ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ
นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี
ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
------------------------
๑. พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร
คืออะไร ?
ทั้ง
๒ รวมเรียกว่าอะไร ?
ตอบ
:
๑. พุทธบัญญญัติ
คือข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น
เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย
และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง
เบาบ้าง ส่วนอภิสมาจาร
คือขนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น
เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม
ฯ ทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า
พระวินัย ฯ
๒. อาบัติ
คืออะไร ?
อาบัติที่เป็นโลกวัชชะและที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร
?
จงยกตัวอย่างประกอบด้วย
ตอบ
:
๒. คือ
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม
ฯ
อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่า
อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย
คนสามัญทำก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน
เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น
ส่วนที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่า
อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ
แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย
เช่น ขุดดิน เป็นต้น ฯ
๓. สิกขากับสิกขาบท
ต่างกันอย่างไร ?
อย่างไหนมีเท่าไร
?
อะไรบ้าง
?
ตอบ
:
๓. สิกขา
คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา
มี ๓ ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา
ปัญญาสิกขา
ส่วนสิกขาบท คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง
ๆ เป็นสิกขาบท
หนึ่ง
ๆ มี ๒๒๗ สิกขาบท ได้แก่
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓
อนิยต
๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ
๔
เสขิยะ
๗๕ และ อธิกรณสมถะ ๗ ฯ
๔. คำว่า
อาบัติที่ไม่มีมูล
กำหนดโดยอาการอย่างไร ?
ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร
?
ตอบ
:
๔. กำหนดโดยอาการ
๓ คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑
ไม่ได้ยินเอง ๑ ไม่ได้เกิด
รังเกียจสงสัย ๑
ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น
ฯ โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส
โจทด้วยอาบัติอื่นจากอาบัติปาราชิกต้องอาบัติปาจิตตีย์
ฯ
๕. ในสิกขาบทที่
๒ แห่งอาบัติปาราชิก
ทรัพย์เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก
อาบัติถุลลัจจัย และอาบัติทุกกฏ
มีกำหนดราคาไว้เท่าไร ?
ตอบ
:
๕. มีกำหนดราคาไว้ดังนี้
ทรัพย์
มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์
มีราคาไม่ถึง ๕ มาสก แต่มากกว่า
๑ มาสก เป็นเหตุให้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์
มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา
เป็นเหตุให้ต้องอาบัติทุกกฏ
ฯ
๖. ผ้าไตรครอง
มีอะไรบ้าง ?
ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร
?
ตอบ
:
๖. มี
สังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก
ฯ ต่างกันอย่างนี้
ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน
มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน
ส่วนอติเรกจีวร
คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง
มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ
๗. พระ
ก.
นำเบียร์มาให้พระ
ข. ดื่ม
โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม
พระ ข.
หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป
ถามว่า พระ ก.
และพระ
ข.
ต้องอาบัติอะไรหรือไม่
?
ตอบ
:
๗. พระ
ก.
เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพูดปด
พระ
ข.
เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มน้ำเมา
แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ
เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ
ฯ
๘. ภิกษุนำตั่งของสงฆ์ไปตั้งใช้ในที่แจ้ง
จะหลีกไปสู่วัดอื่นต้องทำอย่างไร
จึงจะไม่เป็นอาบัติ ?
ตอบ
:
๘. ต้องเก็บด้วยตนเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ
หรือมอบหมายให้ผู้อื่น
จึงจะไม่เป็นอาบัติ
ฯ
๙. ลักษณะการประเคนประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง
?
การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนก็ดี
การจับผ้าปูโต๊ะประเคนก็ดี
ทั้ง ๒ วิธีนี้ถูกต้องหรือไม่
?
เพราะเหตุไร
?
ตอบ
:
๙. ประกอบด้วยองค์ต่อไปนี้
๑. ของที่จะพึงประเคนนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป
พอคนปานกลาง
ยกได้คนเดียว
๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส
๓. เขาน้อมเข้ามา
๔. กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น
ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
ด้วยโยนให้ก็ได้
๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้
ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
ฯ
ไม่ถูกทั้ง
๒ วิธี เพราะไม่ต้องลักษณะองค์ประเคน
คือ การช่วยกัน
ยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนผิดลักษณะองค์ที่
๑
การจับผ้าปูโต๊ะประเคนผิดลักษณะองค์ที่
๓ ฯ
๑๐. อธิกรณ์
คืออะไร ?
เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร
?
ตอบ
:
๑๐. คือ
เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ
ฯ
ต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น
ๆ ฯ
***********
Cr. ภาพจาก : http://www.mahamodo.com/ |
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen