ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ
นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพุธ
ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๐
------------------------
๑. จงเล่าความเป็นมาของพุทธโกลาหล
ฯ
ตอบ:
๑. เมื่อสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลายลงมาเที่ยวประกาศทั่วหมื่นโลกธาตุว่า
เบื้องหน้าแต่นี้ล่วงไปอีกแสนปี
พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลก
ถ้าใคร่จะพบเห็น จงเว้นจากเวรทั้ง
๕ อุตส่าห์บำเพ็ญทาน รักษาศีล
เจริญภาวนา กระทำการกุศลต่าง
ๆ ดังนี้ จึงทำให้เกิดพุทธโกลาหลขึ้น
ฯ
๒. ฤษีปัญจวัคคีย์ออกบวชตามและอยู่ปรนนิบัติพระพุทธองค์ขณะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
เพราะคิดอย่างไร ?
หลีกหนีไปเพราะคิดอย่างไร
? และการทั้ง
๒ นั้น มีผลดีอย่างไร ?
ตอบ:
๒. ออกบวชตามเพราะคิดว่า
บรรพชาของพระองค์คงมีประโยชน์
พระองค์บรรลุธรรมใด
จักทรงสั่งสอนให้ตนบรรลุธรรมนั้นบ้าง
ฯ
หลีกไปโดยคิดว่า
พระองค์ทรงละทุกรกิริยาแล้ว
คงจะไม่บรรลุธรรมพิเศษอันใดได้
ฯ
การมาปรนนิบัตินั้น
ทำให้สามารถเป็นพยานได้ว่า
พระพุทธองค์ทรงเคยประพฤติอัตตกิลมถานุโยคอย่างอุกฤษฎ์มาแล้ว
แม้เช่นนี้ก็ไม่เป็นทางที่จะให้รู้ธรรมพิเศษอันใดได้
ส่วนการหลีกหนีไปนั้นก็เป็นผลดี
เพราะเวลานั้นเป็นเวลาบำเพ็ญเพียรทางจิต
ซึ่งต้องการความสงัด ฯ
๓. พระมหาสุบินนิมิตก่อนจะตรัสรู้ที่ว่า
เสด็จจงกรมบนภูเขาอุจจาระโดยพระบาทไม่แปดเปื้อน
หมายถึงอะไร ?
ตอบ:
๓. หมายถึง
จะทรงได้ปัจจัยทั้ง ๔
แต่มิได้มีพระทัยปลิโพธิเอื้อเฟื้อในปัจจัยทั้งปวง
ฯ
๔. พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานจาตุรงคมหาปธาน
มีใจความว่าอย่างไร ?
ที่ไหน ?
และได้รับผลอย่างไร
?
ตอบ:
๔. มีใจความว่า
หากยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจักไม่ลุกขึ้น
แม้เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดไป
เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูก
ก็ตามที ฯ
ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ฯ
ได้รับผลคือ
บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณสมดังพระหฤทัย
ฯ
๕. ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไรในอริยสัจ
๔ ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
ทำให้พระพุทธองค์ทรงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ที่ว่ารอบ ๓ อาการ ๑๒ คืออย่างไร
?
ตอบ:
๕. คือ
ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์
ทุกข์นั้นควรกำหนดรู้
ทุกข์นั้นได้กำหนดรู้แล้ว
นี้เหตุให้เกิดทุกข์
เหตุให้เกิดทุกข์นั้นควรละ
เหตุให้เกิดทุกข์นั้นได้ละแล้ว
นี้เหตุให้ทุกข์ดับ
เหตุให้ทุกข์ดับนั้นควรทำให้แจ้ง
เหตุให้ทุกข์ดับนั้นได้ทำให้แจ้งแล้ว
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ข้อปฏิบัตินั้นควรทำให้เกิด
ข้อปฏิบัตินั้นได้ทำให้เกิดแล้ว
ฯ
๖. ก่อนจะทรงแสดงอริยสัจ
๔ พระพุทธองค์ทรงแสดงส่วนสุด
๒ อย่างแก่ปัญจวัคคีย์
แต่ทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่ยสกุลบุตร
เพราะเหตุไร ?
ตอบ:
๖. เพราะปัญจวัคคีย์ได้ละกามออกบวชเป็นฤษีแล้ว
ซึ่งบรรพชิตในครั้งนั้นหมกมุ่นอยู่ในส่วนสุด
๒ อย่าง คืออัตตกิลมถานุโยคและกาม
สุขัลลิกานุโยค
ฤษีปัญจวัคคีย์ติดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค
จึงไม่จำต้องแสดงอนุปุพพีกถาเพื่อฟอกจิตให้สะอาดจากกาม
แต่ยสกุลบุตรเป็น
ผู้เสพกามอยู่ครองเรือน
กำลังได้รับความขัดข้องวุ่นวายจากกามอยู่
จึงทรงแสดงอนุปุพพีกถาฟอกจิตให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม
ควรรับธรรมเทศนาคืออริยสัจ
๔ เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทิน
ควรรับ น้ำย้อมได้ฉะนั้น
ฯ
๗. พระพุทธบัญญัติที่ว่า
ผู้ขออุปสมบทต้องได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาก่อน
นั้น มีประวัติความเป็นมาโดยย่ออย่างไร
?
ตอบ:
๗. พระเจ้าสุทโธทนะทรงโทมนัสมาก
เพราะพระสิทธัตถราชกุมาร
พระนันทะ และพระราหุล
เสด็จออกผนวชแล้ว สิ้นผู้จะสืบราชวงศ์
ต่อไป ทรงปรารภทุกข์นี้ที่จะพึงมีแก่มารดาบิดาในตระกูลอื่น
จึงทูลขอพระพุทธองค์ให้มารดาบิดาต้องอนุญาตก่อนจึงจะบวชกุลบุตรได้
จึงเกิดพระพุทธบัญญัติข้อนี้ขึ้น
ฯ
๘. บิณฑบาตของนางสุชาดาที่ถวายก่อนแต่ตรัสรู้
และของนายจุนทะที่ถวายก่อนแต่เสด็จปรินิพพาน
มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน
เพราะเหตุไร ?
ตอบ:
๘. เพราะ
ก.
ปรินิพพานเสมอกัน
คือสอุปาทิเสสปรินิพพานและอนุปาทิเสสปรินิพพาน
ข.
สมาบัติเสมอกัน
คือทรงเข้าสู่สมาบัติ ๒๔
แสนโกฏิเสมอกันก่อนจะตรัสรู้และก่อนจะปรินิพพาน
ค.
เมื่อบุคคลทั้ง
๒ ระลึกถึงการถวายบิณฑบาตของตน
ก็บังเกิดปีติโสมนัสอย่างแรงกล้าเหมือนกัน
ฯ
๙. ใครเป็นผู้ถามพระปุณณมันตานีบุตรว่า
ข้าพเจ้าถามท่านว่า
ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออย่างนั้นหรือ
ๆ ท่านก็ตอบว่า ไม่อย่างนั้น
ๆ เมื่อเป็นอย่างนี้
ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไรเล่า
? และได้รับคำตอบว่าอย่างไร
?
ตอบ:
๙. พระสารีบุตรเป็นผู้ถาม
ฯ
ได้รับคำตอบว่า
เราประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความดับไม่มีเชื้อ
ฯ
๑๐. พระสาวกผู้ใหญ่
๘๐ องค์ เท่าที่ปรากฏในหนังสือพุทธานุพุทธประวัติ
มีองค์ใดนิพพานก่อนและหลังพระพุทธองค์บ้าง
? จงบอกมาอย่างละ
๒ องค์ ฯ
ตอบ:
๑๐. (ตอบเพียงอย่างละ
๒ องค์)
ผู้นิพพานก่อนพระพุทธองค์
คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ
และพระราหุล ฯ
ผู้นิพพานหลังพระพุทธองค์
คือ พระมหากัสสปะ พระอุบาลี
พระอนุรุทธะ
พระอานนท์ ฯ
***********
Cr. ภาพจาก : http://www.mahamodo.com/ |
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen