Dienstag, 2. Juni 2020

บัณฑิตคือคนดี


.  บัณฑิตคือคนดี

สุจินฺติตจินฺตี เจว, สุภาสิตภาสีปิ ;
สุกตกมฺมการี , ปณฺฑิโต สาธุมานุโสฯ

คนมีปกติคิดแต่เรื่องที่ดี
มีปกติพูดแต่คำที่ดี
มีปกติทำแต่กรรมที่ดี
ชื่อว่า เป็นบัณฑิตเป็นคนดี

(กวิทัปปณนีติ, หมวดบัณฑิต, )

..

ศัพท์น่ารู้ :

สุจินฺติตจินฺตี (ผู้ปกติคิดแต่เรื่องดี) สุจินฺติต+จินฺตี > สุจินฺติตจินฺตี+สิ
เจว (ด้วยนั้นเทียว) +เอว เมื่อมี หลายศัพท์ ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว, อนึ่ง การอ่านภาษาบาลีที่ถูกต้องนั้น ควรหยุดตามยติหลัง ศัพท์และ วาศัพท์ กล่าวคือ เมื่อมี ศัพท์ หรือ วา ศัพท์ อยู่ ให้อ่านควบกับศัพท์หน้า ตัวอย่างการใช้ ศัพท์ และ วา ศัพท์ เช่น ปุริโส เจว อิตฺถี (ทั้งชายและหญิง),มาตา วา ปิตา วา (มาดาหรือบิดา) เป็นต้น. 
สุภาสิตภาสีปิ ตัดบทเป็น สุภาสิตภาสี+อปิ, สุภาสิตภาสี (ผู้มีปกติกล่าวแต่คำที่ดี) สุภาสิต+ภาสี > สุภาสิตภาสี+สิ
สุกตกมฺมการี (ผู้มีปกติทำแต่กรรมที่ดี) สุกต+กมฺม > สุกตกมฺม+การี > สุกตกมฺมการี+สิ
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
สาธุมานุโส (คนดี, มนุษย์ที่ดี) 
ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงศัพท์ว่า มนุษย์ ศัพท์ คือ มนุสฺส, มานุส, มจฺจ, มานว, มนุช, นร
ดังคาถาที่ ๒๒๗ ว่า 
มนุสโส มานุโส มจโจ, มานโว มนุโช นโร;โปโส ปุมา ปุริโส, โปริโส ปฺยถ ปณฑิโต. 
(แปลว่า) มนุษย์ ศัพท์ คือ มนุสฺส, มานุส, มจฺจ, มานว, มนุช, นร;บุรุษ, ชาย ศัพท์ คือ โปส, ปุมา, ปุริส, โปริส;บัณฑิต, ผู้รู้, ผู้ฉลาด ๒๕ ศัพท์ คือ ปณฺฑิต..(ต่อคาถาที่ ๒๒๘, ๒๒๙)

..

Keine Kommentare: