๑๒๓. ธรรมะย่อมชนะอธรรม
ธมฺโม ชเย โน อธมฺโม, สจฺจํ ชยติ นาสจฺจํ;
ขมา ชยติ โน โกโธ, เทโว ชยติ นาสูโรฯ
“ธรรมย่อมชนะ อธรรมย่อมพ่ายแพ้,
สัจจะย่อมชนะ อสัจจะย่อมพ่ายแพ้
ความอดทนย่อมชนะ ความโกธรย่อมพ่ายแพ้,
เทวดาย่อมชนะ อสูรย่อมพ่ายแพ้.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๒๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ธมฺโม (ธรรม, สภาพที่ทรงสัตว์ไว้ไม่ให้ตกไปสู่โลกที่ชั่ว) ธมฺม+สิ
ชเย (พึงชนะ) ชิ+อ+เอยฺย, ชิ ธาตุเป็นได้สองคณะ ถ้าเป็น ชินาติ (ย่อมชนะ) เป็นหมวดกีธาตุ คือ ชิ+นา+ติ ลง นา ปัจจัย ด้วยสูตรว่า กิยาทิโต นา. (รู ๕๑๓) ส่วน ชเย, ชยติ เป็นหมวดภูธาตุ ลง อ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า ภูวาทิโต อ. (รู ๕๓๓)
โน (ไม่, หาไมิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
อธมฺโม (อธรรม, สภาพที่มิใช่ธรรมะ) อธมฺม+สิ,
สจฺจํ (ความจริง, สัจจะ, สัจ, สัตย์) นป. สจฺจ+สิ,
ชยติ (ย่อมชนะ) ชิ+อ+ติ วุทธิ (พฤธิ์) อิ เป็น เอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔) = ชฺ เอ+อ+ติ, อาเทส (แปลง) เอ เป็น อย ด้วยสูตรว่า เอ อย. (รู ๔๙๑) = ชฺ อย+อ+ติ แยก ลบ รวม สำเร็จรูปเป็น ชยติ
นาสจฺจํ ตัดบทเป็น น+อสจฺจํ (หามิได้+ความไม่จริง, สิ่งไม่แท้) อสจฺจ+สิ
ขมา (ความอดทน, อดกลั้น, การข่ม) อิต. ขมา+สิ
โกโธ (ความโกรธ, ขัดเคือง) โกธ+สิ
เทโว (เทพ, เทวดา) เทว+สิ
นาสูโร ตัดบทว่า น+อสูโร (ไม่, หามิได้+อสูร, คนโง่เง่า, ขีขลาด, ขี้กลัว) อสูร+สิ
คาถานี้ แต่ละบาทคาถามี ๒ ประโยค รวมเป็น ๘ ประโยค ดังนี้ คือ
๑. ธมฺโม ชเย (ธรรม ย่อมชนะ)
๒. อธมฺโม โน ชเย (อธรรม ย่อมชนะ หามิได้)
๓. สจฺจํ ชยติ (สัจจะ ย่อมชนะ)
๔. อสจฺจํ น ชยติ (อสัจจะ ย่อมชนะ หามิได้)
๕. ขมา ชยติ (ความอดทน ย่อมชนะ)
๖. โกโธ โน ชยติ (ความขัดเคือง ย่อมชนะ หามิได้)
๗. เทโว ชยติ (เทวดา ย่อมชนะ)
๘. อสูโร น ชยติ (อสูร ย่อมชนะ หามิได้)
อนึ่ง คาถานี้ อาจแปลให้กระชับว่า
„ธรรมะย่อมชนะอธรรม,
สัจจะย่อมชนะความไม่จริง,
ความอดทนย่อมชนะความโกรธ,
พวกเทวดาย่อมเหล่าชนะอสูร."
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen