Sonntag, 5. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2549



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
 --------------------------
. อย่างไรเรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง และสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงนั้นสามารถ
ทำสังฆกรรมใดได้บ้าง ?
 ตอบ:
. ภิกษุผู้อยู่ในสมานสังวาสสีมา แปลว่าแดนมีสังวาสเสมอกัน เป็นแดนที่
กำหนดความพร้อมเพรียง มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และ
สังฆกรรมร่วมกัน ทั้งหมดเข้าประชุมกันเป็นสงฆ์ หรือนำฉันทะของภิกษุ
ผู้ไม่มาเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ฯ
สามารถทำสังฆกรรมทั้ง ๔ ประเภท มีอปโลกนกรรมเป็นต้นได้ ฯ

. ภิกษุที่เรียกในบาลีว่า ผู้เข้ากรรม คือใคร ? และต้องประกอบด้วย
คุณสมบัติอย่างไร ?
 ตอบ:
. คือภิกษุผู้เข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้นๆ ฯ
ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือเป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสีย
จากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ และเป็น
สมานสังวาสของกันและกัน ฯ

. สังฆกรรมย่อมวิบัติเพราะเหตุไรบ้าง ? ภิกษุ ๓ รูป ประชุมกันในสีมา
สวดปาฏิโมกข์ ชื่อว่าวิบัติเพราะเหตุไหน ?  
ตอบ:

. สังฆกรรมย่อมวิบัติ (คือใช้ไม่ได้ แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ) เพราะ
เหตุ ๔ อย่าง คือ เพราะวัตถุบ้าง เพราะสีมาบ้าง เพราะปริสะบ้าง
เพราะกรรมวาจาบ้าง ฯ
ชื่อว่าวิบัติเพราะปริสะ ฯ

. กรานกฐิน คืออะไร ? อธิบายพอเข้าใจ
ตอบ:
. คือเมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทำเป็นไตรจีวร
ผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้ได้รับ
ผ้านั้นเอาไปทำเป็นจีวรแล้วเสร็จในวันนั้นแล้วมาบอกแก่ภิกษุ ผู้ยกผ้านั้น
ให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนา ทั้งหมดนี้คือกรานกฐิน ฯ

. ภิกษุ ๒ ฝ่ายก่อวิวาทเพราะปรารถนาดีก็มี เพราะปรารถนาเลวก็มี
อยากทราบว่าอย่างไรชื่อว่าก่อวิวาทเพราะปรารถนาดี อย่างไรชื่อว่าก่อวิวาท
เพราะปรารถนาเลว ?
ตอบ:
. ผู้ใดตั้งวิวาทเพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี
ผู้ใดตั้งวิวาทด้วยทิฐิมานะ แม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ

. ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเห็นร่วมกันกับส่วนใหญ่ ไม่ถือแต่
มติของตน เป็นธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ภิกษุปฏิบัติอย่างไร
จึงจะรักษาธรรมนั้นได้ ? 
ตอบ:
. ปฏิบัติอย่างนี้คือ เคารพในพระศาสดา ในพระธรรมวินัย และเคารพ
ในสงฆ์ผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาพระธรรมวินัย สำคัญมติของสงฆ์นั้นว่า
เป็นเนตติอันตนควรเชื่อถือและทำตาม ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมรักษา
ทิฏฐิสามัญญตานั้นไว้ได้ ฯ

. การทำกรรมมีตัชชนียกรรมเป็นต้นแก่ภิกษุหรือคฤหัสถ์ ควรปฏิบัติ
อย่างไรจึงจะไม่เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี ? 
ตอบ:
. พึงตั้งอยู่ในมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา ความเป็น
ผู้รู้จักกาล ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล ดำริโดยรอบคอบแล้ว
จึงทำ ไม่พึงใช้อำนาจที่ประทานไว้ เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี
เช่น พวกภิกษุชาวโกสัมพีได้ทำมาแล้ว ฯ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. ๒๕๐๕
แก้ไขเพิ่มเติม พ.. ๒๕๓๕

. ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กำหนดองค์ประกอบ
มหาเถรสมาคมไว้อย่างไร ? 
ตอบ:
. กำหนดไว้ดังนี้
สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดย
ตำแหน่ง
สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวน
ไม่เกิน ๑๒ รูป เป็นกรรมการ ฯ

. พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมเมื่อทำผิดเช่นไร ? และผู้ได้รับนิคหกรรม
ให้สึก ต้องสึกภายในเวลาเท่าไร ? 
ตอบ:
. เมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และนิคหกรรมที่จะลงโทษแก่ ภิกษุนั้น จะต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย ฯ
ต้องสึกภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น ฯ

๑๐. พระภิกษุจะไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งเลยได้หรือไม่ ?
อ้างมาตราประกอบด้วย
ตอบ:
๑๐. ไม่ได้ ฯ
ตามมาตรา ๒๗ () แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ แก้ไข
เพิ่มเติม พ.. ๒๕๓๕ ฯ
*********




 Cr. ภาพจาก : http://www.mahamodo.com/

Keine Kommentare: