ปัญหาและเฉลยวิชาอุโบสถศีล
(วินัย)
ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์
ที่
๑๐
พฤศจิกายน
พ.ศ.
๒๕๔๙
เวลา
๑๕.๐๐
น.
คำสั่ง
:
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ
ให้เวลา
๕๐
นาที
(๑๐๐
คะแนน)
-----------------------
๑.
สามัญชนปฏิบัติตนอย่างไร
จึงชื่อว่าตามรอยพระอรหันต์
?
ก.
รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ข.
รักษากายให้บริสุทธ์
ค.
รักษาใจให้บริสุทธิ์ ง.
รักษาวาจาให้บริสุทธิ์
๒.
คฤหัสถ์ปรารถนาชำระตนให้หมดจด
ควรปฏิบัติอย่างไร
?
ก.
ไหว้พระ ข.
สวดมนต์
ค.
รักษาศีล ง.
ชำระบาป
๓.
ศีลที่ต้องรักษาตามกาลที่กำหนดไว้
ตรงกับข้อใด
?
ก.
ศีล
๕ ข.
ศีล
๘
ค.
ศีล
๑๐ ง.
ศีล
๒๒๗
๔.
การรักษาศีลข้อใด
เป็นความเชื่อที่ผิด
?
ก.
ได้พักการงาน ข.
ได้ทำบุญกุศล
ค.
ได้ชำระบาป ง.
ได้อบรมจิตใจ
๕.
การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
หมายถึงอะไร
?
ก.
การนั่งใกล้
ๆ ข.
การขอโชคลาภ
ค.
การปรนนิบัติ ง.
การถือเป็นที่พึ่ง
๖.
พระรัตนตรัยได้ชื่อว่าเป็นสรณะที่ปลอดภัย
เพราะอะไร
?
ก.
ช่วยกำจัดทุกข์ ข.
ช่วยกำจัดภัย
ค.
ช่วยกำจัดเวร ง.
ถูกทุกข้อ
๗.
หากเปรียบพระพุทธเจ้าดุจสารถีผู้ชาญฉลาด
พระธรรมดุจวิธีฝึกม้า
พระสงฆ์จะเปรียบเหมือนม้าเช่นไร
?
ก.
ม้ากำลังฝึกเดิน ข.
ม้ายังมิได้ฝึกหัด
ค.
ม้ากำลังฝึกหัด ง.
ม้าที่ฝึกหัดดีแล้ว
๘.
“สุปฏิปนฺโน
ภควโต
สาวกสงฺโฆ”
กล่าวเพื่อระลึกถึงใคร
?
ก.
พระพุทธเจ้า ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์ ง.
บิดามารดา
๙.
ข้อใด
ไม่ใช่ความหมายของพระสังฆรัตนะ
?
ก.
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ข.
ช่วยกำจัดภัยให้สัตว์
ค.
เป็นนาบุญของโลก ง.
รักษาเผยแผ่คำสอน
๑๐. การขาดสรณคมน์ข้อใด
จัดว่าไม่มีโทษ
?
ก.
การตาย ข.
การเข้ารีต
ค.
การทำร้ายพระศาสดา ง.
ถูกทุกข้อ
๑๑.
การขาดสรณคมน์
เกิดขึ้นได้แก่บุคคลใด
?
ก.
ปุถุชนทั่วไป ข.
พระโสดาบัน
ค.
พระสกทาคามี ง.
พระอนาคามี
๑๒.
ใครกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติอุโบสถ
?
ก.
พระเจ้าสุทโธทนะ ข.
พระเจ้าพิมพิสาร
ค.
พระเจ้าอชาตศัตรู ง.
มหาอุบาสิกาวิสาขา
๑๓.
การสมาทานรักษาอุโบสถ
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นไว้
เพื่อประโยชน์อะไร
?
ก.
เพื่อขัดเกลากิเลส ข.
เพื่อได้ฌานสมาบัติ
ค.
เพื่อเห็นแจ้งมรรค ง.
เพื่อบรรลุพระอรหัต
๑๔.
การสมาทานรักษาอุโบสถ
จัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุข้อใด
?
ก.
ทานมัย ข.
ศีลมัย
ค.
ภาวนามัย ง.
อปจายนมัย
๑๕.
การสมาทานรักษาอุโบสถ
ข้อใดกล่าวถูกต้อง
?
ก.
เกิดก่อนพุทธกาล ข.
พระภิกษุถือปฏิบัติ
ค.
สำหรับบุคคลชั้นสูง ง.
ไม่มีในศาสนาอื่นๆ
๑๖.
วิธีสมาทานอุโบสถก่อนพุทธกาล
ท่านกำหนดไว้อย่างไร
?
ก.
ต้องเปล่งวาจา ข.
อธิษฐานเอง
ค.
รับสรณคมน์ ง.
นุ่งขาวห่มขาว
๑๗.
การถืออุโบสถก่อนพุทธกาลกับสมัยพุทธกาล
ตรงกันในข้อใด
?
ก.
ถือศีล
๘ ข.
อดอาหาร
ค.
สรณคมน์ ง.
พระรัตนตรัย
๑๘.
อุโบสถใด
ไม่นับเนื่องเข้าในคำสอนของพระพุทธเจ้า
?
ก.
ปกติอุโบสถ ข.
ปฏิชาครอุโบสถ
ค.
นิคคัณฐอุโบสถ ง.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
๑๙.
อุโบสถใด
กำหนดให้รักษาตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ ง.
ถูกทุกข้อ
๒๐.
อุโบสถที่บุคคลตั้งใจรักษาแล้วได้รับอานิสงส์มาก
ตรงกับข้อใด
?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ ง.
อริยอุโบสถ
๒๑.
อุโบสถที่ผู้รักษามักไม่ค่อยสำรวมระวังในข้องดเว้น
จึงทำให้ได้รับอานิสงส์น้อย
ตรงกับข้อใด
?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ ง.
ปกติอุโบสถ
๒๒.
อุโบสถใด
กำหนดให้สมาทานรักษาได้เฉพาะในฤดูฝน
?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ ง.
ถูกทุกข้อ
๒๓.
อุโบสถที่ท่านกำหนดให้สมาทานรักษาคราวละ
๓
วัน
คือ
วันรับ
วันรักษาและวันส่ง
ตรงกับข้อใด
?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
ผู้ต้องการจะรักษาอุโบสถ
ควรเตรียมความพร้อมเรื่องใด
?
ก.
อาหาร ข.
เสื้อผ้า
ค.
ค่ารถ ง.
จิตใจ
๒๕.
ขั้นตอนใด
กำหนดให้ทำก่อนสมาทานศีล
?
ก.
บูชาพระรัตนตรัย ข.
อาราธนาศีล
ค.
ประกาศอุโบสถ ง.
รับสรณคมน์
๒๖.
การสมาทานอุโบสถนั้น
ใครเป็นผู้สมาทาน
?
ก.
ภิกษุ ข.
สามเณร
ค.
อุบาสก
อุบาสิกา ง.
ถูกทุกข้อ
๒๗.
การสมาทานอุโบสถนั้น
กำหนดให้สมาทานที่ไหน
?
ก.
พระวิหาร ข.
พระอุโบสถ
ค.
ศาลาการเปรียญ ง.
ที่ไหนก็ได้
๒๘.
พระให้ศีล
๘
แต่ผู้สมาทานรับเพียง
๕
ข้อ
จะวินิจฉัยอย่างไร
?
ก.
รับศีล
๕ ข.
รับศีล
๘
ค.
ถือเป็นโมฆะ ง.
ไม่ถือโมฆะ
๒๙.
พระสรุปอานิสงส์ศีลว่า
“สีเลน
โภคสมฺปทา”
หมายถึงข้อใด
?
ก.
ศีลส่งทำให้สูง ข.
ศีลปรุงทำให้สวย
ค.
ศีลนำทำให้รวย ง.
ศีลช่วยทำให้รอด
๓๐.
บุญกุศลแห่งการรักษาอุโบสถ
เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างไร
?
ก.
การงดเว้น ข.
การได้พักผ่อน
ค.
การพูดคุย ง.
การกินมังสวิรัติ
๓๑.
การรักษาอุโบสถของบุคคล
จะไม่บกพร่องด้วยอาการอย่างไร
?
ก.
หมั่นสำรวมระวัง ข.
หมั่นชำระบาป
ค.
หมั่นอาบน้ำมนต์ ง.
หมั่นบวงสรวง
๓๒.
ขณะรักษาอุโบสถอยู่นั้น
ควรใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อย่างไร
?
ก.
ฟังธรรม ข.
สนทนาธรรม
ค.
เจริญภาวนา ง.
ถูกทุกข้อ
๓๓.
เรื่องใด
ไม่ควรนำมาพูดในขณะรักษาอุโบสถ
?
ก.
เรื่องศีล ข.
เรื่องสมาธิ
ค.
เรื่องดวง ง.
เรื่องชาดก
๓๔.
อาหารที่ห้ามรับประทานในศีลข้อวิกาลโภชนา
ได้แก่อะไร
?
ก.
นม ข.
ขนม
ค.
กาแฟ ง.
โกโก้
๓๕.
ข้อใด
คนทั่วไปและคนถืออุโบสถต้องงดเว้นเหมือนกัน
?
ก.
อพรหมจรรย์ ข.
การพูดเท็จ
ค.
การฟ้อนรำ ง.
การขับร้อง
๓๖.
ข้อใด
กำหนดให้ถือปฏิบัติต่างจากศีล
๕
ของคนทั่วไป
?
ก.
การฆ่าสัตว์ ข.
การลักทรัพย์
ค.
อพรหมจรรย์ ง.
การดื่มน้ำเมา
๓๗.
คำว่า
“เวลาวิกาล”
หมายเอาเวลาไหน
?
ก.
เวลาพระฉันเช้า ข.
เวลาพระฉันเพล
ค.
เวลาเที่ยงตรง ง.
เวลาเที่ยงวันแล้ว
๓๘.
อุโบสถศีลข้อที่
๗
ผู้สมาทานรักษาต้องงดเว้นการกระทำใด
?
ก.
ดูการเล่น ข.
ออกกำลังกาย
ค.
ทานเนื้อสัตว์ ง.
ห้ามพูดคุยกัน
๓๙.
คำว่า
“ข้าศึกต่อกุศล”
ในอุโบสถศีลข้อที่
๗
หมายถึงอะไร
?
ก.
ฟ้อนรำ ข.
ขับร้อง
ค.
ดีดสีตีเป่า ง.
ถูกทุกข้อ
๔๐.
เครื่องลูบไล้ชนิดใด
ผู้รักษาอุโบสถศีลสามารถใช้ทาตัวได้
?
ก.
แป้ง ข.
น้ำหอม
ค.
ยาหม่อง ง.
ลิปสติก
๔๑.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถ
พึงหลีกเว้นที่นอนประเภทใด
?
ก.
ที่นอนสูงใหญ่ ข.
ที่นอนยัดนุ่น
ค.
ที่นอนยัดสำลี ง.
ถูกทุกข้อ
๔๒.
เครื่องปูลาดชนิดใด
ห้ามผู้สมาทานรักษาอุโบสถนั่งหรือนอน
?
ก.
เครื่องลาดอันสะอาด ข.
เครื่องลาดอันวิจิตร
ค.
เครื่องลาดหมองคล้ำ ง.
เครื่องลาดทรงกลม
๔๓.
ในปัญจอุโปสถชาดก
ใครมีความถือตัวว่าเด่นกว่าคนอื่น
จึงรักษาอุโบสถเพื่อข่มมานะของตน
?
ก.
ฤษี ข.
หมี
ค.
พระปัจเจกพุทธเจ้า ง.
โคอุสภะ
๔๔.
คำว่า
“วางศัสตรา”
ในอุโบสถสูตร
หมายความว่าอย่างไร
?
ก.
เว้นฆ่าสัตว์ ข.
เว้นลักทรัพย์
ค.
เว้นพูดเท็จ ง.
เว้นดื่มน้ำเมา
๔๕.
คำว่า
“ไม่ลวงโลก”
ในอุโบสถสูตร
หมายความว่าอย่างไร
?
ก.
เว้นฆ่าสัตว์ ข.
เว้นลักทรัพย์
ค.
เว้นพูดเท็จ ง.
เว้นดื่มน้ำเมา
๔๖.
“อุโบสถกึ่งเดียว”
หมายถึงอะไร
?
ก.
รักษาศีลครึ่งวัน ข.
รักษาศีลวันกับคืนหนึ่ง
ค.
รักษาศีล
๓
วัน ง.
รักษาศีลครบ
๔
เดือน
๔๗.
รักษาอุโบสถเหมือนกัน
แต่ได้บุญกุศลไม่เท่ากัน
เพราะเหตุใด
?
ก.
ไม่มีเวลา ข.
ไม่มีพวกคุย
ค.
ไม่ตั้งใจ ง.
ไม่มีกำลังใจ
๔๘.
การรักษาอุโบสถศีล
จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
?
ก.
ตอนพระบิณฑบาต ข.
หลังเที่ยงวันแล้ว
ค.
ก่อนพระอาทิตย์ตก ง.
ครบกำหนดเวลา
๔๙.
ศีลสร้างความเสมอภาคแก่มนุษย์
หมายความว่าอย่างไร
?
ก.
ทุกคนรักษาได้ ข.
ทุกวัยรักษาได้
ค.
ได้บุญทุกคน ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
อะไรเป็นเป้าหมายสูงสุดในการถืออุโบสถศีล
?
ก.
มนุษยสมบัติ ข.
จักรพรรดิสมบัติ
ค.
สวรรคสมบัติ ง.
นิพพานสมบัติ
***
*** ***
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen