สารบัญ
เรื่อง / หน้า
กระทู้ธรรม
- อักษรย่อบอกนามคัมภีร์ ๑
- จิตตวรรค ๓
- ธัมมวรรค ๕
- วิริยวรรค ๑๓
- สามัคคีวรรค ๑๕
- อัปปมาทวรรค ๑๖
วิชาธรรม
- ๑.
นิพพิทา
ความหน่าย ๑๙
- โทษของการหมกอยู่ในโลก ๒๐
- อาการสำรวมจิต ๒๑
- มารและบ่วงแห่งมาร ๒๑
- ปฏิปทาแห่งนิพพิทา ๒๒
- อนิจจตา
ความไม่เที่ยง กำหนดรู้ได้
๓ ทาง ๒๓
- สรุปอนิจจลักษณะแห่งสังขาร ๒๔
- อนิจจลักษณะได้ในสังขาร
๒ ๒๕
- อธิบายคำว่า
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ๒๘
- อนัตตาไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ ๒๘
- ความหน่ายที่เรียกว่า
นิพพิทา ๒๙
- ๒
วิราคะ ความสิ้นกำหนัด ๒๙
- ไวพจน์
คือ คำสำหรับเรียกแทนกัน ๓๐
- ๓
วิมุตติ ความหลุดพ้น ๓๒
- อาสวะเป็นไวพจน์แห่งกิเลส ๓๓
- วิมุตติ
๕ ๓๓
- ๔
วิสุทธิ ความหมดจด ๓๕
- บริสุทธิ์ด้วยปัญญา ๓๕
- วิปัสสนาญาณ
๙ ๓๖
- อีกบรรยายหนึ่ง ๓๗
- มรรค
๘ เทียบกับวิสุทธิ ๗ ๓๘
- ๕
สันติ ความสงบ ๔๐
- ๖
นิพพาน ๔๒
- นิพพาน
ตามมติพระพุทธศาสนา ๔๓
- นิพพานเป็นอสังขตะ ๔๓
- นิพพานมี
๒ อย่าง ๔๓
- นิพพานศัพท์
๒ ความหมาย ๔๔
- บาลีแสดงปฏิปทา ๔๔
- สรุปธรรมที่เป็นปฏิปทาแห่งนิพพาน ๔๕
- บาลีแสดงสอุปทิเสสนิพพาน ๔๖
- บาลีแสดงนิพพาน
๒ บรรยาย ๔๘
- สรุปวิธีปลูกฉันทะในนิพพาน ๕๐
- หัวใจสมถกัมมัฏฐาน
- กายคตาสติ ๕๑
- เมตตา ๕๓
- พุทธานุสสติ ๕๖
- กสิณ ๕๙
- จตุธาตุววัตถานะ ๖๑
- วิปัสสนากรรมฐาน ๖๕
- ลักษณะ
กิจ ผล และเหตุของวิปัสสนา ๖๖
- วิธีเจริญวิปัสสนาตามนัยพระบาลี ๖๗
- วิธีเจริญวิปัสสนาตามนัยอรรถกถา ๖๘
ปฐมสมโพธิ์
และ พุทธานุพุทธประวัติ
- ชาติกถา
กัณฑ์ที่ ๑ ๗๒
- ความเกิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีได้ยาก ๗๔
- มหาปุริสลักษณะ
๓๒ ประการ ๗๔
- อภิสัมโพธิกถา
กัณฑ์ที่ ๒ ๗๘
- ประโยชน์จากการบำเพ็ญทุกรกิริยา ๘๐
- ทรงเลิกทุกรกิริยา ๘๑
- ตรัสรู้ ๘๑
- จตุตถฌานเป็นบาทแห่งอภิญญา ๘๒
- จตุตถฌานเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ๘๒
- อรหัตมรรคญาณเป็นที่มาแห่งญาณทั้งปวง ๘๔
- ธัมมเทสนาธิฏฐานกถา
กัณฑ์ที่ ๓ ๘๔
- พระธรรมจักกัปปวัตนสูตร
กัณฑ์ที่ ๔ ๘๗
- อนัตตลักขณสูตร
กัณฑ์คำรบ ๕ ๘๙
- จาริกกัณฑ์
กัณฑ์คำรบ ๖ ๙๑
- ทรงอนุญาตติสรณคมนุปสัมปทา ๙๓
- ราชคหคภัณฑ์
กัณฑ์ที่ ๗ ๙๔
- โปรดชฎิลพันหนึ่ง ๙๔
- โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ๙๖
- ทรงได้อัครสาวก ๙๘
- ทรงบัญญัติอุปัชฌายวัตรและอาจริยวัตร ๙๙
- พุทธกิจกถา
กัณฑ์ที่ ๘ ๑๐๐
- ทรงเตรียมพระองค์เพื่อบำเพ็ญสัตตูปการกิจ ๑๐๐
- ทรงบำเพ็ญสัตตูปการกิจ
๒ ประการ ๑๐๐
- อาการที่ทรงแสดงธรรม ๑๐๑
- วิธีฝึกคน
๓ ประการ ๑๐๑
- วิธีสอนคฤหัสถ์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ๑๐๑
- อุบายวิธีแสดงธรรม
๔ ประการ ๑๐๒
- ธรรมที่เป็นเหตุให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ได้นานและ
เป็นประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ ๑๐๒
- ปัญญาที่กำหนดนามรูปโดยลักษณะทั้ง
๓
เป็นคุณเบื้องบนแห่งพรหมจรรย์ ๑๐๓
- ยถาภูตญาณทัสสนะเป็นเครื่องถอนคาหะ
ความยึดถือ
๓ ประการ ๑๐๓
-
ตัณหา
มานะ ทิฏฐิ เป็นปปัญจธรรม ๑๐๔
- อนัตตานุปัสสนาละอัตตวาทุปาทาน ๑๐๔
- พระธรรมชื่อว่า
สฺวากฺขาโต (
ตรัสไว้ดี
) ๑๐๕
- อาการที่ทรงบัญญัติพระวินัย ๑๐๕
- ความเป็นมาของ
ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา
สามเณร
สามเณรี ๑๐๕
- ทรงอนุญาตการบรรพชาเป็นสามเณร ๑๐๖
- ทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทเป็นภิกษุณี ๑๐๗
- วิธีบวชสามเณรี ๑๐๗
- นางสิกขมานา ๑๐๗
- สหธรรมิกบรรพชิต
๕ ๑๐๗
- ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
๑๐ ประการ
บัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุและภิกษุณี ๑๐๘
- ประโยชน์ที่มุ่งหมายแห่งพระธรรมวินัย ๑๐๘
- ทรงแสดงธรรมและบัญญัติวินัยเพื่อประกาศ
สัทธรรม
๓ ประการ ๑๐๙
- บริษัท
๔ ผู้ตั้งอยู่ในเอตทัคคสถาน ๑๐๙
- มหาปรินิพพานสูตร
กัณฑ์ที่ ๙ ๑๑๓
- ทรงสั่งสอนพุทธบริษัทด้วยสังเวคกถาและอัปปมาทธรรม ๑๑๔
- เวสาลีนาคาวโลก
ทรงเหลียวกลับมาทอดพระเนตร
เมืองไพศาลี ๑๑๔
- ทรงแสดงไตรสิกขาว่าเป็นปฏิปทาแห่งวิมุตติ ๑๑๕
- วันที่นายจุนทะถวายปัจฉิมบิณฑบาต ๑๑๕
- เสด็จสู่กุสินารานคร ๑๑๖
- ประทมอุฏฐานไสยา ๑๑๖
- ทรงดับความเดือดร้อนใจของนายจุนทะ ๑๑๗
- ทรงเปล่งอุทาน ๑๑๗
- มหาปรินิพพานสูตร
กัณฑ์ที่ ๙ (
ภาคหลัง
) ๑๑๗
- เสด็จถึงเมืองกุสินารา
ประทมอนุฏฐานไสยา ๑๑๗
- ทรงยกย่องปฏิบัติบูชา ๑๑๘
- ทรงแสดงสังเวชนียสถาน
๔ ตำบล ๑๑๘
- ทรงแสดงสังเวชนียสถาน
๔ ตำบล ๑๑๘
- การบูชาพุทธสรีระเป็นกิจของคฤหัสถ์ ๑๑๘
- วิธีปฏิบัติในพระพุทธสรีระ ๑๑๙
- ถูปารหบุคคล
๔ ๑๑๙
- ทรงแสดงข้ออัศจรรย์
๔ ประการ ในพระอานนท์ ๑๑๙
- ตรัสให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่พวกมัลลกษัตริย์ ๑๒๐
- โปรดสุภัททปริพาชก ๑๒๐
- ปัจฉิมสักขิสาวก ๑๒๑
- ทรงตั้งพระธรรมวินัยเป็นศาสดา ๑๒๑
- ประทานปัจฉิมโอวาท ๑๒๑
- ปรินิพพาน ๑๒๒
- ผู้กล่าวคาถาแสดงธรรมสังเวช ๑๒๒
- ธาตุวิภัชชนกถา
กัณฑ์ที่ ๑๐
- ปรินิพพานได้
๘ วัน ถวายพระเพลิง ๑๒๓
- ส่วนที่ไม่ถูกเพลิงไหม้ ๑๒๓
- กษัตริย์และพราหมณ์ส่งทูตมาขอพระธาตุ ๑๒๓
- โทณพราหมณ์แจกพระธาตุ ๑๒๔
- โทณพราหมณ์ขอทะนานตวงพระธาตุ ๑๒๕
- โมริยกษัตริย์เชิญพระอังคารไปบรรจุ ๑๒๕
- ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์ ๑๒๕
- สังเวชนียสถาน
๔ ตำบล เป็นพุทธเจดีย์ ๑๒๖
- พระพุทธรูปเป็นอุทเทสิกเจดีย์ ๑๒๖
- ธรรมเจดีย์ ๑๒๖
-
เจดีย์
๒ ประเภท ๑๒๖
-
เจดีย์ทั้งหมดมี
๔ ประเภท ๑๒๗
- ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย ๑๒๗
- สังคายนาครั้งที่
๒ ๑๒๗
- สังคายนาครั้งที่
๓ ๑๒๘
- ประวัติพระเถระ
๑๖ รูป ผู้เคยเป็นศิษย์พราหมณ์พาวรี ๑๒๙
กรรมบถ
- บทนำ ๑๔๕
- หลักสูตรวิชาวินัย ๑๔๗
- อกุศลกรรมบถ
๑๐ ๑๔๘
- อธิบายอกุศลกรรมบถโดยอาการ
๕ ๑๔๙
- ปาณาติบาต ๑๕๓
- โทษของปาณาติบาต ๑๕๔
- อทินนาทาน ๑๕๖
- โทษของอทินนาทาน ๑๕๖
- กาเมสุมิจฉาจาร ๑๕๘
- โทษของกาเมสุมิจฉาจาร ๑๕๙
- กายกรรมเป็นไปในทวาร
๒ ๑๖๑
- มุสาวาท ๑๖๒
- โทษของมุสาวาท ๑๖๒
- ปิสุณวาจา ๑๖๔
- โทษของปิสุณวาจา ๑๖๔
- ผรุสวาจา ๑๖๖
- โทษของผรุสวาจา ๑๖๗
- สัมผัปปลาปะ ๑๖๙
- โทษของสัมผัปปลาปะ ๑๗๐
- วจีกรรมเป็นไปในทวาร
๒ ๑๗๑
- อภิชฌา ๑๗๓
- อารมณ์ภายนอกเป็นเหตุเกิดอภิชฌาได้ ๑๗๓
- พยาบาท ๑๗๖
- มิจฉาทิฏฐิ ๑๘๐
- นิยตมิจฉาทิฏฐิ
๓ อย่าง ๑๘๐
- โทษของมิจฉาทิฏฐิ ๑๘๑
- มโนกรรมเป็นไปในทวาร
๓ ๑๘๒
- โทษของอกุศลกรรมบถ
๑๐ ๑๘๔
- พฤติกรรมที่เป็นบาป
๔ อย่าง ๑๘๖
- คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว ๑๘๗
- กุศลกรรมบถ
๑๐ ๑๘๘
- คำว่า
กุศลกรรมบถ แปลได้ ๒ นัย ๑๘๙
- ธรรมจริยาและสมจริยา
ทางกายมี ๓ ๑๙๐
- ธรรมจริยาและสมจริยา
ทางวาจามี ๔ ๑๙๐
- ธรรมจริยาและสมจริยา
ทางใจมี ๓ ๑๙๑
- กุศลกรรมบถ
๑๐
ทำให้ได้มนุษยสมบัติ
สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ ๑๙๕
- อุปนิสัย
๓ อย่าง ๑๙๕
-
อธิบายกุศลกรรมบถ
๑๐ โดยอาการ ๕ ๑๙๗
- อานิสงส์ของกุศลกรรมบถ
๑๐ ๑๙๙
- สรุปกุศลกรรมบถ
- เครื่องมือสร้างความดี ๒๐๒
- คนดียิ่งกว่าคนดี ๒๐๗
**************************
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ.
อฏฺฐก.
องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาต
องฺ.
จตุกฺก.
“ จตุกฺกนิปาต
องฺ.
ฉกฺ
“ ฉกฺกนิปาต
องฺ.
ติก.
“ ติกนิปาต
องฺ.
ทสก.
“ ทสกนิปาต
องฺ.
ปญฺจก.
“ ปญฺจกนิปาต
องฺ.
สตฺตก.
“ สตฺตกนิปาต
ขุ.
อิติ.
ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก
ขุ.
อุ.
“ อุทาน
ขุ.
ขุ.
“ ขุทฺทกปาฐ
ขุ.
จริยา.
“ จริยาปิฏก
ขุ.
จู.
“ จูฬนิทฺเทส
ขุ.
ชา.
อฏฺฐก. ขุททกนิกาย
ชาตก อฏฺฐกนิปาต
ขุ.
ชา.
อสีติ.
“ อสีตินิปาต
ขุ.
ชา.
เอก.
“ เอกนิปาต
ขุ.
ชา.
จตฺตาฬีส.
“ จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ.
ชา.
จตุกฺก.
“ จตุกฺกนิปาต
ขุ.
ชา.
ฉกฺก.
“ ฉกฺกนิปาต
ขุ.
ชา.
ตึส.
“ ตึสนิปาต
ขุ.
ชา.
ติก.
“ ติกนิปาต
ขุ.
ชา.
เตรส.
“ เตรสนิปาต
ขุ.
ชา.
ทฺวาทส.
“ ทฺวาทสนิปาต
ขุ.
ชา.
ทสก.
“ ทสกนิปาต
ขุ.
ชา.
ทุก.
“ ทุกนิปาต
ขุ.
ชา.
นวก.
“ นวกนิปาต
ขุ.
ชา.
ปกิณฺณก.
ขุทฺทกนิกาย
ชาตก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ.
ชา.
ปญฺจก.
“ ปญฺจกนิปาต
ขุ.
ชา.
ปญฺญาส.
“ ปญฺญาสนิปาต
ขุ.
ชา.
มหา.
“ มหานิปาต
ขุ.
ชา.
วีส.
“ วีสตินิปาต
ขุ.
ชา.
สฏฺฐิ.
“ สฏฺฐินิปาต
ขุ.
ชา.
สตฺตก.
“ สตฺตกนิปาต
ขุ.
ชา.
สตฺตติ.
“ สตฺตตินิปาต
ขุ.
เถร.
ขุททกนิกาย เถรคาถา
ขุ.
เถรี.
“ เถรีคาถา
ขุ.
ธ.
“ ธมฺมปท
ขุ.
ปฏิ.
“ ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ.
พุ
“ พุทฺธวํส
ขุ.
มหา. “ มหานิทฺเทส
ขุ.
สุ. “ สุตฺตนิปาต
ที.
ปาฏิ. ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺค
ที.
มหา.
“ มหาวคฺค
ม.
อุป.
มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก
ม.
ม.
“ มชฺฌิมปณฺณาสก
สํ.
นิ.
สํยุตฺตนิกาย นิทานวคฺค
สํ.
มหา.
“ มหารวารวคฺค
สํ.
ส.
“ สคาถวคฺค
สํ.
สฬ.
“ สฬายตนวคฺค
ส.
ม.
สวดมนต์ฉบับหลวง (พิมพ์ครั้งที่
๕)
-
/ -
เลขหน้าขีดบอกเล่ม เลขหลังขีดบอกหน้า
จิตตวรรค
คือ หมวดจิต
๑. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ
ชาครโต ภยํ.
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ
มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว
มีบุญและบาปอันละได้แล้ว
ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๒๐.
๒.
กุมฺภูปมํ
กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ
จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ
มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ
รกฺเข อนิเวสโน สิยา.
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ
กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้
ไม่พึงยับยั้งอยู่
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๒๐.
๓.
จิตฺเตน
นียติ โลโก จิตฺเตน
ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส
เอกธมฺมสฺส สพฺเพว
วสมนฺวคู.
โลกถูกจิตนำไป
ถูกจิตชักไป,
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
(
พุทฺธ
) สํ.
ส.
๑๕ /
๕๔.
๔. ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา
ลูขํ
ตปํ วสฺสสตํ จรนฺตา
จิตตญฺจ
เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ
หีนตฺตรูปา
น ปารงฺคมา เต.
ผู้ถูกตัณหาครอบงำ
ถูกศีลพรตผูกมัด
ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี,
จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้
เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้
(
พุทฺธ
) สํ.
ส.
๑๕ /
๔๐.
๕. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺ
ตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ
ทนฺตํ สุขาวหํ.
การฝึกจิตที่ข่มยาก
ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่
เป็นความดี,
(เพราะว่า)
จิตที่ฝึกแล้ว
นำสุขมาให้
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๑๙.
๖. ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส
น ผาติ โหติ
น
จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย
ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ
อวญฺจยี
ทุกฺกฏกมฺมการี.
ผู้ใดทำกรรมชั่ว
ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย
ย่อมไม่มีความเจริญ
แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
(
นทีเทวดา
) ขุ.
ชา.
ติก.
๒๗ /๑๒๐.
๗. ภิกฺขุ
สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต
อากงฺเข
เว หทยสฺสานุปตฺตึ
โลก
สฺส ญตฺวา อุทยพฺพยญฺจ
สุเจต
โส อนิสฺสิโต ตทานิสํโส.
ภิกษุเพ่งพินิจ
มีจิตหลุดพ้น
รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งโลกแล้ว
มีใจดี ไม่ถูกกิเลสอาศัย
มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์
พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้
(
เทวปุ
ตฺต ) สํ.
ส.
๑๔ /
๗๓.
๘. โย
อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส
นโร
ภาเวติ
กุสลํ ธมฺมํ โยคกฺเขมสฺส
ปตฺติยา
ปาปุเณ
อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ.
คนใด
มีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรม
เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
(
พุทฺธ
) ขุ.
ชา.
เอก.
๒๗ /
๑๘.
๙. สุทุทฺทสํ
สุนิปุณํ ยตฺถ
กามนิปาตินํ
จิตฺ
ตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ
คุตฺตํ สุขาวหํ.
ผู้มีปัญญา
พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก
ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่,
(เพราะว่า)
จิตที่คุ้มครองแล้ว
นำสุขมาให้
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๑๙.
ธัมมวรรค
คือ หมวดธรรม
๑๐. อตฺถงฺคตสฺส
น ปมาณมตฺถิ
เยน
นํ วชฺชุ ตํ ตสฺส นตฺถิ
สพฺเพสุ
ธมฺเมสุ สมูหเตสุ
สมูหตา
วาทปถาปิ สพฺเพ .
ท่านผู้ดับไป
(คือปรินิพพาน)
แล้ว
ไม่มีประมาณ,
จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด
เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี,
เมื่อธรรมทั้งปวง
(มีขันธ์เป็นต้น)
ถูกเพิกถอนแล้ว
แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง
(ว่าผู้นั้นเป็นอะไร)
ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด
(
พุทฺธ
) ขุ.
สุ.
๒๕ /
๕๓๙.
ขุ.
จู.
๓๐ /
๑๓๙.
๑๑. อาทาน
ตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ
อุทฺธํ
อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
ยํ
ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ
เต
เนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุ.
พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง
ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ท่ามกลาง,
เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด
ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป
เพราะสิ่งนั้น ๆ
(พุทฺธ)
ขุ.
สุ.
๒๕ /
๕๔๖.
ขุ.
จู.
๓๐ /
๒๐๒.
๑๒. อุจฺฉินฺท
สิเนหมตฺตโน
กุมุทํ
สารทิกํว ปาณินา
สนฺ
ติมคฺคเมว พฺรูหย
นิพฺพานํ
สุคเตน เทสิตํ.
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย
เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง)
พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
(พุทฺธ) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๕๓.
๑๓. โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา
จ นิวารเย
สตํ
หิ โส ปิโย โหติ อสตํ
โหติ อปฺปิโย.
บุคคลควรเตือนกัน
ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี
แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
(พุทฺธ)
ขุ.
ธ.
๒๕ /
๒๕.
๑๔. กาเมสุ
พฺรหฺมจริยวา วีตตณฺโห
สทา สโต
สงฺขาย
นิพฺพุโต ภิกฺขุ ตสฺส
โน สนฺติ อิญฺชิตา.
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม
มีความประพฤติประเสริฐ
ปราศจากตัณหา มิสติทุกเมื่อ
พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว
ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
(พุทฺธ)
ขุ.
สุ.
๒๕ /
๕๓๑.
ขุ.
จู.
๓๐ /
๓๕.
๑๕. ขตฺติโย จ อธมฺมฏฺโฐ เวสฺโส จาธมฺมนิสฺสิโต
เต
ปริจฺจชฺชุโภ โลเก อุปปชฺชนฺติ
ทุคฺคตึ.
กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม
และแพศย์ (นสามัญ)
ไม่อาศัยธรรม
ชนทั้ง ๒ นั้นละโลกแล้ว
ย่อมเข้าถึงทุคติ
(โพธิสตฺต) ขุ.
ชา ปญฺจก.
๒๗ /
๑๗๕.
๑๖. คตทฺธิโน
วิโสกสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส
สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส ปริฬาโห
น วิชฺชติ.
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว
หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง
ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว
ย่อมไม่มีความเร่าร้อน
(พุทฺธ) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๒๗.
๑๗. จเช
ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
องฺคํ
จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ
ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ
จเช
นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ,
เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ,
เมื่อคำนึงถึงธรรม
พึงสละอวัยวะ ทรัพย์
และแม้ชีวิต ทุกอย่าง
(โพธิสตฺต) ขุ.
ชา.
อสีติ.
๒๘ /
๑๔๗.
๑๘. ฉนฺทชาโต
อนกฺขาเต มนสา
จ ผุโฐ สิยา
กาเม
จ อปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธํโสโตติ
วุจฺจติ.
พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้
ผู้มีจิตไม่ติดกาม
ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
(พุทฺธ)
ขุ.
ธ.
๒๕ /
๔๔.
๑๙. ชิฆจฺฉา
ปรมา โรคา สงฺขารา
ปรมา ทุกฺขา
เอตํ
ญตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ
ปรมํ สุขํ.
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว
ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง.
(พุทฺธ) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๔๒.
๒๐. ชีรนฺติ
เว ราชรถา สุจิตฺตา
อโถ
สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ
ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
สนฺโต
หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า
แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา
สัตบุรุษกับอสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
(พุทฺธ) สํ.
ส.
๑๕ /
๑๐๒.
๒๑. เต
ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ
ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ
ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ
อนุตฺตรํ.
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ
มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
(พุทฺธ)
ขุ.
ธ.
๒๕ /
๑๘.
๒๒. ทุกฺขเมว
หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ
ติฏฺฐติ เวติ จ
นาญฺญตฺร
ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร
ทุกฺขา นิรุชฺฌติ .
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
(วชิราภิกฺขุนี
) สํ.
ส.
๑๕ /
๑๙๙.
ขุ.
มหา.
๒๙ /
๕๓๖.
๒๓. ธมฺโม
ปโถ มหาราช อธมฺโม
ปน อุปฺปโถ
อธมฺโม
นิรยํ เนติ ธมฺโม
ปาเปติ สุคตึ.
มหาราช
ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม)
ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง
(ไม่ควรดำเนินตาม)
อธรรมนำไปนรก
ธรรมให้ถึงสวรรค์
(โพธิสตฺต)
ขุ.
ชา.
สฏฺฐิ.
๒๘ /
๓๙.
๒๔. นนฺทิสญฺโญชโน
โลโก วิตกฺกสฺส
วิจารณา
ตณฺหาย
วิปฺปหาเนน นิพฺพานํ
อิติ วุจฺจติ.
สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน
มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
ท่านเรียกว่านิพพาน
เพราะละตัณหาได้
(
พุทฺธ
) ขุ.
สุ.
๒๕ /
๕๔๗.
ขุ.
จุ.
๓๐/๓๑๖,๒๑๗..
๒๕. นาญฺญตฺร
โพชฺฌาตปสา นาญฺญตฺร
อินฺทฺริยสํวรา
นาญฺญตฺร
สพฺพนิสฺสคฺคา โสตฺถึ
ปสฺสามิ ปาณินํ.
เรา
(ตถาคต)
ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญา ความเพียร
ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง
(พุทฺธ) สํ.
ส.
๑๕ /
๗๕.
๒๖. ปญฺจกฺขนฺธา
ปริญฺญาตา ติฏฺฐนฺติ
ฉินฺนมูลกา
ทุกฺขกฺขโย
อนุปฺปตฺโต นตฺถิทานิ
ปุนพฺภโว.
เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว
มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว
ก็ไม่มีภพต่อไปอีก
(พฺรหฺมทตฺตเถรี) ขุ.
เถร.
๒๖ /๓๓๔.
๒๗. ปตฺตา
เต นิพฺพานํ เย ยุตฺตา ทสพลสฺส
ปาวจเน
อปฺโปสฺสุกฺกา
ฆเฏนฺติ ชาติมรณปฺปหานาย.
ผู้ใด
ประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล
มีความขวนขวายน้อย
พากเพียรละความเกิดความตาย
ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน
(สุเมธาเถร) ขุ.
เถรี.
๒๖ /
๕๐๒.
๒๘. พหุสฺสุตํ
อุปาเสยฺย สุตญฺจ
น วินาสเย
ตํ
มูลํ พฺรหมฺจริยสฺส ตสฺมา
ธมฺมธโร สิยา.
พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต
และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม
สุตะนั้นเป็นรากแห่งพรหมจรรย์
เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรม
(อานนฺทเถร) ขุ.
เถร.
๒๖ /
๔๐๖.
๒๙. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก
เสฏฺโฐ สจฺจานํ
จตุโร ปทา
วิราโค
เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ
จกฺขุมา.
บรรดาทางทั้งหลาย
ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด,
บรรดาสัจจะทั้งหลาย
บท ๔ ประเสริฐสุด,
บรรดาธรรมทั้งหลาย
วิราคธรรมประเสริฐสุด,
และบรรดาสัตว์
๒ เท้าทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๕๑.
๓๐. ยตฺถ
นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ
อุปรุชฺฌติ
วิญฺญาณสฺส
นิโรเธน เอตฺเถตํ
อุปรุชฺฌติ.
นามและรูป
ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด
นามและรูปนี้ ย่อมดับในที่นั้น
เพราะวิญญาณดับ.
(
พุทฺธ
) ขุ.
สุ.
๒๕ /
๕๓๑. ขุ.
จุ.
๓๐/๒๑.
๓๑. ยมฺหิ
สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา
สญฺญโม ทโม
เอตทริยา
เสวนฺติ เอตํ
โลเก อนามตํ.
สัจจะ
ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ
มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น
นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก.
(
อุปสาฬฺหกโพธิสตต
) ขุ.
ชา.
ทุก.
๒๗ /
๕๘.
๓๒. ยานิ
โสตานิ โลกสฺมึ สติ
เตสํ นิวารณํ
โสตานํ
สํวรํ พฺรูมิ ปญฺญาเยเต
ปิถิยฺยเร.
กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น
เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส
กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา
(พุทธ)
ขุ.สุ.๒๕
/๕๓๐.
ขุ.จู.๓๐/๑๖,
๒๐.
๓๓. เย
สนตจิตฺตา นิปกา สติมนฺโต
จ ฌายิโน
สมฺมา
ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ
อนเปกฺขิโน.
ผู้มีจิตสงบ
มีปัญญาเครื่องรักษาตัว
มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจไม่เยื่อใยในกาม
ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
(พุทฺธ) ขุ.
อิติ.
๒๕ /
๒๖๐.
๓๔. โย
จ ปปญฺจํ หิตฺวาน นิปฺปปญฺจปเท
รโต
อาราธยิ
โส นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ
อนุตฺตรํ.
ผู้ใดละปปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในธรรมที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
(สารีปุตฺต) องฺ.
ฉกฺก.
๒๒ /
๓๒๙
๓๕. สกํ
หิ ธมฺมํ ปริปุณฺณมาหุ
อญฺญสฺส
ธมฺมํ ปน หีนมาหุ
เอวมฺปิ
วิคฺคยฺห วิวาทยนฺติ
สกํ
สกํ สมฺม สติมาหุ สจฺจํ.
สมณพราหมณ์บางเหล่า
กล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์,
แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว
(บกพร่อง),
เขาย่อมทะเลาะวิวาทกันแม้ด้วยเหตุนี้
เพราะต่างก็กล่าวข้อสมติของตน
ๆ ว่าเป็นจริง
(พุทฺธ)
ขุ.
สุ.
๒๕ /
๕๑๑. ขุ.
มหา.
๒๙ /
๓๘๓.
๓๖. สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน สติปฏฺฐานโคจโร
วิมุตฺติกุสุม
สญฺฉนฺโน ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว.
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน
มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์
ดาดาษด้วยดอกไม้คือวิมุตติ
หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน
(เทวสภเถร) ขุ.
เถร.
๒๖ /
๒๘๒.
๓๗. สุขํ
วต นิพฺพานํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
อโสกํ
วิรชํ เขมํ ยตฺถ
ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ.
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ไม่มีโศกปราศจากธุลี เกษม
เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
(หาริตเถร) ขุ.
เถร.
๒๖ /
๓๐๙.
๓๘. โสรจฺจํ
อวิหึสา จ ปาทา
นาคสฺส เต ทุเว
สติ
จ สมฺปชญฺญญฺจ จรณา
นาคสฺส เต ปเร.
โสรัจจะและอวิหิงสานั้น
เป็นช้างเท้าหลัง
สติและสัมปชัญญะนั้น
เป็นช้างเท้าหน้า
(อุทายีเถร) ขุ.
เถร.
๒๖ /
๓๖๘.
๓๙. หีนํ
ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน
น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ
น เสเวยฺย น
สิยา โลกวฑฺฒโน.
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว
ไม่ควรอยู่กับความประมาท
ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ
ไม่ควรเป็นคนรกโลก
(พุทฺธ) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๓๗.
๔๐. หีเนน
พฺรหฺมจริเยน ขตฺติเย
อุปปชฺชติ
มชฺฌิเมน
จ เทวตฺตํ อุตฺตเมน
วิสุชฺฌติ.
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์
ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว,
ถึงความเป็นเทวดา
ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง,
ย่อมบริสุทธิ์
ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
(พุทฺธ) ขุ.
ชา.
มหา.
๒๘ /
๑๙๙.
วิริยวรรค
คือ หมวดความเพียร
๔๑. โกสชฺชํ
ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ
เขมโต
อารทฺธวิริยา
โหถ เอสา
พุทฺธานุสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด
นี้เป็นพุทธานุศาสนี
(พุทฺธ) ขุ.
จริยา.
๓๓ /
๕๙๕
๔๒. ตุมฺเหหิ
กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร
ตถาคตา
ปฏิปนฺนา
ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน
มารพนฺธนา.
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง
ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว
จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
(พุทฺธ) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๕๑.
๔๓. นิทฺทํ
ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ อรตึ
ภตฺตสมฺมทํ
วิริเยน
นํ ปณาเมตฺวา อริยมคฺโค
วิสุชฺฌติ.
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์
เพราะขับไล่ความหลับ
ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ
ความไม่ยินดี
และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร
(พุทฺธ) สํ.
ส.
๑๕ /
๑๐.
๔๔. โย
จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต
หีนวีริโย
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ
อารภโต ทฬฺหํ.
ผู้ใดเกียจคร้าน
มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง
มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้นั้น
(พุทฺธ) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๓๐
๔๕. สพฺพทา
สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา
สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย
ปหิตตฺโต โอฆํ
ตรติ ทุตฺตรํ.
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
มีปัญญา มีใจมั่งคงดีแล้ว
ปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
(พุทฺธ) สํ.
ส.
๑๕ /
๗๔
สามัคคีวรรค
คือ หมวดสามัคคี
๔๖. วิวาทํ
ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ
เขมโต
สมคฺคา
สขิลา โหถ เอสา
พุทฺธานุสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย
และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียง
มีความประนีประนอมกันเถิด
นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
(พุทฺธ) ขุ.
จริยา.
๓๓ /
๕๙๕.
๔๗. สามคฺยเมว
สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ
ปสํสิตํ
สามคฺยรโต
ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา
น ธํสติ.
พึงศึกษาความสามัคคี,
ความสามัคคีนั้น
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
สรรเสริญแล้ว,
ผู้ยินดีในสามัคคี
ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
(พุทฺธ) ขุ.
ชา.
เตรส.
๒๗ /
๓๔๖.
๔๘. สุขา
สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต
ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา
น ธํสติ.
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข
และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข,
ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
(
พุทฺธ
) ขุ.
อิติ.
๒๕ /
๒๓๘.
อัปปมาทวรรค
คือ หมวดไม่ประมาท
๔๙. อปฺปมตฺตา
สตีมนฺโต สุสีลา
โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติ มีศีลดีงาม
ตั้งความดำริไว้ให้ดี
คอยรักษาจิตของตน
(พุทฺธ) ที.
มหา.
๑๐ /
๑๔๒.
๕๐. อปฺปมาทรตา
โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา
อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก
สนฺโนว กุญฺชโร.
ท่านทั้งหลาย
จงยินดีในความไม่ประมาท
คอยรักษาจิตของตน,
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม
เหมือนช่างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๕๘.
๕๑. อปฺปมาทรโต
ภิกขุ ปมาเท
ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ
อณุ ถูลํ ฑหํ
อคฺคีว คจฺฉติ.
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท
หรือเห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป
เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๑๙.
๕๒. อปฺปมาทรโต
ภิกฺขุ ปมาเท
ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ
ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว
สนฺติเก.
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท
หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม
(ชื่อว่า)
อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๑๙.
๕๓. เอวํวิหารี
สโต อปฺปมตฺโต
ภิกฺขุ
จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ
โสกปริทฺทวญฺจ
อิเธว
วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ.
ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้
มีสติ ไม่ประมาท
ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป
เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา
โสกะ ปริเทวะ และทุกข์
ในโลกนี้ได้
(
พุทฺธ
) ขุ.
สุ.
๒๕ /
๕๓๕. ขุ.
จู.
๓๐ /
๙๒.
๕๔. อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน
ทเมน จ
ทีปํ
กยิราถ เมธาวี ยํ
โอโฆ นาภิกีรติ.
คนมีปัญญา
พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้
ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท
ความสำรวม และความข่มใจ
(
พุทฺธ
) ขุ.
ธ.
๒๕ /
๑๘.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen