Sonntag, 14. Januar 2024

๔๑๔. หลักการจารพระไตรปิฏก

๔๑๔. หลักการจารพระไตรปิฏก


สมสีสํ สมปาทํ, อนฺตรญฺจ สมํสมํ;

อิทํ มนสิ นิธาย, ลิเขยฺย ปิฎกตฺตยนฺติ.


นักปราชญ์ ฝังอักขระไว้ในใจ

ให้มีหัวเสมอกัน มีเชิงเสมอกัน 

และมีช่องไฟเสมอกันแล้ว

พึงจารึกพระไตรปิฏกเถิด.


(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๔)


--


ศัพท์น่ารู้ :

 

สมสีสํ (หัวเสมอกัน) สม+สีส > สมสีส+อํ

สมปาทํ (เท้าเสมอกัน, ตีน-) สม+ปาท > สมปาท+อํ

อนฺตรญฺจ = อนฺตรํ+ (และซ่อง, ซ่องไฟ, ระหว่าง) อนฺตร+อํ

สมํสมํ (เสมอๆ กัน) สม+สม > สมํสม+อํ หรือจะแยกเป็น สมํ สมํ ก็ได้.

อิทํ (นี้) อิม+อํ

มนสิ (ในใจ) มน+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น สิ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า มโนคณาทิโต สฺมึนานมิอา. (รู ๙๕)

นิธาย (ฝังไว้แล้ว,​ ตั้งไว้แล้ว) นิ+√ธา+ตฺวา

ลิเขยฺย (พึงเขียน, จาร, จารึก ลิขิต) √ลิข++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

ปิฎกตฺตยนฺติ = ปิฏกตฺตยํ+อิติ (ซึ่งพระไตรปิฏก+ดังนี้แล) ปิฏก+ตย > ปิฏกตฺตย+อํ


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



หัวให้เสมอ ตีนให้เสมอ ช่องไฟเสมอ กัน

ปราชญ์พึงฝังระเบียบนี้ไว้ในใจ แล้วพึงลิขิตพระ

ไตรปิฏกแล.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้.


ทำหัวให้เสมอ ทำเชิงให้เสมอ

ทำช่องไผให้เท่า กัน

นักปราชญ์ต้องฝังใจในเรื่องนี้

แล้วจารึกพระไตรปิฏกเถิด.



--



ปกิณฺณกกถา นิฏฺฐิตา


จบปกิณณกกถา 


ธมฺมนีติ สมตฺตา


คัมภีร์ธัมมนีติจบบริบูรณ์แล้วแล.



สรุปมาติกา(หัวข้อ, แม่บท) ในธัมมนีติอีกครั้ง มีดังนี้ คือ

) ว่าด้วยเรื่องอาจารย์ (อาจริยกถา) 

) ว่าด้วยเรื่องศิลปะ (สิปปกถา)

) ว่าด้วยเรื่องปัญญา (ปัญญากถา)

) ว่าด้วยเรื่องความรู้ (สุตกถา)

) ว่าด้วยเรื่องถ้อยคำ (กถากถา)

) ว่าด้วยเรื่องทรัพย์ (ธนกถา)

) ว่าด้วยเรื่องประเทศ (เทสกถา)

) ว่าด้วยเรื่องนิสัย (นิสสยกถา)

) ว่าด้วยเรื่องมิตร (มิตตกถา)

๑๐) ว่าด้วยเรื่องคนชั่ว (ทุชชนกถา)

๑๑) ว่าด้วยเรื่องคนดี (สุชนกถา)

๑๒) ว่าด้วยเรื่องกำลัง (พลกถา)

๑๓) ว่าด้วยเรื่องสตรี (อิตถีกถา)

๑๔) ว่าด้วยเรื่องบุตร (ปุตตกถา)

๑๕) ว่าด้วยเรื่องคนใช้ (ทาสกถา)

๑๖) ว่าด้วยเรื่องฆราวาส (ฆราวาสกถา)

๑๗) ว่าด้วยเรื่องกิจที่ควรทำ (กตกถา)

๑๘) ว่าด้วยเรื่องกิจไม่ควรทำ (อกตกถา)

๑๙) ว่าด้วยเรื่องมายาทที่น่ารู้ (ญาตัพพกถา)

๒๐) ว่าด้วยเรื่องเครื่องประดับ (อลังการกถา)

๒๑) ว่าด้วยเรื่องราชธรรม (ราชธัมมกถา)

๒๒) ว่าด้วยเรื่องข้าเฝ้า (ราชเสวกกถา)

๒๓) ว่าด้วยเรื่องหัวข้อที่ปนกันมีสองข้อขึ้นไป (ทุกาทิมิสสกกถา)

๒๔) ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด (ปกิณณกกถา)


การแปลคัมภีร์ธัมมนีติได้จบลงแล้วตามลำดับ การแปลได้ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย ครั้งนี้เป็นการแปลรอบที่   โดยอาศัยหนังสือที่ท่านโบราณาจารย์ท่านได้ทำไว้ นั่นก็คือ คัมภีร์คัมภีร์โลกนีติไตรพากย์ ของท่าน เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป และราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) เป็นคู่มือประกอบในครั้งนี้  หากไม่มีหนังสือที่ท่านโบราณาจารย์เขียนไว้แล้วก็ การแปลคงไม่สำเร็จราบรื่นไปได้เลยอย่างแน่นอน นับว่าตำราทั้งสองเล่มมีอุปการะในการแปลครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง.


การแปลหนังสือก็ดีเหมือนกัน ทำให้ได้ทบทวนความรู้เก่าๆ ที่เคยเล่าเรียนมา และยังต้องค้นคว้าเพิ่มเติมอีก เท่าที่เวลาและแหล่งข้อมูลจะอำนวย ที่สำคัญต้องอาศัยสัปปายะหลายอย่าง บุคคลสัปปายะ สถานที่สัปปายะ ปัจจัยทั้งสี่สัปปายะ สุขภาพร่างกาย เครื่องมือในการทำงาน เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน


ท้ายนี้ กราบขอบคุณครูอาจารย์ผู้ให้ความรู้ด้านภาษาบาฬีแก่ข้าพเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักเรียนศึกษาบาฬีใหญ่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นโรงเรียนบาฬีแห่งแรกในชีวติของข้าพเจ้า, ขอขอบคุณทุกคนในครอบครัวของข้าพเจ้า ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ขอบพระคุณญาติสนิทและมิตรสหาย ญาติทางธรรมทุกท่าน ทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็นตัวจริงมาก่อนทุกท่าน ที่ติดตามอ่านมาโดยตลอด ขอบุญกุศลที่เกิดจากผลงานเหล่านี้ จงสำเร็จแก่ทุกท่านโดยทั่วกัน.


ขออนุโมทนา


โสวัส ธงชัย 


พฤหัสบดี ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๓ 


(เคยแปลจบรอบแรกเมื่อ ๑๖ มรกราคม ๒๕๖๐)


 

Keine Kommentare: