๑๑)

๓๔๕.
น ตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา, ยทายสํ ทารุชํ ปพฺพชญฺจ;

สารตฺตรตฺตา มณิกุณฺฑเลสุ, ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขาฯ

นักปราชญ์ทั้งหลายหากล่าวเครื่องผูกซึ่งเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปล้อง
ว่ามั่นไม่ สัตว์ผู้กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้ว ในแก้วมณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย และความห่วงใยในบุตรและภริยา. (๒๔:๑๒)

๓๔๖.
เอตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา, โอหารินํ สิถิลํ ทุปฺปมุญฺจํ;

เอตํปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ, อนเปกฺขิโน กามสุขํ ปหายฯ

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวเครื่องผูกอันหน่วงลง อันหย่อน อันบุคคลเปลื้องได้โดยยาก นั้นว่ามั่น นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ละกามสุขแล้ว ย่อมเว้นรอบ. (๒๔:๑๓)

๓๔๗.
เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ, สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลํ;

เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา, อนเปกฺขิโน สพฺพทุกฺขํ ปหายฯ

สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปตามกระแสตัณหา ดุจแมลง
มุมแล่นไปตามใยที่ตนทำเอง ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ย่อมละทุกข์ทั้งปวงไป. (๒๔:๑๔)

๓๔๘.
มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต, มชฺเฌ มุญฺจ ภวสฺส ปารคู;

สพฺพตฺถ วิมุตฺตมานโส, น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิฯ

ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก. (๒๔:๑๕)

๓๔๙.
วิตกฺกมถิตสฺส ชนฺตุโน, ติพฺพราคสฺส สุภานุปสฺสิโน;

ภิยฺโย ตณฺหา ปวฑฺฒติ, เอส โข ทฬฺหํ กโรติ พนฺธนํฯ

ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูกวิตกย่ำยี ผู้มีราคะกล้า มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม ผู้นั้นแลย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น. (๒๔:๑๖)

๓๕๐.
วิตกฺกูปสเม จ โย รโต, อสุภํ ภาวยตี สทา สโต;

เอส โข วฺยนฺติกาหติ, เอสจฺเฉจฺฉติ มารพนฺธนํฯ

ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบวิตก มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภะอยู่ ผู้นั้นแลจักทำตัณหาให้สิ้นไป ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้. (๒๔:๑๗)

๓๕๑.
นิฏฺฐํ คโต อสนฺตาสี, วีตตณฺโห อนงฺคโณ;

อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ, อนฺติโมยํ สมุสฺสโยฯ

ภิกษุผู้ถึงความสำเร็จแล้ว ไม่มีความสะดุ้ง ปราศจากตัณหาไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันยังสัตว์ให้ไปสู่ภพได้แล้ว อัตภาพของภิกษุนี้มีในที่สุด. (๒๔:๑๘)

๓๕๒.
วีตตณฺโห อนาทาโน, นิรุตฺติปทโกวิโท;

อกฺขรานํ สนฺนิปาตํ, ชญฺญา ปุพฺพปรานิ จ;

ส เว อนฺติมสารีโร, มหาปญฺโญ มหาปุริโสติ วุจฺจติฯ

ภิกษุปราศจากตัณหาไม่ยึดมั่น ฉลาดในนิรุติและบท รู้จักความประชุมเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีสรีระในที่สุด เรากล่าวว่า มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ. (๒๔:๑๙)

๓๕๓.
สพฺพาภิภู สพฺพวิทูหมสฺมิ, สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต;
สพฺพญฺชโห ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต, สยํ อภิญฺญาย กมุทฺทิเสยฺยํฯ

เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้แจ้งธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่างพ้นวิเศษแล้วเพราะความสิ้นตัณหา รู้ยิ่งเอง พึงแสดงใครเล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์). (๒๔:๒๐)

๓๕๔.
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ, สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ;

สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ, ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติฯ

การให้ธรรมเป็นทานย่อมชำนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชำนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรมย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นตัณหาย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง. (๒๔:๒๑)

๓๕๕.
หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ, โน เจ ปารคเวสิโน;

โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ, หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํฯ

โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ คนมี
ปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้ เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่นเพราะความอยากได้โภคทรัพย์ ฉะนั้น. (๒๔:๒๒)

๓๕๖.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ, ราคโทสา อยํ ปชา;

ตสฺมา หิ วีตราเคสุ, ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํฯ

นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษหมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคล
ถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีผลมาก. (๒๔:๒๓)

๓๕๗.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ, โทสโทสา อยํ ปชา;

ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ, ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํฯ

นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะ ย่อมมีผลมาก. (๒๔:๒๔)

๓๕๘.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ, โมหโทสา อยํ ปชา;

ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ, ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํฯ

นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะ ย่อมมีผลมาก. (๒๔:๒๕)

๓๕๙.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ, อิจฺฉาโทสา อยํ ปชา;

ตสฺมา หิ วิคติจฺเฉสุ, ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํฯ

ตณฺหาวคฺโค จตุวีสติโม นิฏฺฐิโตฯ

นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา ย่อมมีผลมาก. (๒๔:๒๖)


Keine Kommentare: