Freitag, 19. Juni 2020

๒๒. มองให้ซึ้ง-ให้ถึงธรรม


๒๒. มองให้ซึ้ง-ให้ถึงธรรม

มาตริว ปรทาเรสุ, ปรทพฺเพสุ เลทฺทุํว;
อตฺตนีว สพฺพภูเตสุ, โย ปสฺสติ โส ปณฺฑิโต

ผู้ใดเห็นภริยาผู้อื่นดุจมารดาตน,
เห็นทรัทย์ผู้อื่นดุจก้อนดินก้อนหิน;
เห็นสุขทุกข์ในสัตว์ทั้งปวงดุจมีในตน,
ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นบัณฑิตมีปัญญาที่แท้จริง.“

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, ๒๒, จาณักยนีติ )

..


ศัพท์น่ารู้ :

มาตริว ตัดบทเป็น มาตริ+อิว (เพียงดังในมารดา) 
มาตริ (ในมารดา, ในแม่) มาตุ+สฺมึ แปลงสระที่สุดของ มาตุ ศัพท์เป็น อาร ด้วยสูตรว่า อญฺเญสฺวารตฺตํ. (รู ๑๕๙) = มาตฺ+อาร+สฺมึ, หลัง อาร แปลง สฺมึ เป็น อิ ด้วยสูตรว่า ตโต สฺมิมิ. (รู ๑๖๕) = มาตฺ+อาร+อิ, ในเพราะ อิ ให้รัสสะ อาร เป็น อร ด้วยสูตรว่า อาโร รสฺสมิกาเร. (รู ๑๖๖) = มาตฺ+อร+อิ, แยก ลบ รวมสำเร็จเป็น มาตริ.
อิว (เพียงดัง, เป็นดุจ, เป็นเหมือน) เป็นนิบาตบอกอุปมา
ปรทาเรสุ (ในภริยาของผู้อื่น .) ปร+ทาร > ปรทาร+สุ ในเพรา สุ วิภัตติให้แปลง เป็น เอ ด้วยสูตรว่า สุหิสฺวกาโร เอ. (๘๐)

ปรทพฺเพสุ (ในทัพพะของผู้อื่น) ปร+ทพฺพ > ปรทพฺพ+สุ, ทพฺพ หมายถึง ทรัพย์, สมบัติ, สิ่งของมีค่า, ปร (ผู้อื่น) วิ. ปรสฺส ทพฺพํ = ปรทพฺพํ (ทรัพย์ของคนอื่น ชื่อว่า ปรทพฺพ)
เลทฺทุํว ตัดบทเป็น เลทฺทุํ+อิว (ดุจก้อนดิน) เลทฺทุ+อํ, ศัพท์นี้ส่วนมากมักเขียนเป็น เลฑฺฑุ มากกว่า ส่วนในจาณักยนีติ เป็น เลฏฏุ.
อตฺตนีว ตัดบทเป็น อตฺตนิ+อิว (เพียงดังในตน)
อตฺตนิ (ในตน) อตฺต+สฺมึ, หลัง อตฺต ศัพท์ แปลง สฺมึ เป็น นิ ด้วยสูตรว่า ตโต สฺมึ นิ. (รู ๑๒๙)
สพฺพภูเตสุ (ในภูตทั้งปวง ., ในสัตว์ทั้งปวง .) สพฺพ+ภูต > สพฺพภูต+สุ
โย (ใด, คนใด) +สิ สัพพนาม
ปสฺสติ (เห็น, มอง) ทิส++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทิสสฺส ปสฺสทิสฺสทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)
โส (นั้น, คนนั้น,​ เขา) +สิ สัพพนาม. แปลง เป็น ในเพราะ สิ วิภัตติ ด้วยสูตรว่า เอต-เตสํ โต. (รู ๒๑๑)
ปณฺฑิโต (คนมีปัญญา, บัณฑิต, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ

..

Keine Kommentare: