Dienstag, 14. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2550




ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
--------------------------
. สังฆกรรมจำแนกออกเป็นประเภท เรียกโดยชื่อมีอะไรบ้าง ? กรรมอะไรบ้างที่สงฆ์จตุวรรคทำได้ ?
ตอบ:
. มี อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ ฯ
เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน นอกนั้นทำได้ ทุกอย่าง ฯ

. สีมาสังกระ คืออะไร ? สงฆ์จะทำสังฆกรรมในสีมาเช่นนั้นได้หรือไม่อย่างไร ?
ตอบ:
. คือ สีมาที่สมมติคาบเกี่ยวกันระหว่างสีมาที่สมมติไว้เดิมและสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ ฯ
สงฆ์ทำสังฆกรรมในสีมาที่สมมติไว้เดิมได้ แต่ทำในสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ไม่ได้ ฯ

. การอปโลกน์ และ การสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภท ใด ? การกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ พึงกล่าวว่าอย่างไร ?
ตอบ:
. การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นอปโลกนกรรม การสวดเพื่อให้ ผ้ากฐิน จัดเป็นญัตติทุติยกรรม ฯ
ว่า อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ ฯ

. การบรรพชาและการอุปสมบท สำเร็จด้วยวิธีอะไร ?
นอกจากอภัพบุคคลและผู้มีบรรพชาโทษแล้ว บุคคลประเภทใดบ้างที่ถูกห้ามไม่ให้อุปสมบท ?
ตอบ:


. การบรรพชาสำเร็จด้วยวิธีไตรสรณคมน์ และการอุปสมบทสำเร็จด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจา ฯ
คือ . คนไม่มีอุปัชฌาย์
. คนไม่มีบาตร คนไม่มีจีวร หรือไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร
. คนยืมบาตร จีวร หรือยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามา ฯ

. อนุวาทาธิกรณ์เช่นไร อันภิกษุจะพึงยกขึ้นว่าได้ ?
ตอบ:
. ต้องเป็นเรื่องมีมูล คือ เรื่องที่ได้เห็นเอง ๑ เรื่องที่ได้ยินเอง หรือมีผู้บอกและเชื่อว่าเป็นจริง ๑ เรื่องที่เว้นจาก ๒ สถานนั้น แต่รังเกียจโดยอาการ ๑ เช่นได้ยินว่า พัสดุชื่อนี้ของผู้มีชื่อนี้หายไป ได้พบพัสดุชนิดนั้นในที่อยู่ของภิกษุชื่อนั้น ฯ

. การคว่ำบาตรในทางพระวินัยหมายถึงอะไร ? และจะหงายบาตรได้ เมื่อไร ?
ตอบ:
. หมายถึง การไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ
. ไม่รับบิณฑบาตของเขา
. ไม่รับนิมนต์ของเขา
. ไม่รับไทยธรรมของเขา ฯ
เมื่อผู้ถูกคว่ำบาตรนั้นละโทษนั้นแล้ว กลับประพฤติดี ฯ


. สังฆราชี คืออะไร ?
ตอบ:
. คือ การที่ภิกษุแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย เพราะมีความเห็นปรารภ พระธรรมวินัยผิดแผกกันจนเกิดเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น หรือมีความปฏิบัติไม่สม่ำเสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากัน เกิดรังเกียจกันขึ้น แต่ยังไม่แยกทำอุโบสถปวารณาหรือสังฆกรรมอื่น ฯ

. ภิกษุเมื่อลาสิกขา ต้องทำเป็นกิจลักษณะด้วยการกล่าวคำปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าใครได้บ้าง ? และทำอย่างไรจึงเป็น กิจลักษณะ ?
ตอบ:
. ต่อหน้าภิกษุด้วยกันหรือคนอื่นจากภิกษุก็ได้ ฯ
ปฏิญญาอย่างนี้ คือ
พร้อมด้วยจิต คือทำด้วยตั้งใจเพื่อลาสิกขาจริง ๆ
พร้อมด้วยกาล คือด้วยคำเด็ดขาด ไม่ใช่รำพึง ไม่ใช่ปริกัป
พร้อมด้วยประโยค คือปฏิญญาด้วยตนเอง
พร้อมด้วยบุคคล คือผู้ปฏิญญาและผู้รับปฏิญญาเป็นคนปกติ
พร้อมด้วยความเข้าใจ คือผู้รับปฏิญญาเข้าใจคำนั้นในทันที ฯ


พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คืออะไร ?
ตอบ:
. คือ กฏหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์ มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ ฯ

๑๐. ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก มีโทษอย่างไร ?
ตอบ:
๑๐. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯ
***********
Cr. ภาพจาก : http://www.mahamodo.com/

Keine Kommentare: