๑๓๑. รักใดเล่าจะเท่ารักตน
นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ, นตฺถิ ธญฺญสมํ ธนํ;
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา, วุฏฺฐิ เว ปรมา สราฯ
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
“ความรักเสมอด้วยความรักตน ไม่มี,
ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือก ย่อมไม่มี;
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ย่อมไม่มี,
ฝนต่างหากเป็นสระที่ยอดเยี่ยม.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๑, นรทักขปนี ๗๗, สํ. ส. ๑๕/๒๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นตฺถิ (ไม่มี, มีหามิได้) น+อตฺถิ, น เป็นนิบาตใช้ในอรรถปฏิเสธ, ส่วน อตฺถิ เป็นกิริยาอาขยาตก็ได้ เป็นนิบาตก็ได้, ถ้าเป็นกิริยาอาขยาต มาจาก อส+อ+ติ ภูวาทิ. (หูวาทินัย) กัตตุ. แปลง ติ เป็น ตฺถิ และลบที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า ติสฺส ตฺถิตฺตํ. (รู ๔๙๕).
อตฺตสมํ (ที่เสมอด้วยตน) อตฺต+สม > อตฺตสม+สิ, วิ. อตฺตนา สมํ อตฺตสมํ, เปมํ. (ความรักที่เสมอดัวยตน ชื่อว่า อตฺตสมํ) ตติยาตัปปุริสสมาส
เปมํ (ความรัก) เปม+สิ แปลง สิ เป็น อํ แน่นอน ด้วยสูตรว่า สึ. (รู ๑๙๕)
ธญฺญสมํ (ที่เสมอดัวยข้าวเปลือก) ธญฺญ+สม > ธญฺญสม+สิ, วิ. ธญฺเญน สมํ ธญฺญสมํ, ธนํ. (ทรัพย์ที่เสมอด้วยข้าวเปลือก ชื่อว่า ธญฺญสมํ) ตติยาตัปปุริสสมาส
ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ
ปญฺญาสมา (ที่เสมอด้วยปัญญา) ปญฺญา+สม > ปญฺญาสม+อา ปัจจัยอิตถีลิงค์ > ปญฺญาสมา+สิ, วิ. ปญฺญาย สมา ปญฺญาสมา, อาภา. (แสงสว่างที่เสมอด้วยปัญญา ชื่อว่า ปญฺญาสมา) ตติยาตัปปุริสสมาส
อาภา (แสงสว่าง) อาภา+สิ
วุฏฺฐิ (ฝน) วุฏฺฐิ+สิ
เว (แล, แท้, เท่านั้น) เป็นนิบาตบท
ปรมา (อย่างยิ่ง, ยอดเยี่ยม, บรม) ปรมา+สิ
สรา (สระ, สระน้ำ, ลูกศร, เสียง) สรา+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen