Montag, 20. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นโท ปี 2551



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
---------------------
. อภิสมาจาร คืออะไร ? ปรับอาบัติได้กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ:
. คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ ปรับอาบัติได้ ๒ อย่าง ฯ
คือ ถุลลัจจัยและทุกกฏ ฯ

. มีข้อกำหนดในการไว้ผมยาวของพระภิกษุอย่างไร ?
ในการโกนผม ภิกษุใช้กรรไกรแทนมีดโกนได้หรือไม่ ?
ตอบ:
. ไว้ได้เพียง ๒ เดือน หรือ ๒ นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง ฯ
ไม่ได้ เว้นไว้แต่อาพาธ ฯ

. จีวรผืนหนึ่ง มีกำหนดจำนวนขัณฑ์ไว้อย่างไร ?
ใน ๑ ขัณฑ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
ตอบ:

. กำหนดจำนวนไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ขัณฑ์ แต่ให้เป็นขัณฑ์คี่ คือ ๗, , ๑๑ เป็นต้น ฯ ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล กุสิ อัฑฒกุสิ ฯ

. นิสัยระงับ กับ นิสัยมุตตกะ มีอธิบายอย่างไร ?
ตอบ:
. นิสัยระงับ หมายถึงการที่ภิกษุผู้ถือนิสัยขาดจากปกครอง
นิสัยมุตตกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้พรรษา ๕ แล้ว และมีคุณสมบัติพอรักษาตนผู้อยู่ตามลำพังได้ ทรงพระอนุญาตให้พ้นจากนิสัย ฯ

. ในคำว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ:
. ได้แก่ ขนบ คือแบบอย่าง อันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ
ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ ฯ
มี . กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทำ
. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
. วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง ฯ

. เพื่อแสดงความเคารพในภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า เมื่ออยู่ในกุฎีเดียวกับท่าน ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ตอบ:
. ควรปฏิบัติตนอย่างนี้ คือ จะทำสิ่งใดๆ ควรขออนุญาตท่านก่อน เช่น จะสอนธรรม จะอธิบายความ จะสาธยาย จะแสดงธรรม จะจุดจะดับไฟ จะเปิดจะปิดหน้าต่าง ห้ามมิให้ทำตามอำเภอใจ ฯ

. การทำอุโบสถสวดปาติโมกข์ นอกจากวันพระจันทร์เพ็ญและพระจันทร์ดับแล้ว ยังทรงอนุญาตให้ทำได้ในวันใดอีก ? อุโบสถเช่นนั้น เรียกว่าอะไร ?
ตอบ:
. ในวันที่ภิกษุผู้แตกกันปรองดองกันได้ ฯ เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ ฯ

. ในวัดหนึ่งมีภิกษุจำพรรษา ๔ รูป เมื่อถึงวันปวารณาออกพรรษาพึงทำอย่างไร ? ถ้ามีภิกษุอาคันตุกะสัตตาหะมาสมทบอีก ๕ รูป
จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ:
. ในวันมหาปวารณาพึงทำคณะปวารณา โดยรูปหนึ่งตั้งญัตติแล้วกล่าวปวารณาตามลำดับพรรษา ฯ ถ้ามีภิกษุอาคันตุกะสัตตาหะมาเพิ่มอีก ๕ รูป พึงทำปวารณาเป็นสังฆปวารณา แล้วกล่าวปวารณาตามลำดับพรรษา ฯ

. ภิกษุได้ชื่อว่า “กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุล” เพราะประพฤติอย่างไร ?
ตอบ:
. เพราะประพฤติให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส คือ เป็นผู้ประจบเขาด้วยกิริยาทำตนอย่างคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ

๑๐. กาลิก มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? กล้วยดองน้ำผึ้งเป็นกาลิกอะไร ?
ตอบ:
๑๐. มี ๔ ฯ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ฯ
เป็นยาวกาลิก ฯ
***********

Keine Kommentare: