๔๑๓. บุญและบาปให้ผลต่างกัน
น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ, อุโภ สมวิปากิโน;
อธมฺโม นิรยํ เนติ, ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ.
แท้ที่จริงแล้ว สภาวธรรม ๒ อย่างคือ
ธรรมและอธรรมมีวิบากเสมอกัน หามิได้
อธรรม(บาป อกุศล) ย่อมนำไปสู่นรก
ส่วนธรรมะ(บุญ, กุศล)ย่อมให้ถึงสุคติ.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๔๑๓, ขุ. ชา. ๒๗/๒๒๘๔ อโยฆรชาดก)
--
ศัพท์น่ารู้ :
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
หิ (จริงแท้, ที่แท้, เพราะ) นิบาตบอก เหตุ-เหตุ, อวธารณ-ตัดสิน.
ธมฺโม (ธรรมะ, สุจริตธรรม) ธมฺม+สิ
อธมฺโม (อธรรมะ, ทุจริตธรรม) น+ธมฺม > อธมฺม+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาตบอกการรวบรวมบท-ปทสมุจจยะ
อุโภ (ทั้งสอง) อุภ+โย แปลง โย เป็น โอ ด้วย ตุ ศัพท์ในสูตรว่า ตโต โยนโม ตุ. (รู ๑๖๐)
สมวิปากิโน (มีวิบากเสมอกัน, มีผลเสมอกัน) สม+วิปาก > สมวิปาก+อี > สมวิปากี+โย
นิรยํ (นรก, ทุคติ) นิรย+อํ
เนติ (ย่อมนำไป) √นี+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
ปาเปติ (ย่อมให้ถึง) ป+√อป+เณ+ติ สฺวาทิ. เหตุกัตตุ.
สุคฺคตึ, สุคติ (สุคติ, สวรรค์) สุคฺคติ+อํ, ซ้อน คฺ เพื่อรักษาฉันท์
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
สภาพทั้งสองคือธรรมกับอธรรม
มีผลไม่เหมือนกัน
อธรรมนำไปสู่นรก
ธรรมให้ถึงสวรรค์.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
ธรรมะ กับ อธรรมะ มีผลไม่เหมือนกัน
อธรรมนำเข้าหานรก
ธรรมะนำเข้าหาสุคติ.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen